ข้าพเจ้านางสาว ถาวรีย์ แก้ววิเศษ ผู้ปฏิบัติงานกลุ่มนักศึกษา ตำบลหนองยายพิมพ์
วันพฤหัสบดีที่ 28 ตุลาคม 2564 ได้มีการให้ผู้ปฏิบัติงาน U2T ร่วมงาน จตุรภาคีสี่ประสาน เสวนาออนไลน์ ผ่านระบบ Zoom เวลา 09.00-12.00 น. มีเกียรติบัตรออนไลน์มอบให้แก่ผู้เข้าร่มอบรมทุกคนลงทะเบียนร่วมงาน คณะมนุษย์ศาสตร์เเละสังคมศาสตร์ โดยผู้กล่าวรายงานคือ รศ.ดร.อัครพล เนื้อไม้หอม คณบดีคณะมนุษย์ศาสตร์เเละสังคมศาสตร์ โดยมีจุดประสงค์ใน ดังนี้
1. เพื่อเผยแพร่ผลงานด้านการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนของมหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ซึ่งทำมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน
2. เพื่อที่จะประสานเครือข่ายชุมชนที่คณะมนุษย์ศาสตร์เเละสังคมศาสตร์ ได้ลงพื้นที่ทำงานร่วมกับพี่น้องชาวบ้านเพื่อที่จะได้ทำงานร่วมกันขับเคลื่อนงานด้านการพัฒนาชุมชนต่อไป การจัดการเสวนาชุมชนในครั้งนี้ ก็เนื่องมาจากเป็นการสนองนโยบายของมหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ ที่กำลังจะเข้าสู่การประเมินผลงานจากไทมส์ไฮเออร์เอดูเคชั่น (Times Higher Education) ซึ่งเป็นการสนองงานตามนโยบายของการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยื่น หรือ SDG เป็นนโยบายขององค์การสหประชาชาติ ในเรื่องของเป้าหมายในการพัฒนาอย่างยั่งยืนหรือมหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ ซึ่งนำโดยท่านอธิการบดีมีความพร้อม ในการจะนำมหาวิทยาลัยเข้าสู่ในการประเมินจาก ไทมส์ไฮเออร์เอดูเคชั่น (Times Higher Education) เพราะทางมหาวิทยาลัยได้ดำเนินการกิจกรรมพัฒนาชุมชนให้เกิดความมั่นคงมั่งคั่งและยั่งยืนอย่างต่อเนื่อง เพราะฉะนั้นวันนี้ได้จัดงานเสวนาขึ้นในนามของคณะมนุษย์ศาสตร์เเละสังคมศาสตร์เพื่อสนองนโยบายของมหาลัยดังกล่าว
วันเสาร์ที่ 30 ต.ค. 2564 มีการลงพื้นที่ศาลาหมู่ 1 บ้านหนองกง ตำบลหนองกง อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ เวลา 9.30 น. โดยให้กลุ่มดังต่อไปนี้มาร่วมอบรมมี
1. กลุ่มนักศึกษาทุกคน
2. กลุ่มบัณฑิตเฉพาะที่เข้ามาปฏิบัติงานใหม่
3. กลุ่มประชาชนเฉพาะที่เข้ามาปฏิบัติงานใหม่
ได้มีการอบรมเกี่ยวกับวิธีการผลิตปุ๋ยของตำบลหนองกง ในการผลิตคนในชุมชน ที่มีความชำนาญในด้านนี้ ได้อธิบายการทำปุ๋ย ที่ได้มาจากกระทรวงวิทยาศาสตร์ ที่ได้มาคือสูตร 633 ส่วนปุ๋ยที่สมาชิกไม่อยากใช้เรา ก็จะนำมาปั่นให้ละเอียด นำไปบดแล้วปั่นเป็นเม็ด นำไปผสมอินทร์เม็ดที่หมักปั่น เพื่อให้ไปใส่ที่นาได้ง่ายขึ้น ส่วนที่มาของผู้ที่ผลิตปุ๋ยจะมี 3 ฐานขั้นตอน ดังนี้
- ฐานที่ผลิตการบดปุ๋ยจะมีผู้ช่วยประจำ คือคุณสมหวัง ขำอเนก
2. ฐานที่ผสมสูตรปุ๋ย คือคุณ สร้อย นวลปักศรี
3. ฐานที่อัดเม็ด คือ คุณหัณ ปักศา
เครื่องมือในการผลิตมีดังนี้
1. เครื่องบดปุ๋ย
2. เครื่องผสม
3. เครื่องอัดเม็ด
4. กระสอบใส่ถุง
5. เย็บถุง
วิธีการผลิตและวัตถุดิบ
ทำการอัดปุ๋ยให้เป็นแท่งตัดออกมา ปกติทีมงานที่ชำนาญ จะจ้างคนงานมาทำกระสอบละ 40 บาท จะทำ 4-5 ขีดต่อวัน วันนี้ทำพรุ่งนี้ก็เก็บใส่กระสอบ เพราะจะให้ทำปุ๋ยไม่อับชื้น แล้วเย็บโดยใช้เครื่องเย็บ กระบวนการทำปุ๋ย ในการทำปุ๋ย ใช้เวลาบางครั้งเป็นเดือนก็จะสามารถใช้ได้ เพราะผ่านการฆ่าเชื้อเมล็ดหญ้าที่ผ่านการหมัก การผสมสูตรที่หมักจะมีปุ๋ยยูเรีย ผสมกับปูนฟอสเฟต แต่ช่วงนี้ไม่ได้หมัก เพราะปุ๋ยยังอยู่ในสต๊อกโกดังเยอะพอสมควร แต่ต่อไปในการผสมปุ๋ยนั้น ต้องค้นหาวัตถุดิบเพิ่มเติม แต่ตอนนี้ยังมีปุ๋ยที่ผ่านการหมักสำเร็จยังอยู่หลายปี ทางกระทรวงวิทยาศาสตร์ ได้มาสั่งซื้อ ในราคาต้นทุนในการผลิต 1 กิโลกรัมละ 3 บาท เพราะว่าผ่านขั้นตอนการทำค่อนข้างยาก ตอนนี้สินค้ายังค้างสต๊อกประมาณ 1000 กระสอบ ต้องโปรโมทเพื่อให้ชุมนุมได้มีการขายส่งออกไปที่ดีขึ้น
วันเสาร์ที่ 6 พ.ย. เวลา 10.30 น. ได้มีการให้ผู้ปฏิบัติงานกลุ่มงานเก่าจำนวน 18 คน เข้าร่วมประชุมออนไลน์ และได้ขอเปลี่ยนแปลงการลงพื้นที่เก็บข้อมูล CBD เพิ่มให้กับมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ได้เก็บข้อมูลและวิเคราะห์ ให้เรียบร้อยก่อนส่งอาจารย์