ข้าพเจ้านางสาวปริญญารัตน์ จันทร์สิงห์ ประเภทประชาชน ทีมปฏิบัติงานตำบลปราสาท อำเภอบ้านด่าน จังหวัดบุรีรัมย์ หลังจากที่ข้าพเจ้าได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบเรื่องหลักการดำเนินการจดทะเบียนการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) ข้าพเจ้าและทีมผู้ปฏิบัติงานได้ลงพื้นที่หาข้อมูลเพื่อจัดตั้งกลุ่มสัมมาชีพชุมชน และได้เลือก หมู่ที่ 7 บ้านขาม ตำบลปราสาท อำเภอบ้านด่าน จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นกลุ่มตัวอย่างเพื่อนำจดทะเบียนกลุ่มสัมมาชีพชุมชนและจะทะเบียนผลิตภัณฑ์โอทอปร่วมกับกรมพัฒนาชุมชนอำเภอบ้านด่าน ซึ่งในระหว่างนี้อยู่ในขั้นตอนดำเนินงาน

รัฐบาลมีนโยบายเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการโครงการ หนึ่งตําบล หนึ่งผลิตภัณฑ์

เพื่อให้แต่ละชุมชนสามารถใช้ทรัพยากรและภูมิปัญญาท้องถิ่นในการพัฒนาสินค้าโดยรัฐบาลพร้อมที่จะสนับสนุนให้ชุมชนเข้าถึงองค์ความรู้สมัยใหม่แหล่งเงินทุนและพัฒนาขีดความสามารถในการบริหารจัดการและการตลาด เพื่อเชื่อมโยงสินค้าจากชุมชนสู่ตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ กรมการพัฒนาชุมชน ในฐานะที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการอํานวยการหนึ่งตําบล หนึ่งผลิตภัณฑ์แห่งชาติ (กอ.นตผ.) ให้รับผิดชอบการจัดทําทะเบียนผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ทุก ๒ ปี

โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบความถูกต้องและจัดเก็บข้อมูลผู้ผลิต ผู้ประกอบการรายใหม่ คือ

๑. เพื่อจัดทําฐานข้อมูลผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ให้เป็นปัจจุบัน

๒. เพื่อใช้ประโยชน์ในการกำหนดแผนการส่งเสริมและพัฒนาได้อย่างเหมาะสม

จําแนกเป็น ๓ ลักษณะ ดังนี้

๑. กลุ่มผู้ผลิตชุมชน

๒. ผู้ผลิตชุมชนที่เป็นเจ้าของรายเดียว

๓. ผู้ผลิตที่เป็นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

     

หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน

          การรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ชุมชน หมายถึง การให้การรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ชุมชนของผู้ผลิตในชุมชนตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนที่สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมได้ประกาศกำหนดไว้แล้ว ประกอบด้วย ผู้ยื่นคำขอและผู้ได้รับการรับรอง

คุณสมบัติของผู้ยื่นคำขอต้องเป็นผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ชุมชน ไม่เป็นผู้แอบอ้าง หรือทำการผลิตแอบแฝง และมีคุณสมบัติในข้อหนึ่งข้อใด ได้แก่ บุคคลทั่วไป กลุ่มผู้ผลิตชุมชนที่ขึ้นทะเบียนไว้กับหน่วยงานราชการหรือกลุ่มตามกฎหมายวิสาหกิจชุมชน และนิติบุคคลที่ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์

การรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ชุมชน ประกอบด้วยการดำเนินการตรวจสอบสถานที่ผลิตและเก็บตัวอย่างจากสถานที่ผลิตส่งตรวจสอบ เพื่อพิจารณาออกใบรับรอง ตรวจติดตามผลคุณภาพผลิตภัณฑ์ชุมชนที่ได้รับการรับรอง โดยสุ่มซื้อตัวอย่างที่ได้รับการรับรองจากสถานที่จัดจำหน่าย เพื่อตรวจสอบ การขอการรับรอง ให้ยื่นคำขอต่อสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดที่สถานที่ผลิตตั้งอยู่ พร้อมหลักฐานและเอกสารต่างๆ ตามแบบที่สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมกำหนด  หมายเหตุ ให้ยื่นคำขอได้ตั้งแต่ ๑ ตุลาคม ถึง ๓๐ มิถุนายน ของปีงบประมาณเท่านั้น

ในการปฏิบัติงานและการดำเนินโครงการครั้งนี้ ข้าพเจ้าได้รับความร่วมมือจากทีมผู้ปฏิบัติงานตำบลปราสาททุกคน ที่ให้ความร่วมมือแบ่งปันข้อมูล ทำให้การดำเนินจดทะเบียนการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) มีความคืบหน้าอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนได้รับความร่วมมือจากผู้นำชุมชน ผู้ใหญ่บ้าน และชาวบ้านที่เข้าร่วมโครงการเป็นอย่างดี

 

 

อื่นๆ

เมนู