ข้าพเจ้า นางสาวกาญจนา  จิตวงค์  ประเภทบัณฑิตจบใหม่  ตำบลถาวร

           หลักสูตร  :  โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ                                                                  (๑ ตำบล ๑      มหาวิทยาลัย) (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ)

 

เมื่อเดือนพฤษภาคม 2564 ได้ลงพื้นที่เก็บแบบสอบถาม โครงการการติดตามประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมโครงการ  U2T ณ ตำบลถาวร อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์  จากการอบรมพัฒนาสัมมาชีพเครื่องดื่มสมุนไพรเพื่อสุขภาพ โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือ  1.ตำบลเป้าหมาย โดยมีประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชน/ผู้นำชุมชน/เกษตรกร จำนวน 3 คน

2. ลูกจ้างโครงการ มีนักศึกษา/บัณฑิต และประชาชน  ตัวแทน 3 คน รวมทั้งหมด 9 คน

3.ครอบครัวลูกจ้างโครงการ 1 รายต่อตำบล

4.ชุมชนภายใน มีชุมชน/วัด/แหล่งการเกษตร/ร้านค้าที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ชุมชน(ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการ)เช่น เจ้าของร้านข้าวมันไก่ในตำบล  1 รายต่อตำบล

5.ชุมชนภายนอก  มีชุมชน/วัด/แหล่งการเกษตร/ร้านค้าที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ชุมชน(ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการ)เช่น เจ้าของร้านข้าวมันไก่ในตำบล  1 รายต่อบล

6.อาจารย์ผู้ดูแลโครงการ  อาจารย์ผู้เป็นหัวหน้าโครงการในตำบลนั้นๆ 1 คนต่อตำบล

7.เจ้าหน้าที่ โครงการ USI  เจ้าหน้าประจำโครงการ 1 คนต่อUSI

8.ผู้แทนตำบล  เจ้าหน้า อบต.หรือเทศบาลประจำตำบล ผู้ได้รับมอบหมายประสานงานประจำตำบล 1 คน ต่อตำบล

9. หน่วยงานภาครัฐ  หน่วยงานภาครัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้องในโครงการ เช่นโรงพยาบาล/พัฒนาชุมชน /รพ.สต.  1 คน ต่อตำบล

10.อปท. ตัวแทนอปท. ที่มีส่วนร่วมการดำเนินงานในโครงการ กำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน/นายก/อบต./เทศบาล  1 คน ต่อตำบล

11. เอกชนในพื้นที่  บริษัทห้างร้านหรือกิจการในพื้นที่ ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เช่นร้านขายวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้าง  1 คนต่อตำบล

ข้าพเจ้าและทีมงานได้รับมอบหมายให้เก็บแบบสอบถามเพื่อประเมินผลในกลุ่มเป้าหมายที่ 1,2,3,8 และ 9  จากการสอบถามกลุ่มเป้าหมายที่ 1 ได้สอบถามประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรกรในชุมชนและผู้นำชุมชน  พบว่า ได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ได้ให้ความร่วมมือในการพัฒนาส่งเสริมเพิ่มทักษะในการยกระดับทางด้านความรู้การฝึกอบรมเพิ่มศักยภาพชุมชนเป็นอย่างดี ผลปรากฏว่ากิจกรรมโครงการนี้ทำให้ชาวบ้านในชุมชนมีอาชีพเสริมและมีรายได้เข้ามาจุนเจือครอบครัวสามารถสร้างโอกาสและต่อยอดดำเนินงานให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆในการขยายผลที่ดีต่อชุมชนได้ การดำเนินกิจกรรมโครงการ U2T ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจและสังคม เกิดการร่วมมือ ร่วมใจในการดำเนินกิจกรรมเพิ่มขึ้นในระดับดีถึงดีมาก

 

ผลการสำรวจในด้านที่ 3 ครอบครัวลูกจ้างโครงการ ผลปรากฏว่าครอบครัวลูกจ้างโครงการมีรายได้เข้ามาจุนเจือครอบครัวสามารถแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายภายในครอบครัว แก้ไขปัญหาผลกระทบปัญหาด้านรายได้และอาชีพจากโรคระบาดโควิด-19 รวมถึงยังเป็นการเพิ่มแรงงานที่ช่วยส่งเสริมผลักดันเศรษฐกิจและสังคมในตำบลให้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ครอบครัวของลูกจ้างโครงการได้ให้ข้อเสนอแนะว่า โครงการ U2T มีความสำคัญและมีประโยชน์มาก เสนอให้มีโครงการแบบนี้เข้ามาอย่างต่อเนื่องเพราะว่าหลังจากที่มีโครงการเข้ามาสามารถทำให้ชาวบ้านที่มีส่วนเกี่ยวข้องในโครงการนี้มีแรงผลักดันในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมมากยิ่งขึ้น อีกทั้งอยากให้โครงการที่มีอยู่เกิดผลต่อเนื่องไปเรื่อยๆจนประสบความสำเร็จต่อไปในอนาคต จนชาวบ้านสามารถพึ่งตนเองได้ และเกิดการประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐอยู่เรื่อยๆ จนเกิดการหมุนเวียนเศรษฐกิจและสังคมได้อย่างเป็นรูปธรรม

จากการสอบถามในหัวข้อที่ 8 ผู้แทนตำบล ข้าพเจ้าและทีมงานได้เข้าไปสอบถามรองนายกเทศมนตรี ประจำเทศบาลตำบลถาวร ซึ่งได้มีส่วนร่วมในโครงการตั้งแต่แรกเริ่ม ได้ให้คำปรึกษาคำแนะนำแก่เจ้าหน้าที่ทุกคนในโครงการจนสามารถสัมฤทธิ์ผลในแต่ละกระบวนการของโครงการจนถึงปัจจุบัน ผลปรากฏว่า โครงการนี้ช่วยให้เกิดการร่วมมือของคนรุ่นใหม่ที่อยู่อาศัยในชุมชนตำบลถาวร เกิดการรวมแนวคิดของคนรุ่นใหม่กับบุคคลากรหน่วยงานภาครัฐในชุมชน โดยมีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลขนาดใหญ่ที่สำคัญต่อการสำรวจชุมชนตำบลถาวร  ทำให้สามารถนำข้อมูลที่มีอยู่นำมาวิเคราะห์ผลเพื่อพัฒนาชุมชนได้เป็นอย่างดี ทางด้านรองนายกฯ จึงมีข้อเสนอแนะ ว่าในการดำเนินกิจกรรมการอบรมพัฒนาโครงการนี้ยังมีข้อจำกัดด้านความร่วมมือเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานภาครัฐยังไม่มากพอสมควร จากการอบรบพัฒนาสัมมาชีพที่ผ่านมา  เนื่องจากเรื่องเวลา สถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ไม่เอื้ออำนวย แต่ก็ยังไม่สามารถพัฒนาได้มากพอสมควร ถือว่าเกิดผลสัมฤทธิ์ในระดับดีถึงดีมาก

 

จากการติดตามประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมโครงการ U2T  หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง โดยข้าพเจ้าและทีมงานได้เข้าไปสอบถามเจ้าหน้าที่ ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลถาวร ได้มีส่วนร่วมในการอบรมพัฒนาสัมมาชีพ ได้สนับสนุนอุปกรณ์ตรวจวัดอุณหภูมิก่อนการเข้ารับการฝึกอบรมพัฒนาสัมมาชีพ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ตามมาตรการควบคุมการระบาด รวมถึงให้ข้อเสนอแนะ คำชี้แจง หลักปฏิบัติการเข้าอบรมที่ปลอดภัย โดยเว้นระยะห่าง สวมใส่หน้ากากอนามัยตลอดระยะเวลาในการเข้ารับการอบรม ล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอลล์ทุกครั้ง ผลปรากฏว่า การอบรมพัฒนามีประโยชน์ต่อชาวบ้านในชุมชน ซึ่ง การพัฒนาเครื่องดื่มสมุนไพรเพื่อสุขภาพนี้ สามารถช่วยเพิ่มรายได้และอาชีพให้คนในชุมชน รวมทั้งมีความรู้ด้านการทำเครื่องดื่มที่ดีสุขภาพ ทำให้ชาวบ้านตระหนักถึงคุณค่าของสมุนไพรในท้องถิ่นมากขึ้นว่าใช้ประโยชน์ได้อย่างไร สามารถให้สรรพคุณแก้สุขภาพร่างกายแบบไหน รวมทั้งยังนำความรู้ที่ได้ไปเผยแพร่ พร้อมดูแลสุขภาพคนในครอบครัว และคนรอบข้างได้อีกด้วย โดยรวมแล้วมีผลสัมฤทธิ์ในระดีถึงดีมาก

 

 

 

อื่นๆ

เมนู