ข้าพเจ้านายวิฑูรย์ หินแก้ว ลงพื้นที่บ้านบัว หมู่ 16 อย่างต่อเนื่องและระมัดระวังตัว เพื่อไม่ให้มีปัญหาเรื่องการติดเชื้อโควิต 19 ซึ่งยังไม่รู้วันไหนจะยุติหรือสิ้นสุดกันเสียที
ข้าพเจ้าได้ลงพื้นที่เพื่อติดตามการทำเกษ๖รไร่นาสวนผสมของนายรุ่งโรจน์ และนางโสภี แก้วหาญที่มีพื้นที่เพียง 5 ไร่ ได้แบ่งพื้นที่เป็นสองส่วน ๆ หนึ่งลงข้าวเหนียวที่เอาพันธุ์มาจากจังหวัดยโสธรซึ่งเป็นบ้านเกิดของนายรุ่งโรจน์ผู้เป็นสามี นอกจากนั้นก็ลงทั้งพืชและไม้ยืนต้น ก็มีไม้พยุง, ยางนา,ไม้แดง และไม้สักเป็นต้น จากนั้นก็มีไม้ไผ่, กล้วย, ฝรั่ง, กะทกรก และแบ่งส่วนหนึ่ง ขุดบ่อเลี้ยงปลา ซึ่งก็มี ปลาสวาย, ดุก,นิล,แรด และอื่นๆประมาณ 1500 ตัว นางโสภียังบอกข้าพเจ้าอีกว่า ตอนนี้ยังมีปัญหาเรื่องดิน คือ ดินเปรี้ยว ,ศัตรูพืชเยอะ เพราะที่สวนผสมนี้ ไม่ได้ใช้ยาปราบศัตรูพืช และสารเคมี จึงทำให้ศัตรูพืชทั้งหลายได้แพร่พันธุ์ในนี้อย่างอิสระ และบ่อเลี้ยงปลายังเป็นไปแบบยถากรรมอยู่ เพราะ ทุนทรัพย์มีไม่มาก และบ่อเลี้ยงปลาก็ยังเป็นบ่อปิด น้ำไม่ถ่ายเท จึงเป็นปัญหาน้ำไม่สมบูรณ์
นายรุ่งโรจน์ ยังได้ให้ความรู้อีกว่า การทำการเกษตรผสมผสาน เป็นการนำเอาส่วนผสมของการทำอาชีพเกษตรมารวมกันอย่างน้อยสองประเภทขึ้นไป อยู่ภายในพื้นที่เดียวกัน และช่วงเวลาเดียวกัน ซึ่งถ้าแยกความหมายของการเกษตรผสมผสานก่อน ก็จะให้ข้อมูลได้ว่า เป็นการทำการเกษตรในรูปแบบต่างๆบนพื้นที่หนึ่งซึ่งมากกว่าสองประเภทงาน ไม่ว่าจะเป็นการปลูกพืชคนละชนิด เลี้ยงสัตว์คนละประเภท อีกทั้งเป็นการเกื้อกูลกันและกัน อีกยังสร้างประโยชน์ให้เกษตรกรมากที่สุด ทั้งนี้ต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานห่วงโซ่ที่มีความสัมพันธ์ด้วยกัน จะได้ประหยัดต้นทุน ค่าใช้จ่าย รวมถึงไม่ยุ่งยากในการดูแล เช่น การปลูกข้าวและขุดบ่อปลาไว้ข้างๆ, บนบ่อปลาก็เลี้ยงไก่ เป็นต้น นี้ก็เป็นการทำการเกษตรแบบผสมผสาน
ในขณะที่ไร่นาสวนผสมเอง ก็จะเน้นการปลูกพืช ก็ไม่จำเป็นต้องปลูกพืชในช่วงเวลาเดียวกันเสมอไป ช่วงเวลาปลูกข้าวก็ปลูกตามปกติ แต่เมื่อหมดเวลาข้าวก็เปลี่ยนผืนนาเป็นไร่ถั่วลิสง, ไร่อ้อย,ไร่มันสำปะหลัง ฯลฯ เพื่อเป็นการไม่ปล่อยให้พื้นที่ว่างเปล่า และขาดประโยชน์ ในการทำไร่นาสวนผสมจะเน้นเรื่องความคุ้มค่าราคาของพืชผลเป็นหลักสำคัญ เช่น ราคามันสำปะหลัง,ราคาถั่วลิสง ที่สร้างรายได้มากกว่ากัน เมื่อเทียบการลงทุนในปริมาณเท่าๆกัน เป็นต้น
นี้คือความหมายของการเกษตรผสมผสานและไร่นาสวนผสม ซึ่งจริงๆแล้ว ถ้ามองภาพให้กว้างขึ้นกว่านี้อีกจะพบว่า มันมีความหมายคล้ายคลึงกันพอสมควรทีเดียว แก่นแท้ก็คือ การพยายามทำให้เกิดความคุ้มค่าบนพื้นที่การเกษตรของตนเองมากที่สุด ขณะเดียวกัน ก็ต้องสร้างประโยชน์ในเชิงบวกด้วย ไม่ใช่แค่การมีพื้นที่แล้วทำตามความชอบ แต่ต้องอาศัยหลักการห่วงโซ่และความต้องการของตลาดเป็นอีกปัจจัยสำคัญในการพิจารณาว่าจะทำอย่างไรดีบ้าง
การใช้พื้นที่ให้ได้ประโยชน์มากที่สุด ก็คือ การเปลี่ยนพื้นที่เดิมๆให้เป็นเกษตรผสมผสานและไร่นาสวนผสม เพราะจะช่วยให้ทุกพื้นที่ถูกใช้งานอย่างเหมาะสม คุ้มค่า ไม่ปล่อยแม้แต่จุดเล็กๆ ให้กลายเป็นพื้นที่ว่างเปล่าไร้ประโยชน์
ทำรายได้ให้เกษตรกรมากขึ้น แม้จะอยู่บนพื้นที่เดียวกัน ย่อมสร้างรายได้ให้กับเกาตรกรมากกว่าเดิมแบบไม่ต้องมีข้อสงสัยใดๆทั้งสิ้น เช่นจากเดิมชาวนามีแค่การทำนา เมื่อหมดหน้านาก็ว่าง ไม่มีงาน ไม่มีเงิน ก็สร้างรายได้จากการขายพืชไร่ชนิดอื่นแทน หรือจากเดิมเป็นแค่สวนผักเล็กๆ แต่มีการขุดบ่อเลี้ยงปลาเพิ่ม น้ำในบ่อปลาก็นำไปใช้รดผักทุกวัน แบบนี้ก็เท่ากับการสร้างรายได้ สองช่องทางในเวลาเดียวกัน
สร้างแนวคิดวางแผนในการทำงานอย่างเหมาะสม ในการทำเกษตรผสมผสานและไร่นาสวนผสม ไม่ว่าชนิดใดก็ตาม เมื่อเวลาลงมือทำไปแล้วจะพบว่า สอดคล้องเป็นไปตามที่คาดหวังไว้ เช่น ปลูกผัก แต่ดันไปเลี้ยงไก่ แบบนี้ก็มีโอกาสที่ไก่จะจิกผลผลิตตายหมด เป็นต้น การทำเกษตรในลักษณะที่ว่า จะช่วยให้รู้จักการวางแผนแบบเป็นขั้นตอน เพื่อให้ผลผลิตออกมาตรงกับที่ต้องการมากที่สุดนั้นเอง
เกษตรผสมผสานและไร่นาสวนผสม ถือเป็นแนวทางดีๆที่จะช่วยให้เกษตรกรทุกคนลืมตาอ้าปากได้ เพราะไม่ใช่แค่เรื่องของการใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์ แต่ยังมีรายได้เพิ่มเติมจากเคยมีแค่ทางเดียว แล้วต้องไปหารับจ้างแบกหาม แต่ได้อยู่บนพื้นดินตนเอง ตื่นเช้ามาทำในสิ่งที่อยู่กับธรรมชาติ สร้างความสุขในชีวิตให้เกิดภายในครอบครัว อีกทั้งยังเห็นการเติบโตของผลผลิต
ปัจจุบันอาชีพเกษตรกรรมยังมีความสำคัญกับประเทศเราอย่างต่อเนื่อง เมื่อโลกเราพัฒนามากขึ้น ความทันสมัยต่างๆ รวมถึงแนวคิดดีๆก็เกิดขึ้นเพื่อช่วยเพิ่มผลผลิต และสร้างประโยชน์ให้กับบุคคลากรในอาชีพได้อย่างเห็นผล เกษตรผสมผสานและไร่นาสวนผสมจึงถือเป็นอีกวิถีดีๆที่จะช่วยสร้างความคุ้มค่าให้กับเกษตรกรให้ใช้งานในพื้นที่เพาะปลูกตนเองได้อย่างคุ้มค่ามากที่สุด
พระอธิการภูวนัยจิตตถาโร วัดบัวทรายทองได้ให้ข้อมูลว่า ชาวบ้านได้บริจาคมาครอบครัวละเล็กน้อยจนพอที่จะเทคานกำแพงรอบอุโบสถ ซึ่งทางวัดและชาวบ้านร่วมมือกันทำแบบค่อยเป็นค่อยไป
ทางผู้ใหญ่บ้านสมใจ มมประโคนก็ได้ร่วมกับชาวบ้านในการทำกิจกรรมสนับสนุนในการปรับเปลี่ยนการผลิตในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสมในการทำการเกษตร คือ ดินที่มีความเสื่อมโทรม ความสมบูรณ์ต่ำ จึงต้องพัฒนาคุณภาพของดิน