ข้าพเจ้า นางสุนีย์ โรชัต ปฏิบัติงานในตำแหน่งประชาชน และได้เข้าร่วมโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณการ (มหาลัยสู่ตำบลสร้างรากแก้วให้ประเทศ) เริ่มประปฏิบัติงานในเดือน กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา โดยปฏิบัติงานในเขตตำบล โนนขวาง อำเภอบ้านด่าน จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งเป็นเขตดูแลของคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ โดยมีจำนวนหมู่บ้านทั้งหมด 9 หมู่บ้าน และมีหลังคาเรือนทั้งหมด 1,100 ครัวเรือน และมีการจัดเก็บข้อมูลได้ 239 ครัวเรือน
ข้าพเจ้าได้ลงพื้นที่สำรวจตามรายละเอียดแบบสอบถามตั้งแต่ 01แบบสอบถามข้อมูลระดับบุคคล ครัวเรือน ชุมชน 02 แบบสอบถามผลกระทบจากโรคโควิท19 03 – 04 แบบประเมินภาพรวมตำบล ตามแบบฟอร์มที่ทาง กระทรวงอุดมศึกษา (อว.) ได้ให้มา โดยได้ลงสำรวจที่ตำบลโนนขวาง ทั้ง 9 หมู่บ้าน เพื่อรวบรวมข้อมูลต่างๆ เพื่อจะได้นำมาใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจสังคม และสิ่งแวดล้อมของชุมชน จึงได้สอบถามข้อมูลจากผู้นำชุมชน และคนในชุมชนเพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นจริง เพื่อใช้ให้เป็นประโยชน์ในการนำมาสังเคราะห์ข้อมูลและให้ได้ข้อมูลที่จำเป็นต่อการนำไปพัฒนาทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองอย่างแท้จริง
สิ่งที่ข้าพเจ้าได้เห็น ก็คือ การปลูกพืชเศรษฐกิจที่สามารถทำรายได้ให้กับครอบครัวได้เป็นอย่างดี นั่นคือ การปลูกอ้อย ปลูกมันสำปะหลัง และปลูกยางพารา สิ่งที่ประทับใจของข้าพเจ้าก็คือการปลูกอ้อย เพราะชาวไร่อ้อย เวลาปลูกอ้อยเสร็จ ก็จะมีเวลาพัก เมื่ออ้อยโต ก็จะลงขันกันเพื่อที่จะตัดอ้อย แต่มีเกษตรกรบางรายก็ใช้วิธีจ้างเหมารถเพื่อให้มาตัดอ้อย อย่างไรก็ดี การตัดอ้อยในขณะที่โตแล้ว ชาวบ้านก็จะมีรายได้ทันที เพราะสามารถที่จะนำอ้อยเหล่านี้ไปจำหน่ายให้กับโรงงานน้ำตาลซึ่งตั้งอยู่ในสถานที่ใกล้ๆ โรงงานน้ำตาลที่อำเภอคูเมือง หรือ เกษตรกรบางราย ก็ให้โรงงานมารับซื้อที่ไร่ของตนเองได้เลย ซึ่งเมื่อข้าพเจ้าได้พบเห็นและได้สัมภาษณ์แล้ว ก็รู้สึกว่า ชีวิตของคนที่ปลูกอ้อยจะมีรายได้มาเลี้ยงครอบครัวได้เป็นอย่างดี แต่มีเกษตรกรไม่กี่รายที่มีการปลูกอ้อยเสร็จแล้วกลับมาที่บ้าน ก็ยังมาปลูกพืชสวนครัวภายในบ้านมารับประทานอีก สิ่งนี้จึงคิดว่า ชีวิตและการเป็นอยู่ในลักษณะนี้ถือว่า เป็นการใช้ชีวิตที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของ การประยุกต์ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงอย่างแท้จริง การดำเนินชีวิตดังกล่าว เป็นสิ่งที่น่ายกย่องเป็นอย่างยิ่ง แต่เท่าที่ข้าพเจ้าได้สัมภาษณ์และพูดคุยกับพบว่า เกษตรกรที่มีวิถีชีวิตคือ ปลูกอ้อย และปลูกพืชผักสวนครัวที่บ้าน มีจำนวนไม่มากนัก ซึ่งหากมีการประชาสัมพันธ์ หรือ มีการจัดประชุมเพื่อให้แต่ละคนมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิถีชีวิตซึ่งกันและกัน ข้าพเจ้าคิดว่า น่าจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับการดำเนินชีวิตของชุมชน และหากชุมชนได้ทราบถึงวิถีชีวิตดังกล่าว ก็สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในครอบครัวของตนเองได้