แหล่งแม่น้ำ วัดระหาน ตำบลบ้านด่าน

                  จากที่ได้ลงพื้นที่ ไปทำความสะอาดที่วัดบ้านระหานหรือวัดเกาะแก้ว ได้รับมอบหมายให้เขียนบทความเรื่อง แหล่งน้ำและครองวัดบ้านระหาน(วัดเกาะแก้ว)

                 ตำบลบ้านด่านยังมีพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์ธรรมชาติ  ป่าไม้ ห้วยลำตะโคง อีกที่หนึ่งที่น่าสนใจและเป็นแหล่งเรียนรู้เชิงระบบนิเวศน์ พันธุ์ สัตว์น้ำ พื้นบ้านของไทยเป็นแหล่งอาศัยของสัตว์น้ำและพืชน้ำ  เป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของมนุษย์และสัตว์ต่าง ๆ  เป็นแหล่งที่ให้น้ำในการอุปโภค  บริโภค  และทำการเกษตร ตัวอย่างสิ่งมีชีวิตในแหล่งน้ำจืด พืช  เช่น  จอก  สาหร่าย  แหน  เป็นต้น สัตว์  เช่น  หอย  ปลาต่าง ๆ  กุ้ง เป็นต้น แต่ปัญหาคือว่าศัตรูพืช เช่น ผักตบชวา  ผักบุ้ง  แห  เป็นต้น เต็มไปมากมายเกิดจากการกระทำ ของมนุษย์ที่เข้าไปใช้ประโยชน์จากแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ และททำลายสิ่งแวดล้อมจนทำให้ระบบนิเวศเสียสมดุล กลายเป็นปัญหาระบบนิเวศ เช่น ปัญหาภาวะโลกร้อน ปัญหาภาวะแห้ง แล้ง ปัญหาการพังทลายของดิน เป็นต้น จนไม่สามารถมองเห็นปลาต่างๆนานาพันธุ์ ดังนั้นในช่วงเดือน ตุลาคม  ข้าพเจ้าได้ลงดำเนินโครงการทำแผนพังที่ที่วัดระหารและการสำรวจแม่น้ำลำโคง โดยได้หาแนวทางกำจัดศตรูพืชน้ำ แล้วมีแรงบรรดาใจทำบทความแหล่งน้ำวัดระหาร ให้เป็นแหล่งเรียนรู้เชิงธรรมชาติ

                เกาะแก้วธุดงคสถาน (วัดระหาน) ต.บ้านด่าน อ.บ้านด่าน จ.บุรีรัมย์  ดำริการก่อสร้างโดยพระครูเขมคุณโสภณ (หลวงปู่จันทร์แรม) บนที่ดินของคุณสมพงษ์ พูนผล ซึ่งเป็นหลานของหลวงปู่ ด้วยเห็นว่าพื้นที่ดังกล่าวมีสภาพเป็นเกาะกั้นคลองลำตะโคง จำนวน 3 เกาะ รวมพื้นที่ 140 ไร่  เป็นสถานที่ที่มีลำตะโคงไหลผ่านวัดและมีปลาหลากหลายชนิด เช่น ปลาตะเพียน  ปลงช้อน  ปลาสวาย  ปลาดุก  ปลานิล  ปลายีสบ ปลาหมอ และปลาขาว  จึงเหมาะแก่การเรียนรู้ระบบนิเวศน์น้ำเป็นแหล่งอาศัยของสัตว์น้ำและพืชน้ำ  เป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของมนุษย์และสัตว์ต่าง ๆ  เป็นแหล่งที่ให้น้ำในการอุปโภค  บริโภค  และทำการเกษตร ตัวอย่างสิ่งมีชีวิตในแหล่งน้ำจืด พืช  เช่น  จอก  สาหร่าย  แหน  เป็นต้น สัตว์  เช่น  หอย  ปลาต่าง ๆ  กุ้ง เป็นต้นปัจจัยต่างๆ ตามธรรมชาติ ได้แก่ แสง อุณหภูมิ ปริมาณก๊าซออกซิเจน ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ปริมาณแร่ธาตุ ความขุ่นใสของน้ำ ปัจจัยทางชีวภาพ ได้แก่ ชนิด และปริมาณของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิด ปัจจัยที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ ได้แก่ การใช้ยาฆ่าแมลง ซึ่งเมื่อชะล้างลงสู่แหล่งน้ำ จะไปทำลายสิ่งมีชีวิตใน น้ำบางชนิด ทำให้มีผลกระทบต่อการถ่ายทอดพลังงานและสมดุลทางธรรมชาติในแหล่งน้ำ.สิ่งมีชีวิตในแหล่งน้ำผู้ผลิต ได้แก่ พืชต่างๆ ซึ่งในแหล่งน้ำมีทั้งที่เป็นพวกแพลงก์ตอน (Plankton) สาหร่ายต่างๆ เฟิร์น และพืชดอก  ผู้บริโภค ได้แก่ พวกแพลงก์ตอนสัตว์ แมลงต่างๆ และสัตว์พวกกินซากอินทรีย์ ผู้ย่อยสลาย มีทั้งพวกแบคทีเรีย เห็ด รา.ระบบนิเวศแหล่งน้ำจืด มี 2 ระบบ คือ ชุมชนในแหล่งน้ำนิ่งผู้ผลิต คือ พืชที่มีรากยึดอยู่ในพื้นดินใต้ท้องน้ำ เช่น พวก กก บัว กระจูด นอกจากนี้ ยังมีแพลงก์ตอนพืชและพืชลอยน้ำต่างๆ เช่น สาหร่าย ไดอะตอม แหน จอก เป็นต้นผู้บริโภค คือ สิ่งมีชีวิตที่เกาะอยู่ตามท้องน้ำ แพลงก์ตอน และสิ่งมีชีวิตที่เกาะอยู่ตามต้นไม้ หรือใบไม้ ของพืชน้ำ เช่น หอยโข่ง หอยขม ไฮดรา พลานาเรียชุมชนในแหล่งน้ำไหลเขตน้ำไหลเชี่ยว  เป็นบริเวณที่กระแสน้ำไหลปรงก้นลำธารสะอาด ไม่มีการสะสมของตะกอนใต้น้ำ เหมาะกับการดำรงของสิ่งมีชีวิตพวกที่สามารถเกาะติดกับวัตถุใต้น้ำได้หรือคืบคลานไปมาได้สะดวกหรือพวกที่สามารถว่ายน้ำที่สู้ความแรงของกระแสน้ำได้จะไม่พบแพลงก์ตอน เขตน้ำไหลเอื่อย (Pool Zone) เป็นบริเวณที่มีความลึกและความเร็วของกระแสน้ำลดลง มีการตกตะกอนของอนุภาคใต้น้ำ การทับถมของตะกอนมาก เหมาะกับพวกที่ขุดรูอยู่และพวกที่ว่ายน้ำไปมาได้อย่างอิสระ รวมทั้งแพลงก์ตอนด้วย.การปรับตัวของสิ่งมีชีวิตในชุมชนแหล่งน้ำไหลแรง สามารถเกาะติดแน่นกับพื้นที่ผิวอาศัยอยู่มีโครงสร้างสำหรับเกาะหรือดูดติดกับพื้นผิวอย่างมั่นคง

        ดังนั้นคณะพยาบาลศาตสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ และชุมชน หน่วยงาน  แนวทางแก้ไขปัญหาแบ่งออกเป็น 2 ทาง คือ ทางตรง และทางอ้อม

     1.1  การแก้ไขปัญหาทางตรง เป็นการแก้ไขปัญหามลภาวะด้วยการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่ง สามารถปฏิบัติได้ทั้งระดับบุคคล องค์กร และระดับประเทศ ได้แก่ การใช้ทรัพยากรอย่างประหยัด การนำกลับมาใช้ซ้ำอีก การ บูรณะซ่อมแซม การบำบัดและพื้นฟู การใช้สิ่งอื่นทดแทน และการเฝ้าระวังดูแลป้องกัน

    1.2 การแก้ไขปัญหาทางอ้อม เป็นการแก้ไขปัญหามลภาวะที่ต้องใช้ระยะเวลา ได้แก่ การพัฒนาคุณภาพของ ประชาชน สนับสนุนการศึกษา การใช้มาตรการทางสังคมและกฏหมาย การจัดตั้งกลุ่ม ชมรม สมาคม   เพื่อการอนุรักษ์ส่งเสริม ให้ประชาชนในท้องถิ่นได้มีส่วนร่วม ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี และการกำหนดนโยบายของรัฐบาลในการอนุรักษ์ และพัฒนาสิ่งแวดล้อม

            

 

อื่นๆ

เมนู