1. หน้าแรก
  2. ไม่มีหมวดหมู่
  3. HS-08 พัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ข้าวหมากและข้าวแต๋น ต.ทะเมนชัย อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์

HS-08 พัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ข้าวหมากและข้าวแต๋น ต.ทะเมนชัย อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์

 

การเก็บข้อมูลการประเมินศักยภาพและผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม Social Return On Investment (SROI) เป็นกรอบแนวคิดในการประเมินผลลัพธ์และคุณค่าทางสังคม เพื่อประเมินมูลค่า ติดตามและปรับกลยุทธ์ มีเป้าหมายในการเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งหมดจำนวน 11 เป้าหมายได้แก่ ได้ดำเนินการเก็บข้อมูลในพื้นที่ตำบลทะเมนชัย โดยแบ่งการรับผิดชอบในเป้าหมายต่างๆ กับสมาชิกในทีม เป้าหมายที่ได้รับผิดชอบได้แก่

เป้าหมาย ครอบครัวลูกจ้างโครงการ ได้เก็บข้อมูลกับครวบครัว นายอนุชา ตาดวง

เป้าหมาย  ผู้แทนตำบล ได้เก็บข้อมูลกับ นายปัญญา มาจิตร

เป้าหมาย  หน่วยงาน อปท. ได้เก็บข้อมูลกับ นายกิตติพงษ์ ชะรางรัมย์ กำนันตำบลทะเมนชัย

การจัดทำรายงานผลการดำเนินงาน HS06 บทที่ 1 สภาพทั่วไปของพื้นที่พัฒนา

บ้านหนองม่วงใต้ หมู่ที่ 15 ตั้งอยู่ในตำบลทะเมนชัย อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยมากเป็นพื้นที่เพื่อการเกษตรทั้งหมด 1,200 ไร่มีลักษณะเป็นที่ราบลุ่ม มีข้อมูลสำคัญรายตำบล ได้แก่

  1. ปราชญ์ชาวบ้านและภูมิปัญญา มีจำนวน 3 คน ด้านการประกอบพิธีทางสงฆ์และผู้รอบรู้การประกอบพิธีประเพณีต่าง ๆ
  2. 2. เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนบ้านหนองม่วงใต้ หมู่ 15 มีเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนจำนวน 93 คน เป็นประเภทอาชีพ ทำนา และไร่อ้อย
  3. 3. ร้านค้าชุมชน มีจำนวน 3 ร้าน ขายสินค้าเบ็ดเตล็ด
  4. 4. วัด 1 แห่ง
  5. 5. โรงเรียน 1 แห่ง
  6. 6. แหล่งน้ำ 1 แหล่ง
  7. 7. ป่าชุมชน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมต่างๆ 1 ผืน
  8. 8. ประชาชนในหมู่บ้านมีอาชีพ 5 ประเภท
  9. 9. เส้นทางคมนาคมในหมู่บ้านแบ่งออกเป็น 6 ซอย

ข้อมูลสมาชิกที่เก็บข้อมูล ได้แก่

  1. 1. ผู้สูงอายุ มี 81 คน
  2. 2. ทารกแรกเกิด (อายุ 0-1ขวบ) มี 2 คน
  3. 3. เด็กและเยาวชน (อายุ 1-19 ปี) มี 58 คน
  4. 4. ผู้พิการ โดยแบ่งออก 5 ด้าน ได้แก่ ด้านการเคลื่อนไหว ด้านจิตและพฤติกรรม ด้านสายตา ด้านสติและปัญญา ด้านการได้ยิน มี 28 คน
  5. 5. สมาชิก อสม. มี 9 คน ประเพณีบ้านหนองม่วงใต้ที่ปฏิบัติและสืบทอดกันมา ได้แก่ ประเพณีลอยกระทง ประเพณีรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุในวันสงกรานต์   ประเพณีเลี้ยงศาลปู่ตา   ประเพณีแห่เทียนพรรษา  สมุนไพรในบ้านหนองม่วงใต้มีหลากหลายชนิด เช่น ขมิ้นชัน ว่านชักมดลูก ว่านริดสีดวง กระชายขาว ฟ้าทะลายโจร รางจืด ต้นชิงชัง ยี่หร่า ต้นแคนา เป็นต้น

กิจกรรมพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวแปรรูปประจำเดือนตุลาคม (ข้าวหมาก/ข้าวแต๋น)

กิจกรรมพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวแต๋น วันที่ 16-17 ตุลาคม 2564 ณ ศาลากลางหมู่บ้าน บ้านน้อยพัฒนา ตำบลทะเมนชัย อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นการพัฒนาสูตรการทำข้าวแต๋นรสชาเขียว มีผู้เข้ารับการอบรมทั้งหมด 54 คน โดยแบ่ง เป็น 5 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านน้อยพัฒนา บ้านใหม่อัมพวัน บ้านหนองน้ำขุ่น บ้านบุตตาริด บ้านหนองตาด และผู้ปฏิบัติงาน โดยมีสูตรและขั้นตอนวิธีการทำข้าวแต๋นดังนี้แล้ว

          1.) ข้าวแต๋นชาเขียว

                    ส่วนผสม

(1.)      ข้าวเหนียว                                      1/2 กก.

(2.)      เกลือป่น                                        1 ชช.

(3.)      น้ำชาเขียว(ชาตรามือ)                         1 ถ้วยตวง(สำหรับทำสีของข้าว)

(4.)      น้ำชาเขียว(ชาตรามือ)               3 ช้อนโต๊ะ(สำหรับเคี่ยวน้ำตาล)

(5.)      งาดำหรืองาขาว                               2 ช้อนโต้ะ

(6.)      น้ำตาลมะพร้าว/น้ำตาลอ้อย(มิตรผล)       500 กรัม

(7.)      น้ำตาลทรายแดง                              2-3 ช้อนโต๊ะ

(8.)      น้ำกะทิกล่อง                                   1 ช้อนโต้ะ

วิธีการทำ

  1. นำข้าวเหนียวล้างเอาสิ่งสกปรกหรือสิ่งแปลกปลอมออกให้หมด และแช่ข้าวเหนียวไว้ 1 คืน (หม่าข้าว)
  2. นึ่งข้าวเหนียวและพักไว้ให้คลายความร้อน (ถ้าข้าวแข็งๆนิดนึงจะดีมากเพราะจะทำให้ใส่พิมพ์และปั้นง่าย)
  3. เมื่อข้าวคลายร้อนแล้ว ให้ใส่น้ำชาเขียวที่ผ่านการกรองเหลือแต่น้ำแล้ว 1 ถ้วยตวงหรือให้เช็กดูว่าข้าวที่ใส่ชาเขียวแล้วเหนียวได้ที่กำลังดี
  4. ใส่เกลือป่นและงาดำหรืองาขาวก็ได้
  5. ใช้มือคลุกเคล้าส่วนผสมทุกอย่างให้เข้ากันเบาๆพยายามให้ข้าวกระจายเป็นเม็ดและให้สังเกตสีของข้าวว่ามีสีชาเขียวทั่วทุกเม็ด ห้ามบี้หรือบีบข้าวเพราะจะทำให้เกาะกันเป็นไตได้
  6. เสร็จแล้ว พักไว้ 5 นาที
  7. นำข้าวที่พักไว้แล้ว ปั้นใส่พิมพ์ พยายามอย่าให้ข้าวอัดกันแน่นเกินไปเพราะเวลานำมาทอดข้าวจะไม่ฟู
  8. นำไปตากแดดจัด 1 วัน (ครึ่งวันๆอย่าลืมพลิกกลับด้านข้าวด้วยนะ)

วิธีทอดข้าวแต๋น

-ตั้งไฟรอน้ำมันเดือดจัด แล้วนำข้าวที่ตากแล้ว ลงทอด ตอนทอดพยายามอย่าใช้ไฟแรงจนเกินไป และให้หมั่นพลิกกลับด้านข้าวบ่อยๆ จนเหลืองสวย แล้วนำพักบนตะแกรงให้สะเด็ดน้ำมัน

วิธีทำน้ำตาลราดข้าวแต๋น

-นำน้ำกะทิ+น้ำชาเขียว+น้ำตาลมะพร้าว/น้ำตาลอ้อย+น้ำตาลทรายแดง (น้ำตาลทรายแดงจะช่วยให้น้ำตาลตกทรายง่ายขึ้นสามารถเช็กความหนึดของน้ำตาลเวลาเคี่ยวแล้วเพิ่มปริมาณได้) และเกลือ 1 หยิบมือ ใส่ลงไป แล้วเปิดไฟ ใช้ไฟอ่อนอย่าใช้ไฟแรง เคี่ยวส่วนผสมทุกอย่างให้เข้ากัน เคี่ยวจนน้ำตาลเริ่มตกทรายเกาะขอบหม้อ แล้วให้ปิดไฟ และเคี่ยวต่อแบบไม่มีไฟ

-พักน้ำตาลให้คลายร้อนซักพัก แล้วค่อยนำมาราดบนหน้าข้าวแต๋น

          2.)  ข้าวแต๋นมันม่วง

-มีส่วนผสมและขั้นตอนวิธีการทำคล้ายกันกับชาเขียว โดยมีปริมาณในการใช้ส่วนผสมเหมือนกัน แต่ให้เปลี่ยนจากชาเขียวเป็นมันม่วง ซึ่งน้ำสีของมันม่วงได้จากการเอามันม่วงมาปั้นกรองเอาแต่น้ำ

เคล็ดลับ : เวลาเคี่ยวน้ำตาลชาเขียว/มันม่วงให้สังเกตกลิ่นและสีของน้ำราด ถ้ายังหอมออกกลิ่นของชาเขียวไม่พอสามารถเติมน้ำชาเขียวเพิ่มได้..แต่ห้ามเติมตอนเคี่ยวร้อนๆเด็ดขาด ให้เติมตอนที่น้ำตาลคลายร้อนแล้วเท่านั้น เพราะถ้าเติมตอนร้อนๆน้ำตาลจะไหม้ได้

ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการทดลองทำข้าวแต๋น 

  1. การตากข้าวแต๋นไม่แห้ง เนื่องจากช่วงนี้อยู่ในฤดูฝนทำให้การตากข้าวแต๋นไม่แห้ง และไม่มีเครื่องอบ
  2. 2. ข้าวแต๋นไม่กรอบเก็บไว้ได้ไม่นาน ซึ่งบรรจุภัณฑ์ของข้าวแต๋นต้องเป็นบรรจุภัณฑ์ที่ปิดสนิทไม่มีอาการเข้า

          กิจกรรมพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวหมาก ซึ่งจะจัดขึ้นวันที่ 19-20 ตุลาคม 2564 ณ ศูนย์ข้าวชุมชน บ้านบุลิ้นฟ้า ตำบลทะเมนชัย อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์

ส่วนประกอบและอัตราส่วน   : ข้าวเหนียวหอมมะลิ  1 กก.   แป้งข้าวหมาก 2-3  ลูก

วิธีทำ : 1. นำข้าวเหนียวที่นึ่งสุกแล้วมาล้างน้ำฝน ประมาณ 3 ครั้ง ใช้มือถูเบาๆ จนข้าวหมดเมือกหรือให้น้ำใส แล้วใส่ตะแกรงผึ่งให้สะเด็ดน้ำ

  1. นำลูกแป้งข้าวหมากมาบดให้ละเอียด โรยแป้งข้าวหมากบนข้าวเหนียว ใช้ไม้พายคลุกเคล้าข้าวเหนียวให้ทั่ว
  2. บรรจุข้าวเหนียวที่ได้ใส่ภาชนะ ปิดฝาให้สนิทเก็บไว้ 2-3 วัน ก็จะสามารถรับประทานได้

เคล็ดลับวิธีทำ ข้าวหมากหวาน

-ข้าวเหนียวใหม่ คือข้าวเหนียวซึ่งเพิ่งเก็บเกี่ยวในหนึ่งปี เมื่อนำไปนึ่งข้าวจะนิ่มแฉะกว่าข้าวเหนียวเก่า

-การเตรียมนึ่งข้าว ต้องให้น้ำไหลออกจากหวดจนสะเด็ดน้ำ ก่อนที่จะนำไปนึ่ง

-ห้ามล้างข้าวขณะที่ข้าวยังร้อนอยู่ ทำให้ข้าวเหนียวแฉะ ควรรอให้ข้าวคลายความร้อนก่อนล้าง หากล้างข้าวเหนียวเละ และแฉะ จะมีน้ำอยู่ในข้าวมาก ทำให้ข้าวหมากที่มีรสเปรี้ยวได้

-น้ำต้อยข้าวหมากออกมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับเมล็ดข้าวที่คลุกเคล้า เมล็ดข้าวที่คลุกเคล้าลูกแป้งข้าวหมากแล้ว ค่อนข้างมีเมล็ดติดกัน น้ำต้อยจะออกมามาก แต่ถ้าเมล็ดข้าวที่คลุกเคล้าลูกแป้งข้าวหมากค่อนข้างแห้งเมล็ดไม่ติดกันน้ำต้อยจะออกมาพอดี

– ลูกแป้งข้าวหมากต้องไม่เก่าเกินไป เพราะเชื้อจุลินทรีย์ที่อยู่ในลูกแป้งอาจตายหรือมีน้อยเกินไป ทำให้ข้าวหมากไม่หวาน

– เก็บข้าวหมากที่อยู่ระหว่างการหมักไว้ในพื้นที่ที่สะอาด

ติดต่อประสานงานในการเข้าอบรมกิจกรรมต่างๆ ที่จัดขึ้นเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวหมาก ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมทดลองทำข้าวหมาก การพัฒนาสีข้าวหมาก เป็นต้น และให้คำเเนะนำเรื่องการพัฒนารสชาติ บรรจุภัณฑ์ที่ใส่ข้าวหมากกับสมาชิกเป้าหมายหมู่บ้านหนองม่วงใต้ หมู่ 15 จำนวน 5 คน ดังนี้

  1. นางดาวเรืองเดือนแจ้ง
  2. นายกิตติภูมิ เพียรไลย์
  3. นายอภิวัฒน์ โยเหลา
  4. นายประสาน แอบไธสง
  5. นางบุญมี เหมาะทอง

เพื่อเป็นต้นแบบการพัฒนาแปรรูปผลิตภัณฑ์ข้าวหมาก

ติดตามและให้คำแนะนำการแปรรูปและพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ข้าวหมากของบ้านหนองม่วงใต้ ที่ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบ โดยมีระดับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวหมากอยู่ในระดับยังไม่มีการพัฒนา คือ ยังอยู่ในช่วงของการทดลองรสชาติผลิตภัณฑ์ให้มีความหวานที่คงตัว และการพัฒนาสีใหม่ๆ  ได้แก่ สีเขียว สีฟ้า และสีแดง  เนื่องจากตอนนี้อยู่ในสถานการณ์การเฝ้าระวังโรคระบาดโควิด 19 จึงยังไม่มีการรวมตัวพัฒนาผลิตภัณฑ์ของบ้านหนองม่วงใต้

          การปฏิบัติการทำงานในตลอดเดือนกันยายนที่ผ่านมาทำให้ทราบถึงการสร้างรายได้จากชุมชนสู่ชุมชน โดยถ่ายทอดจากชาวบ้านที่มีความสามารถในการทำผลิตภัณฑ์ข้าวแต๋นและข้าวหมาก การกระจายรายได้ลงสู่ชุมชนเป็นการสร้างรากแก้วที่แข็งแรงให้กระจายสู่ท้องถิ่นอย่างแท้จริง การพัฒนาฝีมือในการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพโดยอาศัยการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ข้าวแต๋นและข้าวหมาก การเรียนรู้ของชาวบ้านเพื่อการถ่ายทอดเป็นผลิตภัณฑ์ที่สมบูรณ์อย่างยั่งยืน ในการทำผลิตภัณฑ์ข้าวแต๋นและข้าวหมากมีการทำที่เป็นสูตรเฉพาะของชาวบ้านที่ช่วยกันคิดค้นและจัดทำแบบสูตรสำเร็จรูปขึ้นมาเป็นแบบแผนและบรรทัดฐานในการทำครั้งต่อไป

ข้อเสนอแนะในการลงพื้นที่ครั้งนี้ ข้าพเจ้ามีความคิดเห็นว่า ผลิตภัณฑ์ข้าวแต๋นนอกจากจะโรยหน้าด้วยน้ำตาลแล้ว ข้าพเจ้ายังคิดว่าเรามีทางเลือกในการโรยด้วยชาเขียว บาร์บีคิว ปาริก้า หม่าล่า ที่กำลังเป็นที่นิยมอยู่ในยุคสมัยนี้ ซึ่งเป็นการพัฒนาผลิตภัณฑ์และต่อยอดไปในทิศทางที่ดีเพื่อการส่งออกต่อไป ในส่วนตัวแป้งของข้าวแต๋น ข้าพเจ้าคิดว่าควรจะมีการจัดทำแป้งพร้อมทอดเพื่อส่งออกขายมากกว่าแค่ผลิตภัณฑ์ข้าวแต๋นอย่างเดียว เพราะตัวแป้งสามารถเก็บไว้ได้นาน ในทุกสภาพอากาศ ในการตลาดโลกปัจจุบันมีการส่งออกไปทั่วโลกสำหรับแป้งพร้อมทอดของผลิตภัณฑ์ข้าวแต๋น ข้าพเจ้าคิดว่าคือการส่งเสริมการตลาดของผลิตภัณฑ์ข้าวแต๋นอีกหนึ่งรูปแบบ

งานอื่นๆ ที่ได้รับมอบหมาย ได้แก่

  1. บันทึกภาพกิจกรรมต่าง ๆ
  2. ลงพื้นที่ในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่จัดทำขึ้น

ต.ทะเมนชัยมีชื่อเสียงและศักยภาพในเรื่องข้าวอินทรีย์ ประชากร ใน ต.ทะเมนชัยส่วนใหญ่เป็นเกษตกรมีสภาพพื้นที่เหมาะสม มีแหล่งน้ำเป็นพื้นที่ปลูกข้าวขนาดใหญ่ และมีผลผลิตที่ได้มาตราฐานและคุณภาพดี ข้าพเจ้าและทีมงานผู้ปฏิบัติงานได้ร่วมกัน สังเคราะห์ข้อมูล ปรึกษาระดมความคิดเห็น และสอบถามผู้นำชุมชนแต่ละหมู่บ้าน ผลปรากฏว่า ชาวบ้านส่วนมากมีความสนใจ ข้าวหมากและข้าวแต๋นเป็นตัวเลือกในการแปรรูปข้าว เพราะข้าวเป็นวัตถุดิบในการผลิตนั้น มีอยู่ในชุมชนมากมาย และคิดว่าเพียงพอ หาง่าย หลังจากนั้นได้หากลุ่มเป็นผู้มีความสนใจที่จะเข้าร่วมกิจกรรม เพื่อสร้างรายได้ให้กับกลุ่มและชุมชน ข้าพเจ้าได้ร่วมกับสมาชิกกลุ่มในชุมชนคิดค้นที่จะพัฒนาด้านคุณภาพให้กับผลิตภัณฑ์ข้าวหมากข้าวแต๋นให้ได้ตามมาตราฐาน และสามารถพัฒนาหาเครือข่ายด้วยตนเองอย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต

ข้าพเจ้าได้ให้การแนะนำในการทำตลาดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทางสื่อออนไลน์ จัดทำเพจ Facebook และให้เชื่อมโยงผลิตภัณฑ์กับแหล่งท่องเที่ยวในชุมชนและสนับสนุนให้มีการเข้าทำกิจกรรมการแสดงและจำหน่ายสินค้าในระดับท้องถิ่น เพื่อเป็นการยกระดับของผลิตภัณฑ์ ข้าวหมากและข้าวแต๋นได้เป็นสินค้าประจำตำบลทะเมนชัย ข้าพเจ้าและทีมงานได้ร่วมกันแสดงความคิดเรื่องการออกแบบสัญลักษณ์โลโก้ให้กับกลุ่มข้าวหมากและข้าวแต๋น เพื่อสร้างดำรงคุณค่า ความเป็นเอกลักษณ์ เป็นที่น่าสนใจให้เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค และก่อให้เกิดความภาคภูมิใจของผู้เข้าร่วมผลิตภัณฑ์ว่ามีสัญลักษณ์ของตนเอง

ปัจจุบันทุกวันนี้สื่อออนไลน์เข้ามามีอิทธิพลในชีวิตประจำวันให้ความสะดวกสบายรวดเร็ว จำหน่ายสินค้าออนไลน์มีประโยชน์ และสำคัญมาก ข้าพเจ้าและทีมงานได้สร้างเพจเฟซบุ๊คของกลุ่มข้าวหมากและข้าวแต๋นขึ้นมา จะช่วยให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย ที่ต้องการอย่างสะดวกและรวดเร็ว และอาจเพิ่มโอกาสที่จะทำยอดการจำหน่ายให้เพิ่มสูงขึ้นในเรื่องการวางแผนการตลาดในสื่อออนไลน์ นับว่าความจำเป็นและความสำคัญมากที่สุด

 

อื่นๆ

เมนู