1. หน้าแรก
  2. ไม่มีหมวดหมู่
  3. การลงพื้นที่สำรวจข้อมูลครัวเรือนและผลกระทบที่ได้รับจากโควิด-19ตำบลสวายจีก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

การลงพื้นที่สำรวจข้อมูลครัวเรือนและผลกระทบที่ได้รับจากโควิด-19ตำบลสวายจีก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

สวัสดีค่ะ ดิฉันนางสาวภัทราวดี เตียนไธสง ประเภทนักศึกษา ตำบลสวายจีก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งมีทั้งหมด 19 หมู่บ้าน โดยมีอาจารย์รับผิดชอบหลักสูตรด้วยกัน 3 ท่านคือ 1.อาจารย์สายใจ ทันใจ , 2.อาจารย์คฑาวุฒิ จันบัวลา และ3.อาจารย์วิทวัส สหวงษ์ พร้อมทั้งคณะผู้ปฏิบัติงานทั้งหมดจำนวน 18 คน ประกอบไปด้วย ประชาชน 5 คน บัณฑิตจบใหม่ 8 คน และนักศึกษา 5 คน

คณะอาจารย์ได้มีการนัดหมายทีมผู้ปฏิบัติงานประชุม ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ตึก 24 คณะวิทยาการจัดการ ในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 เพื่อชี้แจงแนวทางการดำเนินงานและวางแผนการดำเนินงานร่วมกันระหว่างคณะอาจารย์ประจำหลักสูตรและสมาชิกผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ตำบลสวายจีก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยมีการแบ่งกลุ่มการทำงานออกเป็น 5 กลุ่ม ในพื้นที่ที่รับผิดชอบของตำบลสวายจีก ซึ่งมีทั้งหมด 19 หมู่บ้าน โดยดิฉันและคณะรับผิดชอบด้วยกัน 5 หมู่บ้านประกอบด้วย หมู่ที่ 2 บ้านสวายจีก, หมู่ที่ 4 บ้านใหม่, หมู่ที่ 6 หนองพลวง, หมู่ที่ 7 บ้านหนองขามและหมู่ที่ 12 บ้านโคกฟาน ตำบลสวายจีก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งคณะทำงานของดิฉันมี 5 คนเป็นนักศึกษาทั้งหมด ประกอบด้วย

  1. นายเกรียงศักดิ์ ศรีคูณ
  2. นางสาวเจนจิรา กะสมรัมย์
  3. นางสาวนฤมล เกรัมย์
  4. นางสาวภัทราวดี เตียนไธสง
  5. นางสาวอภิญญา คลีกร

ดิฉันและคณะปฏิบัติงาน ได้ลงพื้นที่สำรวจตามพื้นที่ที่ได้รับหมอบหมาย ครั้งแรกเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2564 เริ่มจาก บ้านหนองพลวง หมู่ที่ 6 ตำบลสวายจีก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยได้สอบถามข้อมูลครัวเรือนและชุมชน ตามแบบฟอร์ม 01  และสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบจากโรคโควิด-19 ตามแบบฟอร์ม 02 เพื่อนำข้อมูลที่ได้จากการสำรวจมาใช้ในการวิเคราะห์ปัญหาภายในชุมชน เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมในชุมชนต่อไป จากการสำรวจ พบว่า ชาวบ้านในพื้นที่ส่วนใหญ่ประกอบ อาชีพทำนาเป็นอาชีพหลัก รองลงมาคือ อาชีพรับจ้างทั่วไป และมีการเลี้ยงวัว ควาย เป็นจำนวนมาก การทำนาจะทำนาปีละ 1 ครั้ง โดยจะการแบ่งผลผลิตที่ได้ไว้เพื่ออุปโภค บริโภคและขายเพื่อนำเงินมาชำระค่าใช้จ่ายที่ได้ลงทุนไป ได้แก่ ค่าปุ๋ย ค่าจ้างแรงงาน เป็นต้น   จากการสำรวจและสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบจากโรคโควิด 19 พบว่า ประชาชนในชุมชนส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุที่ค่อนข้างมีภูมิต้านทานต่ำ แต่ส่วนใหญ่ก็ทราบถึงสถานการณ์ อาการเบื้องต้นและทราบถึงสาเหตุปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรคโควิด-19 ประชาชนส่วนใหญ่ในชุมชนมีการสวมหน้ากากอนามัยและมีการล้างมือเป็นประจำในระหว่างวัน

อื่นๆ

เมนู