ข้าพเจ้า นางสาววราพร จันทร์สุข ประเภทประชาชน ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ผู้ปฎิบัติงานโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณการ 1 ตำบล 1 มหาลัย “มหาลัยสู่ตำบลสร้างรากแก้วให้ประเทศ” หลักสูตรHSO2 โคกหนองนาโมเดล ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จ.บุรีรัมย์

   โคก-หนอง-นา โมเดล คือ การจัดการพื้นที่ซึ่งเหมาะกับพื้นที่การเกษตร ซึ่งเป็นผสมผสานเกษตรทฤษฎีใหม่ เข้ากับภูมิปัญญาพื้นบ้านที่อยู่อย่างสอดคล้องกับธรรมชาติในพื้นที่นั้นๆ โคก-หนอง-นา โมเดล เป็นการที่ให้ธรรมชาติจัดการตัวมันเองโดยมี มนุษย์เป็นส่วนส่งเสริมให้มันสำเร็จเร็วขึ้น อย่างเป็นระบบ

   โคก-หนอง-นา โมเดล ซึ่งเป็นแนวทางทำเกษตรอินทรีย์และการสร้างชีวิตที่ยั่งยืน โดยมีองค์ประกอบดังนี้

  1. โคก: พื้นที่สูง

   – ดินที่ขุดทำหนองน้ำนั้นให้นำมาทำโคก บนโคกปลูก “ป่า 3อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง” ตามแนวทางพระราชดำริ

   – ปลูกพืช ผัก สวนครัว เลี้ยงหมู เลี้ยงไก่ เลี้ยงปลา ทำให้พออยู่ พอกิน พอใช้ พอร่มเย็น เป็นเศรษฐกิจพอเพียงขั้นพื้นฐาน ก่อนเข้าสู่ขั้นก้าวหน้า คือ ทำบุญ ทำทาน เก็บรักษา ค้าขาย และเชื่อมโยงเป็นเครือข่าย

   – ปลูกที่อยู่อาศัยให้สอดคล้องกับสภาพภูมิประเทศ และภูมิอากาศ

  1. หนอง: หนองน้ำหรือแหล่งน้ำ

   – ขุดหนองเพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ยามหน้าแล้งหรือจำเป็น และเป็นที่รับน้ำยามน้ำท่วม (หลุมขนมครก)

   – ขุด “คลองไส้ไก่” หรือคลองระบายน้ำรอบพื้นที่ตามภูมิปัญญาชาวบ้าน โดยขุดให้คดเคี้ยวไปตามพื้นที่     เพื่อให้น้ำกระจายเต็มพื้นที่เพิ่มความชุ่มชื้น ลดพลังงานในการรดน้ำต้นไม้

   – ทำ ฝายทดน้ำ เพื่อเก็บน้ำเข้าไว้ในพื้นที่ให้มากที่สุด โดยเฉพาะเมื่อพื้นที่โดยรอบไม่มีการกักเก็บน้ำ น้ำจะหลากลงมายังหนองน้ำ และคลองไส้ไก่ ให้ทำฝายทดน้ำเก็บไว้ใช้ยามหน้าแล้ง

   – พัฒนาแหล่งน้ำในพื้นที่ ทั้งการขุดลอก หนอง คู คลอง เพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ยามหน้าแล้ง และเพิ่มการระบายน้ำยามน้ำหลาก

  1. นา:

   – พื้นที่นานั้นให้ปลูกข้าวอินทรีย์พื้นบ้าน โดยเริ่มจากการฟื้นฟูดิน ด้วยการทำเกษตรอินทรีย์ยั่งยืน คืนชีวิตเล็กๆ หรือจุลินทรีย์กลับคืนแผ่นดินใช้การควบคุมปริมาณน้ำในนาเพื่อคุมหญ้า ทำให้ปลอดสารเคมีได้ ปลอดภัยทั้งคนปลูก คนกิน

   – ยกคันนาให้มีความสูงและกว้าง เพื่อใช้เป็นที่รับน้ำยามน้ำท่วม ปลูกพืชอาหารตามคันนา

วันอังคาร ที่5 ตุลาคม 2564 ข้าพเจ้าและทีมงานได้เข้าร่วมการประชุม และปฐมนิเทศผู้ปฏิบัติงานรายใหม่ ผ่านทางแอปพลิเคชัน Google meet แนะนำวิธีการเขียนรายงานการปฏิบัติงานประจำเดือน เพื่อจะให้ผู้ปฏิบัติงานทำงานถูกต้องตามหลักสูตร หัวข้อในการประชุม การบันทึกเวลาเข้า-ออกงาน การอบรมทักษะ 4 ด้าน การลงพื้นที่เก็บข้อมูลแบบสอบถามโครงการติดตามประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม โครงการU2T อาจารย์ก็ได้แบ่งหัวข้อที่จะสอบถามให้กับผู้ปฏิบัติโดยแบ่งตามกลุ่มประเภทการทำงาน ดังต่อไปนี้

ประเภทบัณฑิตจบใหม่ รับผิดชอบในหัวข้อ 2. ลูกจ้างโครงการ 9. หน่วยงานภาครัฐ 10. หน่วยงาน อปท. 11. เอกชนในพื้นที่

ประเภทประชาชน รับผิดชอบในหัวข้อ 2. ลูกจ้างโครงการ 4. ชุมชนภายใน 5. ชุมชนภายนอก 8. ผู้แทนตำบล

ประเภทนักศึกษา รับผิดชอบในหัวข้อ 1. ตำบลเป้าหมาย และ 2. ลูกจ้างโครงการ

วันพุธ ที่ 6 ตุลาคม 2564 อบรมทักษะด้านดิจิทัล ผ่านระบบ e-Learning ได้แก่

1.พลเมืองดิจิทัล (5ชั่วโมงการเรียนรู้)

2.การรู้เท่าทันสื่อ (10ชั่วโมงการเรียนรู้)

3.พลิกโฉมโลกด้วยดิจิทัล (2ชั่วโมงการเรียนรู้)

4.การสร้างสรรค์สื่อดิจิทัลบลเครือข่ายสังคมออนไลน์ (5ชั่วโมงการเรีบนรู้)

5.Cloud Techonlogy Tools เพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่21 (6ชั่วโมงการเรียนรู้)

วันพฤหัสบดี ที่ 7 ตุลาคม 2564 อบรมทักษะด้านภาษาอังกฤษ ผ่านระบบ e-Learning ได้แก่

1.ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร (10ชั่วโมงการเรียนรู้)

2.ภาษาอังกฤษพื้นฐาน (24ชั่วโมงการเรียนรู้)

วันศุกร์ ที่ 8 ตุลาคม 2543 อบรมทักษะด้านสังคม ผ่านระบบ e-Learning ได้แก่

1.จิตรวิทยาข้ามวัฒนธรรมในที่ทำงาน (8ชั่วโมงการเรียนรู้)

2.การสร้างทีมงานเพื่อพัฒนางานแบบมืออาชีพ (6ชั่วโมงการเรียนรู้)

3.การสร้างเครือข่ายด้วยสื่อสารผ่านสังคมออนไลน์ (6ชั่วโมงการเรียนรู้)

วันเสาร์ ที่9 ตุลาคม 2564 ข้าพเจ้าและทีมปฏิบัติงานประเภทประชาชน ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ได้ลงพื้นที่เก็บแบบสอบถาม: โครงการติดตามประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม โครงการ U2T หัวข้อที่8 ผู้แทนตำบลได้สอบถามข้อมูลกับนายสมพร นาแพง ตำแหน่งเจ้าพนักงานธุรการ สังกัดอบต.หนองโสน และหัวข้อที่4ชุมชนภายใน จาก นายจุล ชื่นชู ผู้ใหญ่บ้าน บ้านโคกว่าน ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ จากการสอบถามทั้ง2ท่าน ได้เห็นในการดำเนินโครงการในชุมชนได้รับประโยชน์และการเปลี่ยนแปลงในระดับที่ดี

วันเสาร์ ที่16 ตุลาคม 2543 เวลา13.00น. ข้าพเจ้าและกบุ่มผู้ปฏิบัติงานตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ได้มีการนัดหมายไปที่ศูนย์การเรียนรู้บ้านโคกว่าน ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อจัดเตรียมสถานที่ทำกิจกรรมเสวนาทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่โคก หนอง นาโมเดล : ทางเลือกและทางรอดในยุค NEW NORMAL ข้าพเจ้าและผู้ปภฏิบัติงานได้ช่วยกันจัดสถานที่ กวาดพื้นที่บริเวณหอประชุมที่ทำกิจกรรม เช็ดเก้าอี้ จับผ่าให้ดุสวยงาม
วันอาทิตย์ ที่17 เดือนตุลาคม 2564 ข้าพเจ้า ได้เข้าร่วมทำกิจกรรมเสวนาทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่โคก หนอง นาโมเดล : ทางเลือกและทางรอดในยุค NEW NORMAL โดยมีผู้เข้าร่วมโครงการได้แก่ ประชาชน ผู้ปฏิบัติงานตำบลหนองโสน ผู้ปฏิบัติงานตำบลหนองกง และผู้ปฏิงานตำบลหนองยายพิมพ์
การเสวนาโคกหนองนาโมเดลและการจะทำโคกหนองนาโมเดลดั่งนั้นจะต้องนำปรัชญา3ด้านมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในอนาคตต่อไป ปรัชญาทั้ง3 ด้านคือ
ด้านเกษตร
มีการปรับพื้นที่เป็น 3 ส่วนคือโคก-หนอง-นา เพื่อจัดสรรการท่าเกษตรขนาดย่อม ได้แก่ 1 ไร่และ 3 ไร่แบ่งสัดส่วนเป็น 3 แบบ ได้แก่ 1: 1 ,1: 2 และ 2: 3 มีการจัดการแก้ไขปัญหาสภาพดินโดยการปลูกพืชคลุมดินเพื่อปรับสภาพดินให้เหมาะสม มีการปลูกไม้ยืนต้นเพื่อประโยชน์ใช้สอยในด้านต่างๆ มีการปลูกผักสวนครัวเช่น ข้าวโพด ฟักทอง ผักบุ้ง เป็นต้น และผลไม้ เพื่อการบริโภคและจําหน่าย ด้านเกษตรนั้น จะมีการเกษตรผสมผสานไปแล้ว 80 %
ด้านปศุสัตว์
มีการแบ่งพื้นที่อยู่ของสัตว์เลี้ยง เช่น วัว เป็ด ไก่ มีการเลี้ยงสัตว์โดยใช้อาหารที่สามารถผลิตเองได้โดยมีการนำเอาข้าวโพดบดใบข้าวโพดมาทำเป็นอาหารสัตว์เพื่อความประหยัดต้นทุน ด้านปศุสัตว์มีการเลี้ยงสัตว์ไปแล้ว30 %
ด้านประมง
มีการเลี้ยงพันธุ์ปลา เช่น ปลานิลปลาทับทิมปลาตะเพียน มีการกำจัดและบำบัดน้ำเสีย เพื่อให้เหมาะแก่การเลี้ยงปลา ด้านประมงมีการเลี้ยงสัตว์น้ำไปแล้ว 50% และกิจกรรมในช่วงเช้าก้เสร้จสิ้นเป็นที่เรียบร้อย และได้มีการร่วมรับประทานอาหารร่วมกัน
เวลา13.20น. ข้าพเจ้าและผู้ปฏิบัติงานตำบลหนองโสน ได้ช่วยกันเก็บกวาดสถานที่ศูนย์การเรียนรู้ เก็บเก้าอี้เก็บผ้า และตัดทุกอย่างให้เหมือนเดิม ข้าพเจ้าและผู้ปฏิบัติงานต่างร่วมด้วยช่วยกันจึงทำให้กิจกรรมในครั้งนี้เสร็จสิ้นเป็นที่เรียบร้อย

จากการลงพื้นที่ในครั้งนี้ได้รู้จักพี่ๆหลายคนและได้เห็นการทำงานแบบพี่สอนน้องทำให้ข้าพเจ้าประทับใจมาก และข้าเจ้าได้ลงพื้นที่โคกหรองนาโมเดลข้าพเจ้าได้รับความรู้เกี่ยวกับการปลูกต้นไม้และการการเลี้ยงปลาในสรพหนองนาโทเดลได้รับความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงสัตว์หลายชนิดเช่น ปลานิล ปลาหมอเทศ ปลาใน ได้ เป็ด และการปลูกพืชผักสวนครัว เช่น ข้าวโพด ฟักทอง ตะไคร้ เป็นต้น ทำให้ข้าพเจ้าได้เห็นว่าไม่ใช่แค่สร้างรายได้เพียงอย่างเดียวแต่สามารถเปิดเป็นแหล่งเรียนรู้ให้แก่ลูกบ้านของเราได้และสามารถเปิดเป็นแหล่งท่องเที่ยวในอนาคตได้

ภาพการลงพื้นที่

 

อื่นๆ

เมนู