การละเล่นพื้นบ้านของไทย เดินกะลา

ข้าพเจ้า: นายพันธ์ณรงค์  รัถยาภิรักษ์ ประชาชนทั่วไป ตำบลบ้านด่าน อำเภอบ้านด่าน จังหวัดบุรีรัมย์

หลักสูตร:พยาบาลศาสตร์ NS01 มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

   ในปัจจุบันมีความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีและการเข้าถึงเทคโนโลยีได้ง่ายขึ้น ทำให้การละเล่นของวัยเด็กเปลี่ยนไป เช่น การเล่นเกมมือถือ การดูหนังฟังเพลงจากสื่อออนไลน์ ทำให้การละเล่นที่มีในอดีตหายไป ซึ่งการละเล่นในวัยเด็ก ได้แก่ การเล่นรีรีข้าวสาร ม้าก้านกล้วย การเดินกะลา เป็นต้น ในบทความนี้จะกล่าวถึงการเล่นเดินกะลา

 ACTIVE PLAY ::    ACTIVE PLAY ::

อุปกรณ์ในการทำการเล่นเดินกะลา สามารถหาได้ง่ายโดยจะนำเอากะลามะพร้าว 2 อัน และเชือกยาวประมาณ 1 เมตร หลังจากได้อุปกรณ์มาครบแล้วนำกะลาที่ล้างสะอาดเจาะรูตรงกลางสำหรับร้อยเชือกแล้วผูกปมเชือกให้แน่นหนาเพื่อป้องกันเชือกหลุดเวลาเดิน กติกาการเล่นเดินกะลา คือ ผู้ที่เดินกะลาได้เร็วและไม่ล้มจะเป็นผู้ชนะ หากเป็นการเล่นคนเดียวเด็กจะใช้จินตนาการในการเล่นของตน เช่น สมมุติว่าเป็นการขี่ม้าหรือเดินรองเท้าส้นสูง เป็นต้น และสำหรับวิธีการเล่นเดินกะลาโดยจะมีการขีดเส้นชัยโดยห่างจากเส้นเริ่มต้น 3 เมตร หรือ 5 เมตร หรือตามแต่จะตกลงกัน ผู้เล่นจะต้องขึ้นไปยืนบนกะลาที่คว่ำลงทั้งสองซีกใช้นิ้วหัวแม่เท้ากับนิ้วชี้คีบหนีบเชือกไว้ มือจับเชือกดึงให้ถนัด เริ่มเล่นโดยการให้ทุกคนเดินจากเส้นเริ่มต้นแข่งขันกัน ใครที่ถึงเส้นชัยก่อนก็ชนะ หรือถ้าไม่เล่นแบบแข่งขันกัน ก็ใช้เล่นเดินในสวน หรือที่สนามใช้เป็นวิธีออกกำลังกายได้อีกด้วย

ประโยชน์ของการล่นเดินกะลานอกจากจะทำให้เด็กๆ ได้ฝึกการทรงตัวมีสมาธิจดจ่อกับสิ่งที่ทำทั้งยังเสริมสร้างความสามัคคีในหมู่คณะ หากเล่นกันเป็นทีม ช่วยพัฒนาความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ แขน ขา ส่งเสริมด้านสังคม และ อารมณ์ ในกรณีที่มีการแข่งขันจะทำให้มีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลรอบข้าง รู้รักสามัคคีมีน้ำใจนักกีฬา และสุดท้ายยังเป็นการรักษาประเพณีการละเล่นพื้นบ้านของไทยอีกด้วย

CDC News ส่งยิ้มทั่วไทยให้ครูเล่าเรื่อง

อื่นๆ

เมนู