ข้าพเจ้า นางสาวจันทร์จิรา สัตยาคุณ ประเภท ประชาชน ตำบลปราสาท อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ หลักสูตร:ID08(1)โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบรูรณาการ มหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

โคโรนาไวรัส เป็นไวรัสชนิดหนึ่งในตระกูลโคโรนาที่พบมานานกว่า 50-60 ปีแล้ว มีลักษณะคล้ายมงกุฎ จึงตั้งชื่อว่า “โคโรนา” ที่แปลว่า มงกุฎ สามารถก่อให้เกิดโรคได้ทั้งในสัตว์และมนุษย์ ซึ่งในมนุษย์จะก่อให้เกิดโรคทางเดินหายใจอักเสบ

ทั้งนี้ ที่ผ่านมาพบเพียง 6 สายพันธุ์ย่อย ที่ทำให้เกิดการระบาดในมนุษย์ ในจำนวนนี้มีอยู่ 2 สายพันธุ์ที่เป็นการติดเชื้อจากสัตว์มาสู่คน ทำให้มีอาการรุนแรง นั่นคือ “โรคซาร์ส” (SARS : Severe Acute Respiratory Syndrome) หรือโรคระบบทางเดินหายใจเฉียบพลันร้ายแรง ที่ระบาดในฮ่องกง เมื่อปี 2002 และ “ไวรัสเมอร์ส” (MERS : Middle East respiratory syndrome) หรือโรคทางเดินหายใจอักเสบตะวันออกกลาง เมื่อปี 2012 ซึ่งคร่าชีวิตผู้คนจำนวนมากมาแล้ว ส่วนอีก 4 สายพันธุ์ แค่ทำให้เกิดโรคในระบบทางเดินหายใจทั่วไป เช่น ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ แต่ไม่ก่ออันตรายเท่าสายพันธุ์อื่น ๆ

แต่โคโรนาไวรัสที่เป็นต้นเหตุของโรคปอดบวมในเมืองอู่ฮั่นนั้น เป็นสายพันธุ์ย่อยที่ 7 ซึ่งยังไม่เคยพบการระบาดมาก่อน จึงเรียกชื่อว่า โคโรนาไวรัส สายพันธุ์ใหม่ (2019-nCoV) หรือ SARS-CoV-2 ก่อนที่ภายหลัง WHO จะประกาศชื่อของโรคนี้อย่างเป็นทางการว่า COVID-19 ซึ่งมีที่มาจาก CO : Corona, VI : Virus และ 19 คือปี 2019 ซึ่งเริ่มต้นระบาด 

1.สภาพปัญหา : ปัจจุบันประเทศไทยประสบปัญหาเกี่ยวกับโรคติดต่อโควิด-19 มาอย่างต่อเนื่องประมาณ 2-3 เดือนแล้วและทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ โรคโควิด-19 นับได้ว่าเป็นโรคติดต่อร้ายแรง ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัสโดยสามารถติดต่อระหว่างคนต่อคนอย่างรวดเร็ว เมื่อมีอาการแล้วจะทำให้ระบบหายใจ เช่น ปอดทำหน้าที่ผิดปกติอาจถึงแก่ความตายได้ อันเป็นปัญหาในด้านการสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยอยู่ในขณะนี้ ปัญหาต้นเหตุที่สำคัญของการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ก็คือ การติดต่อสื่อสารระหว่างคนต่อคนโดยการสัมผัสจากการเดินทางของคนที่มาจากประเทศจีน ซึ่งเป็นแหล่งที่เกิดโรคโควิด-19 และจากประเทศที่เป็นกลุ่มเสี่ยงเข้ามาในประเทศไทย เมื่อคนเหล่านี้เข้ามาอยู่ในประเทศไทยก็ทำให้ นำเชื้อไวรัสของโรคนี้มาแพร่ระบาดไปสู่บุคคลอื่น ๆ ต่อไป

2.สถานการณ์ของโรคโควิด-19 : ปัจจุบันโรคโควิด-19 กำลังแพร่ระบาดไปยังประเทศต่างๆ เกือบทั่วโลก สำหรับประเทศไทยนั้น พบว่ามีการระบาดอยู่ในระดับสอง และมีการเพิ่มจำนวน อยู่อย่างต่อเนื่อง โดยมีทั้งกลุ่มที่มีอาการแล้วและรอสังเกตอาการอยู่ในจำนวนหนึ่ง

3.ผลกระทบ : การเกิดโรคโควิด-19 ทำให้เกิดผลกระทบในหลายๆ ด้าน ได้แก่ ด้านสังคม ทำให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อน โดยไม่มีความปลอดภัยเกี่ยวกับสุขภาพร่างกาย ซึ่งอาจเกิดเจ็บป่วยถึงแก่ชีวิตได้ และยังทำให้ประชาชนเกิดความกลัว ตื่นตระหนกไม่กล้าที่จะออกมาใช้ชีวิตในสังคมตามปกติ สำหรับในด้านเศรษฐกิจ นั้น ย่อมส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการในอาชีพต่างๆ เช่น ต้องมีการปิดโรงงาน หรือการท่องเที่ยวไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ เป็นต้น

ส่วนผลกระทบในด้านการเมือง นั้น ทำให้รัฐบาลต้องมีภารกิจในการปราบปรามโรคโควิด-19 เพิ่มขึ้น ซึ่งอาจกระทบต่อการบริหารราชการแผ่นดินเกี่ยวกับความมั่นคง หรือทำให้งบประมาณที่มีอยู่ไม่เพียงพอต่อการนำมาใช้ป้องกัน โรคโควิด-19 ได้

4.มาตรการในการป้องกันและควบคุมโรคโควิด-19 มาตรการสำคัญในการป้องกันและควบคุมโรคโควิด-19 ได้แก่ มาตรการทางด้านสาธารณสุขและมาตรการทางด้านกฎหมาย กล่าวคือ

4.1 มาตรการในทางสาธารณสุข ได้แก่ การใช้วิชาการในด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ มาป้องกันและควบคุมโรคนี้ เช่น การนำหลักการป้องกันและควบคุมโรคทั่วไป การตรวจ การรักษา หรือการใช้วัคซีนป้องกันมาใช้ เป็นต้น

4.1.1 สำหรับหลักการป้องกันโรคทั่วไปที่สำคัญนั้น มี 2 ประการ คือ

(1) การป้องกันในระยะก่อนเกิดโรค ได้แก่ การส่งเสริมสุขภาพของร่างกายและจิตใจให้แข็งแรงสมบูรณ์มีความต้านทานต่อเชื้อโรคได้ การให้ความรู้ในการป้องกันโรค เช่น การใช้หน้ากากอนามัยเป็นเครื่องมือในการป้องกันโรค เป็นต้น

(2) การป้องกันในระยะเกิดโรค ได้แก่ การตรวจ วินิจฉัยโรค และให้การรักษาทันที เพื่อรักษาและระงับการแพร่ระบาดไปยังผู้อื่น

4.1.2 ส่วนหลักการควบคุมโรค โดยทั่วไปมีวิธีการควบคุมโรคอยู่หลายวิธีด้วยกัน ได้แก่

4.1.2.1 การป้องกันการแพร่เชื้อโรคมิให้กระจายไปยังผู้อื่น โดยทำได้ดังนี้

(1) กำจัดแหล่งเกิดของโรค เช่น ให้การรักษาคนป่วยให้หายโดยเร็ว

(2) พยายามลดระยะการติดต่อของโรค โดยให้การรักษาอย่างเต็มที่

แม้จะไม่หายในทันทีทันใด แต่ก็อาจทำให้โรคมีระยะที่ติดต่อไปยังผู้อื่นสั้นเข้า หรือไม่อาจติดต่อไปยังผู้อื่นอีกได้

(3) การกักกันผู้เป็นบ่อเกิดของโรค หมายถึง การแยกคนที่มีเชื้อในร่างกายให้ห่างไปจากชุมชน ทั้งนี้ เพื่อมิให้เชื้อโรคที่ออกมานั้นไปติดต่อผู้อื่น ซึ่งอาจทำได้ 2 วิธี ได้แก่

1.การแยกกัก (Isolation) โดยแยกคนที่เป็นโรคไว้จนพ้นระยะอันตราย ที่จะแพร่เชื้อโรคไปยังผู้อื่น

 เราสามารถลดความเสี่ยงของการติดเชื้อได้เบื้องต้นเหมือนกับการป้องกันโรคติดต่อทางเดินหายใจทั่วไป เช่น

– สวมหน้ากากอนามัย เพราะสิ่งคัดหลั่งจากเสมหะ น้ำมูก น้ำลาย มีอนุภาคขนาดใหญ่กว่าตัวไวรัสหลายร้อยเท่า การใส่หน้ากากอนามัยธรรมดาจึงป้องกันได้
– ปิดปาก ปิดจมูก เวลาไอหรือจามด้วยกระดาษทิชชู หรือต้นแขนด้านใน
– หมั่นล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่นาน 20 วินาที หรือเจลล้างมือ
– ไม่ใช้มือสกปรกแคะจมูก หรือหยิบอาหารเข้าปาก
– อย่านำมือที่ยังไม่ล้างมาสัมผัสใบหน้า
– หลีกเลี่ยงการอยู่ในพื้นที่แออัด แหล่งชุมชน บริเวณที่มีคนอยู่เยอะ หรือสถานที่ที่มลภาวะเป็นพิษ
– หลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ที่มีอาการติดเชื้อทางระบบหายใจ หรืออาการคล้ายไข้หวัด
– รักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง เพื่อสร้างภูมิต้านทานโรค
– นอนหลับให้เพียงพอ
– ปรุงอาหารประเภทเนื้อสัตว์และไข่ให้สุก

โดยการสำรวจข้อมูลผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนเรื่องการเตรียมตัวก่อนเข้ารับวัคซีนคือ  จะต้องพักผผ่อนให้เพียงพองดเครื่องดื่มน้ำอัดลม งดออกกำลังกายและหลังจากการเข้ารับวัคซีนส่วนใหญ่ ไม่มีผลข้างเคียงมีแค่ปวดเมื่อยตามตัวง่วงนอนอ่อนเพลีย1-2วันหลังจากนั้นก็สามารถทำงานได้ปกติ
    
                                       
     

 

 

 

อื่นๆ

เมนู