ชื่อบทความ : ID02 : ขอรับใบรับรองแสดงเครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน “เสื่อกก” ตำบลโคกย่าง อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์
พื้นที่: ตำบลโคกย่าง อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์
ชื่อเจ้าของบทความ : นางสาวสุนารี สลาประโคน
ประเภท: บัณฑิตจบใหม่
ID02 : ขอรับใบรับรองแสดงเครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน “เสื่อกก” ตำบลโคกย่าง อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์
สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.)ได้จัดทำโครงการมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนขึ้น เพื่อรองรับการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ชุมชน หรือระดับพื้นบ้านที่ยังไม่ได้รับการพัฒนาเท่าที่ควร เพื่อเสริมสร้างให้แต่ละชุมชนได้ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น เพื่อผลิตจำหน่ายสู่ตลาดผู้บริโภค สอดคล้องกับโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ของมหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์มีเป้าหมายให้พัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีมาตรฐานและคุณภาพ จึงได้ดำเนินการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ในชุมชนประเภทเสื่อกก ให้มีคุณภาพที่ดีขึ้น และทำการยืนคำขอรับใบรับรองแสดงเครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน ในรูปแบบยื่นขอเป็นบุคคลธรรมดา ในนาม นางพราน จาบประโคน
การยืนคำขอรับใบรับรองแสดงเครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน ข้าพเจ้าได้รับหน้าที่ในการรวบรวมข้อมูลผู้ข้อรับใบรับรอง ดังรายละเอียดต่อไปนี้
- ประเภทผลิตภัณฑ์ เสื่อกก
- ผู้ข้อรับใบรับรอง นางพราน จาบประโคน
- ภูมิลำเนา 39 หมู่ 7 ต.โคกย่าง อ.ประโคนชัย จ.บุรีรัมย์ รหัสไปรษณีย์ 31140
- ข้อมูลสถานที่ทำผลิตภัณฑ์ 39 หมู่ 7 ต.โคกย่าง อ.ประโคนชัย จ.บุรีรัมย์ รหัสไปรษณีย์ 31140
- ประวัติความเป็นมา นางพราน จาบประโคน ผู้ข้อรับใบรับรองแสดงเครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน ได้มีโอกาสเห็นเสื่อกกที่มีลวดลายสวยงามและแปลกใหม่ จึงเกิดจากความสนใจ และศึกษาวิธีการทอเสื่อกกแบบลองผิดลองถูกด้วยตนเอง และในที่สุดก็สามารถทอดแบบของลวดลายที่แปลกใหม่และเกิดเป็นผลิตภัณฑ์เสื่อกกที่สวยงาม จากนั้นได้มีการแนะนำให้กับคนในชุมชนทีมีความสนใจในการทอเสื่อกกได้เรียนรู้และนำแนวทางการทอเสื่อกกไปปฏิบัติต่อไป
- ขั้นตอนการทอเสื่อกก
- ตัดต้นกกให้ไดตามจำนวนที่ต้องการ
- นำต้นกกมาฝานตามขนาดที่ต้องการ จากนั้นนำไปตากแดดให้แห้ง
- นำกกที่ตากแห้งแล้วมาย้อมสีตามที่ต้องการ
- ออกแบบลายเสื่อกกที่ต้องการทอ
- ลงมือทอเสื่อกกตามแบบที่วางไว้ ลายง่ายจะใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์ ในส่วนของลายที่มีความยากจะใช้เวลาประมาณ 1-2 สัปดาห์ จึงเสร็จสมบูรณ์
โครงการการติดตามประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมโครงการU2T
การดำเนินโครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการวิเคราะห์และประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมของการดำเนินกิจกรรม ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (U2T) โดยในการดำเนินโครงการครั้งนี้ ใช้การบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มเป้าหมาย 11 กลุ่ม ได้แก่
- ตำบลเป้าหมาย ได้แก่ ประธานวิสาหกิจชุมชน ผู้นำชุมชน เกษตรกร
- ลูกจ้างโครงการ ได้แก่ นักศึกษา บัณฑิต ประชาชน
- ครอบครัวลูกจ้าง ได้แก่ ครอบครัวของกลุ่มลูกจ้างโครงการ
- ชุมชนภายใน ได้แก่ ชุมชน วัด แหล่งการเกษตร ร้านค้าที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ชุมชน
- ชุมชนภายนอก ได้แก่ แหล่งการเกษตร ร้านค้าที่ตั้งอยู่นอกพื้นที่ชุมชน
- อาจารย์ผู้ดูแลโครงการ ได้แก่ อาจารย์ผู้เป็นหัวหน้าโครงการ
- เจ้าหน้าที่โครงการ (USI) ได้แก่ เจ้าหน้าที่ประจำโครงการ
- ผู้แทนตำบล ได้แก่ เจ้าหน้าที่อบต. ประจำตำบล
- หน่วยงานภาครัฐ ได้แก่ หน่วยงานภาครัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้องในโครงการเช่นโรงพยาบาล พัฒนาชุมชน รพ.สต.
- หน่วยงาน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ ตัวแทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน นายกอบต.
- เอกชนในพื้นที่ ได้แก่ บริษัท ห้างร้านหรือกิจการในพื้นที่ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง
เพื่อต้องการทราบว่ากลุ่มเป้าหมายได้รับประโยชน์ หรือการเปลี่ยนแปลงในระดับใดบ้าง และข้าพเจ้าได้รับหน้าที่ในการรวบรวมข้อมูลในกลุ่ม ลูกจ้างโครงการ การรวบรวมข้อมูลเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและตรงตามวัตถุประสงค์
โดยกลุ่ม : คณะเทคโนโลยีอุตสากรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
พื้นที่ที่รับผิดชอบ : ตำบลโคกย่าง อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์
ชื่อโครงการ : โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ
(มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ)