รายงานการปฏิบัติงาน
โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ
( ๑ ตำบล ๑ มหาวิทยาลัย ) ประจำเดือนตุลาคม
หลักสูตร : HS08 ตำบลทะเมนชัย อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์
นางสาวณัฎฐ์กิติมา มะกา กลุ่มประเภท นักศึกษา
1.ได้เก็บรวบรวมข้อมูล บันทึกข้อมูลตามแบบ SROI จำนวน 2 ชุด คือ ชุดที่ 1 ชุมชนภายใน และชุดที่ 2 ครอบครัวลูกจ้าง ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการวิเคระห์และประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมของการดำเนินกิจกรรม
2. ดิฉันได้ลงพื้นที่เป็นครั้งแรกในวันที่ 17 ตุลาคม 2564 ที่บ้านน้อยพัฒนา ตำบลทะเมนชัย อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ได้เข้าร่วมกิจกรรมโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวแต๋น ดิฉันมีหน้าที่ ที่ได้รับมอบหมายคือการ เสิร์ฟน้ำ เสิร์ฟอาหารพักเบรก ในส่วนของอาหารพักเบรกนั้นก็จะเป็นจะเป็นขนมบราวนี่ ขนมกล้วยหอม กาแฟ และโอวัลติน เป็นต้น ในขณะเดียวกันได้มีการแปรรูปผลิตภัณฑ์ข้าวแต๋นมีสูตรและขั้นตอนดังนี้
1.)ข้าวแต๋นชาเขียว
ส่วนผสม
(1.)ข้าวเหนียว 1/2 กก.
(2.)เกลือป่น 1 ชช.
(3.)น้ำชาเขียว(ชาตรามือ) 1 ถ้วยตวง(สำหรับทำสีของข้าว)
(4.)น้ำชาเขียว(ชาตรามือ) 3 ช้อนโต๊ะ(สำหรับเคี่ยวน้ำตาล)
(5.)งาดำหรืองาขาว 2 ช้อนโต้ะ
(6.)น้ำตาลมะพร้าว/น้ำตาลอ้อย(มิตรผล) 500 กรัม
(7.)น้ำตาลทรายแดง 2-3 ช้อนโต๊ะ
(8.)น้ำกะทิกล่อง 1 ช้อนโต้ะ
วิธีการทำ
1.นำข้าวเหนียวล้างเอาสิ่งสกปรกหรือสิ่งแปลกปลอมออกให้หมด และแช่ข้าวเหนียวไว้ 1 คืน(หม่าข้าว)
2.นึ่งข้าวเหนียวและพักไว้ให้คลายความร้อน (ถ้าข้าวแข็งๆนิดนึงจะดีมากเพราะจะทำให้ใส่พิมพ์และปั้นง่าย)
3.เมื่อข้าวคลายร้อนแล้ว ให้ใส่น้ำชาเขียวที่ผ่านการกรองเหลือแต่น้ำแล้ว 1 ถ้วยตวงหรือให้เช็กดูว่าข้าวที่ใส่ชาเขียวแล้วเหนียวได้ที่กำลังดี
4.ใส่เกลือป่นและงาดำหรืองาขาวก็ได้
5.ใช้มือคลุกเคล้าส่วนผสมทุกอย่างให้เข้ากันเบาๆพยายามให้ข้าวกระจายเป็นเม็ดและให้สังเกตสีของข้าวว่ามีสีชาเขียวทั่วทุกเม็ด ห้ามบี้หรือบีบข้าวเพราะจะทำให้เกาะกันเป็นไตได้
6.เสร็จแล้ว พักไว้ 5 นาที
7.นำข้าวที่พักไว้แล้ว ปั้นใส่พิมพ์ พยายามอย่าให้ข้าวอัดกันแน่นเกินไปเพราะเวลานำมาทอดข้าวจะไม่ฟู
8.นำไปตากแดดจัด 1 วัน (ครึ่งวันๆอย่าลืมพลิกกลับด้านข้าวด้วยนะคะ)
วิธีทอดข้าวแต๋น
-ตั้งไฟรอน้ำมันเดือดจัด แล้วนำข้าวที่ตากแล้ว ลงทอด ตอนทอดพยายามอย่าใช้ไฟแรงจนเกินไป และให้หมั่นพลิกกลับด้านข้าวบ่อยๆ จนเหลืองสวย แล้วนำพักบนตะแกรงให้สะเด็ดน้ำมัน
วิธีทำน้ำตาลราดข้าวแต๋น
-นำน้ำกะทิ+น้ำชาเขียว+น้ำตาลมะพร้าว/น้ำตาลอ้อย+น้ำตาลทรายแดง(น้ำตาลทรายแดงจะช่วยให้น้ำตาลตกทรายง่ายขึ้นสามารถเช็กความหนึดของน้ำตาลเวลาเคี่ยวแล้วเพิ่มปริมาณได้) และเกลือ1หยิบมือ ใส่ลงไป แล้วเปิดไฟ ใช้ไฟอ่อนอย่าใช้ไฟแรง เคี่ยวส่วนผสมทุกอย่างให้เข้ากัน **ทั้งเคี่ยวและคน**ระวังน้ำตาลไหม้นะคะ เคี่ยวจนน้ำตาลเริ่มตกทรายเกาะขอบหม้อ แล้วให้ปิดไฟ และเคี่ยวต่อแบบไม่มีไฟ
-พักน้ำตาลให้คลายร้อนซักพัก แล้วค่อยนำมาราดบนหน้าข้าวแต๋น
2.)ข้าวแต๋นมันม่วง
-มีส่วนผสมและขั้นตอนวิธีการทำคล้ายกันกับชาเขียว โดยมีปริมาณในการใช้ส่วนผสมเหมือนกัน แต่ให้เปลี่ยนจากชาเขียวเป็นมันม่วง ซึ่งน้ำสีของมันม่วงได้จากการเอามันม่วงมาปั้นกรองเอาแต่น้ำ
ทั้งนี้ได้พบปัญหาของการทำข้าวแต๋น คือ แดดไม่พอ ไม่มีแดดเพราะอยู่ในช่วง ปลายฝนต้นหนาว ทำให้บรรยากาศชื้น และมีกลิ่นอับ และการทำข้าวแต๋นหากทำบางจนเกินไปแผ่นข้าวแต๋นก็จะแตก แต่ถ้าหนาเกินไปข้าวแต๋นก็จะไม่ฟู และในบางทีก็ไม่ได้สีสันเป็นที่ต้องการ
3.) ติดต่อประสานงานให้คำแนะนำ สมาชิกเป้าหมาย หมู่บ้านละ 3 ดังนี้
1.บ้านหนองตาด จำนวน 3 คน
2.บ้านหนองหญ้าปล้อง จำนวน 3 คน
3.บ้านใหม่อัมพวัน จำนวน 3 คน
4.บ้านบุตาริด จำนวน 3 คน
5.บ้านน้อยพัฒนา จำนวน 3 คน
6.บ้านหนองม่วง จำนวน 3 คน
7.บ้านหนองน้ำขุ่น จำนวน 3 คน
4) ประชุมออนไลน์
ได้มีการประชุมครั้งแรกในวันที่ 4 ตุลาคม 2564 เวลา 15: 30 น.
ประชุมครั้งที่ 2 วันที่ 3 ตุลาคม 2564 เวลา 19:00 น.
ประชุมครั้งที่ 3 วันที่ 5 ตุลาคม 2564 เวลา 18:00 น.
ประชุมครั้งที่ 4 วันที่ 13 ตุลาคม 2564 เวลา 12:00 น.
รูปภาพประกอบกิจกรรมลงพื้นที่ที่บ้านน้อยพัฒนา ตำบลทะเมนชัย อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์
เก็บข้อมูล SROI