ดิฉันนางสาวปาริษา ทองยอน ประเภทบัณฑิตจบใหม่ผู้ปฏิบัติงานตามโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ(มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) พื้นที่รับผิดชอบ ตำบลลำดวน อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์

วันที่ 1 ตุลาคม2564 ที่ผ่านมาดิฉันได้เข้าร่วมกิจกรรมประชุมทีมแนะนำสมาชิกใหม่ของทีมMS02ผการันดูล ตำบลลำดวน เพื่อรับฟังแผนการทำงานและแบ่งหน้าที่การทำงานตามพื้นที่ของตนเอง

 

 

 

 

 

กิจกรรมที่สอง ดิฉันได้เดินทางเข้าร่วมงานประเพณีเซนโฏนตา ณ บ้านกระเจา ตำบลลำดวน อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์               แซนโฎนตา (บางคนสะกดว่า แซนโดนตา) เป็นประเพณีเซ่นไหว้ผี และบรรพบุรุษของชาวไทยเชื้อสายเขมร รวมถึงชาวเขมรหรือกัมพูชาด้วย เป็นการรำลึกและอุทิศส่วนกุศลแด่บรรพบุรุษผู้ล่วงลับ โดยประเพณีแซนโฎนตา จะจัดขึ้นทุกปีในช่วง แรม 15 ค่ำ เดือน 10แซนโฎนตา ประเพณีเซ่นไหว้ผีและบรรพบุรุษ ของชาวไทยเชื้อสายเขมรอาจเรียกว่า เป็นประเพณีในเทศกาลสารท บางคนก็เรียกว่า “สารทเขมร” (คล้ายๆ กับสารทจีน สารทไทย) คล้ายกับประเพณีสลากภัต ตานก๋วยสลาก หรือบุญเดือนสิบในภาค อื่นๆ แต่อาจแตกต่างในรายละเอียดพิธีกรรม โดยประเพฆ”๒ณีแซนโฏนตา บูชาบรรพบุรุษ                                                                             แซนโฎนตาเป็นภาษาเขมร คำว่า “แซน” ภาษาไทยตรงกับคำว่า “เซ่น” หมายถึงการเซ่นไหว้ ส่วนคำว่า “โฎนตา” แปลว่า ยายตา ใกล้เคียงกับคำว่าบรรพบุรุษ ญาติโกโหติกา    ความหมายของแซนโฎนตา ก็คือการทำบุญเพื่ออุทิศส่วนกุศล ให้กับผู้ล่วงลับไปแล้ว โดยเฉพาะบรรพบุรุษหรือญาติที่ใกล้ชิด และหมายรวมทั้งผู้ที่ล่วงลับไปแล้วโดยไม่เจาะจงว่าเป็นใครด้วยประเพณีแซนโฎนตาเริ่มต้น ดังนี้  1. วันเบ็ณฑ์ตู๊จหรือวันเบ็ณฑ์เล็ก คือวันขึ้น 14 ค่ำเดือน 10 จะมีทำพิธีเซ่นไหว้บรรพบุรุษที่บ้าน และนำภัตตาหารไปถวายพระสงฆ์ที่วัด     2. วันกันซ็อง หรือกันเบ็ณฑ์ เป็นวันหลังจากวันเบ็ญฑ์ตู๊จ คือเป็นวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 10 ตอนเช้าและเพล ชาวบ้านจะไปถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์ที่วัด  3. วันแซนโฎนตา หรือวันเบ็ณฑ์ธม (วันสารทใหญ่) คือวันแรม 14 ค่ำ เดือน 10 เป็นวันที่ญาติพี่น้องทุกคนต้องร่วมกันทำบุญที่วัด เป็นหน้าที่ที่ขาดไม่ได้ มีการเซ่นไหว้บรรพบุรุษอีกครั้งที่บ้าน

**คำว่า “เบ็ณฑ์” ตรงกับภาษาไทยว่าบิณฑ แปลว่า การรวมให้เป็นก้อน การปั้นให้เป็นก้อน การหาเลี้ยงชีวิตหรือหมายถึงก้อนข้าว

              

กิจกรรมที่สาม วันที่10ตุลาคม 2564  ดิฉันได้เข้าร่วมกิจกรรมอบรมการประดิษฐ์ของที่ระลึกจากเศษผ้าไหมเหลือใช้จากการตักชุด มีขนาดเล็กๆ ไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์อื่นๆได้ จึงนำมาดัดแปลงเป็นพวงกุญแจจากเศษผ้าไหม ยางมัดผมจากเศษผ้าไหม และเข็มกลัดดอกลำดวนจากเศษผ้าไหม ในกิจกรรมดังกล่าวดิฉันได้ประดิษฐ์ดอกไม้จากเศษผ้าไหมร่วมกับชาวบ้านในชุมชนลำดวน ได้รับความรู้และการสะท้อนความคิดเห็นจากการเข้าอบรมในครั้งนี้ คือชาวบ้านมีความสามารถในการผลิตผ้าไหม แต่ไม่มีความรู้ในการต่อยอดสินค้าจากเศษเหลือใช้ให้มีความหลากหลายและไม่มีตลาดรองรับสินค้า จากกิจกรรมดังกล่าวสามารถต่อยอดความรู้ความสามารถให้ชุมชนมีอาชีพเสริมในอนาคตของคนในชุมชนได้ไม่มากก็น้อย

               

กิจกรรมที่สี่ ดิฉันได้ลงพื้นสำรวจมูลไหมเหลือใช้ในชุมชนบ้านยาง ตำบลลำดวน อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ซึ่งพบว่ามีชาวบ้านจำนวนมากที่ผลิตมูลไหมได้แต่ไม่ได้ใช้ประโยชน์จากมูลไหมมากนัก จึงศึกษาข้อมูลเรื่องการพัฒนามูลค่าเพิ่มของมูลไหม เพื่อรวบรวมนำมาตากแห้งและนำไปพัฒนาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ของชุมชน ดิฉันได้ศึกษาเรื่องธาตุอาหารจากมูลไหม    พบว่ามีไนโตรเจนร้อยละ0.95% ฟอสฟอรัส ร้อยละ0.5% โพแทสเซียม ร้อยละ0.86% และอินทรีย์วัตถุร้อยละ 28.69% ซึ่งมีปริมาณมากกว่ามูลใส้เดือน และมูลวัว

   

     

จากการปฏิบัติงานข้างต้น ผลงานทั้งหมดเป็นส่วนหนึ่งของโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ(1ตำบล1มหาวิทยาลัย) มหาวิทยาลัยสู่ตำบลเพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ดิฉันและทีมงานผู้ปฏิบัติหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการจัดโครงการดังกล่าวสามารถให้ความรู้ สร้างอาชีพเสริมให้กับชุมชนเพื่อให้ชุมชนตำบลลำดวน อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ ไม่มากก็น้อย

 

อื่นๆ

เมนู