1. หน้าแรก
  2. คณะเทคโนโลยีการเกษตร
  3. AG02(2) - ตำบลนาโพธิ์ อำเภอนาโพธิ์
  4. บทความรายงานการปฎิบัติงานประจำเดือนมีนาคม หลักสูตร: AG02-(01-03) โครงการพัฒนาศักยภาพเกษตรกร ยุค 4.0 และยกระดับมาตรฐานสินค้า OTOP โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ มหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

บทความรายงานการปฎิบัติงานประจำเดือนมีนาคม หลักสูตร: AG02-(01-03) โครงการพัฒนาศักยภาพเกษตรกร ยุค 4.0 และยกระดับมาตรฐานสินค้า OTOP โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ มหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

ข้าพเจ้านางสาวเมธาวี จิตไธสง ประเภทบัณฑิตจบใหม่ AG 02 (02) ต.นาโพธิ์ อ.นาโพธิ์

หลักสูตร: AG02-(01-03) โครงการพัฒนาศักยภาพเกษตรกร ยุค 4.0 และยกระดับมาตรฐานสินค้า OTOP โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ มหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

ได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงานกับทีมงานและอาจารย์ประจำหลักสูตร เมื่อวันที่ 11 เดือนกุมภาพันธ์ 2564 เวลา 09.00 น. ณ บ้านหนองต่อ หมู่ที่ 8

ข้าพเจ้าได้ลงพื้นที่ บ้านหนองต่อ หมู่ที่ 8 เพื่อลงเก็บภาพแหล่งน้ำของหมู่บ้าน และการประกอบอาชีพหลักของชุมชนตามงานที่ได้รับมอบหมาย ส่วนแบบสอบถาม 01 ที่ให้ดำเนินการลงเก็บเพิ่มนั้น ข้าพเจ้าได้ลงเก็บข้อมูลแบบสอบถามจนได้จำนวนตามเป้าหมายที่ข้าพเจ้าวางไว้แล้ว

 

โดยการลงพื้นที่นั้นคนในชุมชนได้ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีในการให้ข้อมูล ข้าพเจ้าได้เข้าไปเก็บแบบสอบถามตามหลังคาเรือนต่าง ๆ ซึ่งในการเก็บข้อมูลนั้นพบว่า คนในชุมชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทำนา ปลูกพืชสวน และเลี้ยงสัตว์ เช่น วัว ควาย ไก่ เป็นหลัก ส่วนอาชีพเสริมรองลงมาได้แก่ ทอผ้าไหม ตีเหล็ก(ตีมีด)

การตีเหล็กเป็นงานประณีตใช้ฝีมือเฉพาะตัว และใช้ความรู้ความสามารถสูง เริ่มตั้งแต่ต้องรู้จักธรรมชาติของเหล็กแต่ละชนิด ที่จะนำมาผลิตเป็นของใช้ได้อย่างดีมีคุณภาพเหมาะสม ต้องรู้จักวิธีเผาให้เหล็กอ่อนนิ่มพอที่จะเข่นตัดแต่งขึ้นรูปได้ตามต้องการ ต้องรู้จักการตีเหล็ก ให้เป็นบ้องเป็นปลอกที่ได้ขนาดพอเหมาะ และการเชื่อมน้ำประสานทอง ต้องมีฝีมือในการตกแต่งเหล็กที่ขึ้นรูปมาแล้วได้อย่างดี ให้มีคุณลักษณะที่เหมาะสมและสวยงาม ขั้นตอนสุดท้ายซึ่งเป็นหัวใจของการตีเหล็ก และเป็นเทคนิคของช่างแต่ละคนคือการชุบเหล็กให้แกร่งและคมได้อย่างแท้จริง ซึ่งจำเป็นต้องเรียนรู้ สังเกตุ ทดลอง และฝึกหัดอย่างจริงจัง จึงจะสามารถทำได้

เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการตีเหล็ก  ได้แก่ เตาเผาเหล็ก ถ่าน ทั่งใหญ่ กลาง เล็ก คีมคีบเหล็กขนาดต่าง ๆ เหล็กห่อบอง ตะไบขนาดต่าง ๆ ปากกาจับเหล็ก เครื่องหินเจียระไน สูบลม อ่างน้ำ เลื่อยตัดเหล็ก เหล็กสะกัด เหล็กเจาะรู กบสำหรับขูดเหล็ก ลวดหรือชิ้นทองเหลือง ดินเหนียว แปรงทองเหลือง น้ำมันทากันสนิม ยาสำหรับชุบน้ำเพื่อจับเหล็ก

ขั้นตอนในการตีเหล็ก  มีอยู่สี่ขั้นตอนใหญ่ ๆ ด้วยกันคือ การคัดเลือกเหล็ก  โดยทั่วไปเหล็กที่นำมาใช้ในการผลิตเครื่องมือเครื่องใช้ ช่างเหล็กจะเลือกมาจากเหล็กที่มีใช้อยู่แล้วในท้องถิ่นเช่นเหล็กจอบ เหล็กก่อสร้าง เหล็กผานรถไถนา เหล็กแหนบรถยนต์และอื่น ๆ โดยมุ่งให้เหมาะสมกับเครื่องใช้ที่ต้องการจะผลิตขึ้นมา ส่วนมากจะใช้เหล็กแหนบรถยนต์ในการทำมีดหรือเครื่องใช้ที่มีคม

การขึ้นรูป เมื่อได้เหล็กที่ต้องการแล้ว จะนำไปเผาไฟในเผาเหล็ก โดยสูบเป่าลมเผาเหล็กจนร้อนแดง แล้วนำออกมาตัดด้วยเหล็กสะกัด ให้ได้ขนาดตามสิ่งของที่ต้องการจะผลิต เช่น ถ้าเป็นมีดขอ จะใช้เหล็กขนาดกว้าง ๒ นิ้ว ยาวประมาณ ๙ นิ้ว จากนั้นนำเหล็กที่ได้ขนาดพอดี แล้วเข้าเผาในเตาจนร้อนแดง แล้วใช้ค้อนทุบเหล็กชิ้นนั้นให้เป็นรูปตามที่กำหนดไว้ ถ้าเหล็กหนามากต้องเอาเข้าเตาเผาอีกแล้วนำออกมาใช้ค้อนทุบ แต่งขึ้นรูปหลายครั้ง บางทีต้องใช้ค้อนใหญ่ช่วยทุบ ในขณะที่เหล็กยังร้อนแดงอยู่ ดังนั้นช่างเหล็กจึงจำเป็นต้องมีผู้ช่วยสำหรับเข่นเหล็กด้วย

การเชื่อมประสานเหล็ก  เมื่อขึ้นรูปตามที่ต้องการแล้ว หากมีส่วนใดที่ต้องเชื่อมประสานให้เป็นบ้องหรือปลอก สำหรับใส่ด้ามก็จะเอาไปทะบ้อง โดยนำเหล็กที่ตีแผ่ดีแล้วไปเผาไฟ จากนั้นม้วนเข้าหากันตามรูปที่กำหนด จากนั้นในขณะที่เหล็กยังร้อนอยู่มาก ใช้น้ำประสานทองทาไปตามรอยที่จะเชื่อมจนตลอดแนว แล้วใช้แผ่นทองเหลืองหรือลวดทองเหลือง วางบนรอยน้ำประสานทอง นำเข้าเตาเผาจนเหล็กแดงอีกครั้ง ทองเหลืองจะละลายเชื่อมประสานอย่างทั่วถึง

การตกแต่ง  หลังจากได้รูปผลิตภัณฑ์ที่ต้องการแล้วก็นำไปตกแต่งด้วยเครื่องเจียระไน ไสด้วยกบ สำหรับขูดเหล็กและตะไบจนคม เรียบร้อยสวยงาม ได้รูปสมบูรณ์

การชุบ  เป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดและเป็นเทคนิคชั้นสูงที่เป็นฝีมมือของช่างแต่ละคนเช่น การชุบมีด ถ้าชุบแกร่งเกินไปคมมีดจะเปราะ บิ่นง่าย และลับให้คมยาก ถ้าชุบอ่อนเกินไปมีดจะคมไม่ทน คมมีดจะยู่และบิดเบี้ยวง่ายเมื่อลับหรือฟันของแข็ง ๆ

การชุบมีดให้คม คือการนำมีดไปเผาจนร้อนแดง จนสุกสม่ำเสมอ หรือใช้ดินเหนียวเปียก ๆ ลูบทาไปตามคมมีดทั้งสองด้าน แล้วเอาเข้าเตาเผาให้ร้อนแดงอีกครั้ง จากนั้นนำไปชุบน้ำในอ่างโดยนำด้านคมมีดลงชุบ และใช้คมมีดชุบช้อนขึ้นจนทั่ว ให้สังเกตุตั้งแต่ปลายคมมีดตลอดแนวจะเป็นสีขาว

การนำมีดที่เผาร้อนแดงเต็มที่ไปชุบน้ำในทันที คมมีดจะมีลักษณะเป็นสีขาวตลอดแนว ซึ่งจะมีความแกร่งมาก ทำให้คมมีดบิ่นได้ง่าย แต่ถ้าหลังจากเผามีดจนร้อนเต็มที่แล้ว เอาออกจากเตารอไว้สักครู่จนคมมีดมีสีเหลืองหรือสีเหลืองปนดำเล็กน้อย แล้วนำด้านคมลงชุบน้ำจนได้ที่แล้วจึงยกให้ด้านคมหงายขึ้น จะได้มีดที่มีความคม ใช้แล้วไม่บิ่น มีคุณภาพตามที่ต้องการ

ข้าพเจ้าได้ทำการกรอกข้อมูลจากเอกสารแบบสอบถามทั้งหมดลงในระบบเรียบร้อยแล้วทั้ง 01 02 และ 06 ทั้งนี้ข้าพเจ้าจะนำข้อมูลที่ได้มาจากการลงพื้นที่เก็บข้อมูลแบบสอบถามดังกล่าวไปทำการวิเคราะห์ข้อมูลในเชิงสถิติและเขียนเรียบเรียงในเชิงวิชาการต่อไป

อื่นๆ

เมนู