1. หน้าแรก
  2. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
  3. HS03 - ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง
  4. HS03 – การอบรมเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์แปรรูปขนม อบรมโครงการการพัฒนาหลักสูตรระยะสั้นเชิงสหวิทยาการ การลงพื้นที่เก็บข้อมูล การถอดบทเรียนในการปฏิบัติงาน และกิจกรรม “จิตอาสา ทำดีด้วยหัวใจ” ถวายพระราชกุศล ณ ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

HS03 – การอบรมเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์แปรรูปขนม อบรมโครงการการพัฒนาหลักสูตรระยะสั้นเชิงสหวิทยาการ การลงพื้นที่เก็บข้อมูล การถอดบทเรียนในการปฏิบัติงาน และกิจกรรม “จิตอาสา ทำดีด้วยหัวใจ” ถวายพระราชกุศล ณ ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

ดิฉัน นางสาวอรวรรณ คิดรัมย์  ประเภท : นักศึกษา  

หลักสูตร : การส่งเสริมและพัฒนาการทำขนมไทย ตามโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 มหาวิทยาลัย 1 ตำบล (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ)

การปฏิบัติงานตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ประจำเดือนธันวาคม 2564

เพิ่มเติมจากเดือนพฤศจิกายน 2564 มีรายละเอียดดังนี้

วันศุกร์ที่ 19 เดือนพฤศจิกายน 2564 ได้มีการจัดกิจกรรมอบรมเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์แปรรูปขนมโครงการแปรรูปขนมเพื่อสร้างรายได้ให้ชุมชน โดยมีวิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบตราสัญลักษณ์หรือโลโก้เพื่อธุรกิจ (Logo Design for Business) มีอาจารย์ 2 ท่าน คือ อาจารย์ชินานาง สวัสดิ์รัมย์ และอาจารย์ธนพล รามฤทธิ์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาศิลปะดิจิทัล คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์มาให้ความรู้ ณ ศาลาประชาคม หมู่บ้านหนองบัวราย ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ อาจารย์หัวหน้าหลักสูตรได้เรียนเชิญตัวแทนผลิตภัณฑ์ในตำบลบ้านสิงห์มาร่วมอบรมในครั้งนี้ด้วย และได้มอบหมายให้คณะผู้ปฏิบัติงานกลุ่มบัณฑิตจบใหม่และกลุ่มประชาชน เป็นตัวแทนในการเข้าร่วมอบรม ซึ่งการอบรมแบ่งผู้เข้าร่วมอบรมตามผลิตภัณฑ์เป็น 3 กลุ่มใหญ่ โดยแบ่งตามประเภทผลิตภัณฑ์ดังนี้ 1. ผลิตภัณฑ์กล้วยทอด  2. ผลิตภัณฑ์ขนมบ้าบิ่น  3. ผลิตภัณฑ์ขนมทองม้วน   

ปัจจุบัน

       โลโก้ ถือเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นโลโก้แบรนด์สินค้า โลโก้ร้าน เพราะโลโก้ จะเป็นตัวช่วยให้ธุรกิจมีความก้าวหน้า และประสบความสำเร็จได้ ซึ่งการทำโลโก้นั้น จะต้องอาศัยความคิดสร้างสรรค์ และจินตนาการเป็นหลัก เพื่อให้โลโก้มีความแปลกใหม่ โดดเด่น และไม่เหมือนใคร โดยเป้าหมายส่วนใหญ่ของการทำโลโก้ขึ้นมานั้น เพื่อการสร้างแบรนด์ให้กับสินค้าหรือบริการต่าง ๆ นั่นเอง  ดังนั้น การออกแบบโลโก้ จึงมีความสำคัญมากที่สุด ทั้งนี้ก็เพื่อการสร้างแบรนด์สินค้าให้โดดเด่น และน่าสนใจ และยังเป็นการช่วยส่งเสริมธุรกิจให้เติบโตขึ้นอีกทางหนึ่งด้วย

ความหมายของสัญลักษณ์ หรือโลโก้

       สัญลักษณ์หรือโลโก้ (Logo) มาจากคำเต็ม Logotype หมายถึง สัญลักษณ์ เครื่องหมาย ตัวแทน หรือสื่ออย่างใดอย่างหนึ่งที่บ่งบอก ประเภท รูปแบบ หรือรูปพรรณสัณฐานของสิ่งที่เป็นเจ้าของสัญลักษณ์ หรือโลโก้ (Logo) นั้น ๆ

        โลโก้ (Logo) คือ สัญลักษณ์ที่แสดงถึงภาพสัญลักษณ์ และเครื่องหมายต่าง ๆ ได้แก่ สินค้าและบริษัทผู้ผลิต การออกแบบโลโก้สินค้า และบริษัทให้มีเอกลักษณ์แบบเฉพาะตนเอง จะช่วยให้มีความน่าเชื่อถือ และตราตรึงต่อผู้บริโภคตลอดไป

         ดังนั้น โลโก้ จึงสามารถสร้างแรงบันดาลใจ ความเชื่อ ความนิยม และการจดจำเกี่ยวกับองค์กรหรือสินค้าและมันคืองานของ Designer ในการสร้างสรรค์โลโก้ เพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าว เพราะโลโก้นั้นไม่ได้เป็นแค่เครื่องหมายเฉย ๆ แต่โลโก้นั้นสะท้อนถึงภาพลักษณ์ในทางการตลาดของธุรกิจอีกด้วย

จุดประสงค์หลักของการออกแบบโลโก้

      โลโก้ (Logo) ที่ปรากฏต่อสายตาเป็นภาพลักษณ์แรกที่ลูกค้าจะได้รู้จัก ดังนั้น จึงมีความหมายต่อธุรกิจอย่างไม่ต้องสงสัย โลโก้ที่ดีจะช่วยสร้างเครดิตให้กับกิจการหรือองค์กรธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งถ้าขายสินค้าคุณภาพ โลโก้นั้นต้องสะท้อนสิ่งนี้ให้เห็นได้อย่างชัดเจน ดังนั้นจุดประสงค์หลักของการออกแบบโลโก้ มีดังนี้

  1. เพื่อทําให้คนอื่นจดจําได้ง่าย สามารถรับรู้ได้ทันทีว่าโลโก้นี้คือแบรนด์อะไร
  2. เพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นในตัวแบรนด์ เพิ่มความจงรักภักดี (Loyalty) ของแบรนด์
  3. เพื่อบ่งบอกถึงความเป็นมืออาชีพ
  4. เพื่อช่วยสะท้อนถึงคุณภาพของผลิตภัณฑ์
  5. เพื่อช่วยให้ผู้บริโภคเกิดความรู้สึก ความเชื่อมั่น เกิดความเข้าใจในตัวสินค้า และยอมรับในตัวสินค้า

 สรุป โลโก้ (Logo) คือ เครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ เป็นผลของการออกแบบกราฟิกที่เกี่ยวข้องกับสัญลักษณ์ (Symbolism) เป็นภาพสัญลักษณ์หรือเครื่องหมายต่าง ๆ ที่ช่วยสร้างเอกลักษณ์ แก่สินค้าและบริษัทของตน โดยวัตถุประสงค์หลักคือ เพื่อให้มีเอกลักษณ์แบบเฉพาะของตนเอง สอดคล้องกับผลิตภัณฑ์ และเพื่อให้ผู้พบเห็นจดจำง่าย เกิดความน่าเชื่อถือ หรือตราตรึงผู้บริโภคตลอดไป

วันอาทิตย์ที่ 21 พฤศจิกายน 2564 เวลา 08.00 – 15.30 น. ได้เข้าร่วมอบรมโครงการการพัฒนาหลักสูตรระยะสั้นเชิงสหวิทยาการทั้งแบบออนไซต์และออนไลน์เพื่อพัฒนาทักษะเดิมเพิ่มทักษะใหม่และรายได้เสริมให้ประชาชนในพื้นที่บริการวิชาการของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ณ ห้องประชุมมนุษย์สังคมวัฒนา อาคาร 25 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ 

โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิจาก 5 หน่วยงานมาเเลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน คือ

  1. นายสิทธิชัย สุดสวาท ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานบุรีรัมย์
  2. คุณไขแสง ซอกรัมย์ สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.)
  3. นายปฐม นิ่มหัตถา วิทยาลัยชุมชนบุรีรัมย์
  4. นายอาทิตย์ จำปาตุม วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีบุรีรัมย์
  5. ผศ.ดร.รพีพรรณ พงษ์อินทร์วงศ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน

 

ซึ่งมีผู้เข้าร่วมสัมมนาเป็นกรรมการหลักสูตรโครงการ U2T กรรมการโครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น เเละผู้ปฏิบัติโครงการ U2T จำนวน 50 คน ซึ่งเป็นผู้พัฒนาหลักสูตรระยะสั้นของคณะมนุษยศาสตร์ฯ จำนวน 37 หลักสูตร โดยหลักสูตรทั้งหมดนี้ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต (lifelong learning) เเละตอบโจทย์เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs)

โครงการการแปรรูปขนมเพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชน ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

  1. ชุมชนที่เข้าร่วมกิจกรรมของโครงการมีกี่หมู่บ้านของแต่ละตำบล มีทั้งหมด 14 หมู่บ้าน

  1. ผลผลิตและนวัตกรรมที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการ

ผลผลิต

จากเดิมมีกลุ่มวิสาหกิจชุมชนอยู่แล้ว เช่น กลุ่มจักสาน  กลุ่มสัมมาชีพ โดยภาพรวมของตำบลผลผลิตที่เกิดจากโครงการ จะเป็นผลิตภัณฑ์ขนมแปรรูป ตัวอย่างเช่น ขนมทองม้วนแม่ทองพูน และขนมกล้วยแม่อารมณ์ ขนมบ้าบิ่นแม่มาลี

นวัตกรรมการพัฒนา

1) เครื่องหมายการค้าแสดงสัญลักษณ์ทางการค้า (Trademark Logo Design)

2) รูปลักษณ์ผลิตภัณฑ์ รูปแบบบรรจุภัณฑ์จากเดิมจะบรรจุด้วยพลาสติกใส ปรับเปลี่ยนเป็นถุงซิปล็อค เพื่อการเก็บรักษาที่นานขึ้นและเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้ผลิตภัณฑ์

3) การพัฒนาสูตรขนมให้มีความหลากหลาย ตัวอย่างเช่น การพัฒนาสูตรขนมบ้าบิ่น จากการพัฒนาสิ่งที่เห็นได้อย่างชัดเจน คือ ปริมาณน้ำมันที่ลดลงทำให้สามารถทานได้มากขึ้น โดยความหนึบของตัวแป้งทำให้เคี้ยวเพลิน เนื่องจากการใช้กระทะเซฟล่อนทำให้ลดการใช้น้ำมันลง ช่วยให้ประหยัดทรัพยากรและดีต่อสุขภาพ

  1. ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นในระหว่างดำเนินโครงการ

3.1 การตลาดที่ยังไม่กว้างขวาง ผลิตภัณฑ์ขนมไทยแปรรูปนี้มีการวางจำหน่ายอยู่ในขอบเขตของชุมชนตนเองและชุมชนใกล้เคียง ในด้านการตลาดที่ยังไม่กว้างขวาง การผลิตตามยอดการสั่งซื้อ

3.2 โลโก้ผลิตภัณฑ์ที่ยังไม่เป็นเอกลักษณ์ เดิมผลิตภัณฑ์นั้นมีฉลากผลิตภัณฑ์ แต่เป็นเพียงข้อมูลขนมและข้อมูลการติดต่อ ตราหรือสัญลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ยังไม่มี

3.3 ความร่วมมือของชุมชนจากการลงพื้นที่ปฏิบัติ เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่มีการแพร่ระบาดอย่างหนักทำให้มีประชาชนติดเชื้อจำนวนมากและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในช่วงการปฏิบัติงานช่วงแรก ทำให้การลงพื้นที่ปฏิบัติงานช่วงแรกเป็นไปได้ค่อนข้างยาก

  1. แนวทางและวิธีแก้ปัญหา/อุปสรรค ที่เกิดขึ้น

4.1 วางแผนการตลาด โดยจัดการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อ Social Media, Facebook, Line ชื่อว่า “บ้านสิงห์ ของดีบอกต่อ” พร้อมอบรมวิธีการใช้และเทคนิคการประชาสัมพันธ์ให้แก่ชุมชน

4.2 ออกแบบโลโก้ผลิตภัณฑ์ มีการออกแบบผลิตภัณฑ์หลัก 3 อย่าง ได้แก่ ผลิตภัณฑ์แปรรูปกล้วยของแม่อารมณ์ ขนมทองม้วนของแม่ทองพูน หมู่ 2 บ้านหนองขาม และขนมบ้าบิ่นของแม่มาลี หมู่ 12 บ้านหนองม่วง

4.3 นำสื่อเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่ทำให้การปฏิบัติงานประสบกับปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ได้มีการนำสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ประโยชน์ในการอบรมและการจัดกิจกรรมเพื่อให้ความรู้

  1. กิจกรรมที่ดำเนินการสามารถตอบโจทย์ BCG และ SDGs ข้อไหนจะต่อยอดกิจกรรมให้เกิดผลผลิต/นวัตกรรม อะไรและอย่างไร

BCG in Action : The New Sustainable Growth Engine (Bio-Circular-Green Economy) โมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

B = Bio technology เกี่ยวกับเทคโนโลยีชีวภาพ การประดิษฐ์คิดค้น

C = Circular economy เศรษฐกิจหมุนเวียน

G = Green economy เศรษฐกิจสีเขียว เกี่ยวกับการจัดการสิ่งแวดล้อม

BCG คืออะไร

BCG Economy หรือ เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy) คือ โมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นแนวคิดการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมไปยกระดับความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืนให้กับ 4 อุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-curves) ได้แก่ อุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร อุตสาหกรรมพลังงานและวัสดุ อุตสาหกรรมสุขภาพและการแพทย์ และอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการ โดยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมจะเข้าไปช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับผู้ผลิตที่เป็นฐานการผลิตเดิม เช่น เกษตรกรและชุมชน ตลอดจนสนับสนุนให้เกิดผู้ประกอบการที่ผลิตสินค้าและบริการที่มีมูลค่าเพิ่มสูงหรือนวัตกรรม

นอกจากนี้ ยังสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจหมุนเวียน คือ สามารถออกแบบผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิตเพื่อให้เกิดของเสียน้อยที่สุด (Eco-design & Zero-Waste)  ส่งเสริมการใช้ซ้ำ (Reuse, Refurbish, Sharing) และให้ความสำคัญกับการจัดการของเสียจากการผลิตและบริโภค ด้วยการนำวัตถุดิบที่ผ่านการผลิตและบริโภค แล้วเข้าสู่กระบวนการแปรสภาพเพื่อกลับมาใช้ใหม่ (Recycle, Upcycle) ซึ่งต่างจากระบบเศรษฐกิจแบบดั้งเดิม ที่เน้นการใช้ทรัพยากร การผลิต และการสร้างของเสีย (Linear Economy)

จากคำอธิบายข้างต้น จะเห็นได้ว่าตามหลักการของทั้งสามการพัฒนาเศรษฐกิจได้สอดรับกับ ‘ความยั่งยืน’ ตาม SDGs ไม่ว่าจะเป็น

  • #SDG2สนับสนุนเกษตรกรรมที่ยั่งยืน ความมั่นคงทางอาหาร
  • #SDG9ปรับปรุงอุตสาหกรรมให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และมีการใช้เทคโนโลยี นวัตกรรม ตลอดจนการวิจัย
  • โดยให้มีการผลิตและบริโภคที่ยั่งยืน มีความรับผิดชอบ ใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพตลอดห่วงโซ่คุณค่า มีการจัดการของเสียจากระบบ ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนตาม#SDG12
  • เพื่อให้เกิดการส่งเสริมรายได้และงานที่ดี ยกระดับความสามารถในการแข่งขัน และสร้างความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจตาม#SDG8
  • ซึ่งจะช่วยลดความเหลื่อมล้ำตาม#SDG10
  • พร้อมกับมีการปกป้องสิ่งแวดล้อมและอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพทางบกและทางทะเลตาม#SDG14 และ #SDG15
  • ไปจนถึงการมีน้ำที่เพียงพอ#SDG6
  • มีพลังงานสมัยใหม่ที่ยั่งยืน#SDG7
  • และ#SDG13 พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
  • ที่สำคัญคือจะต้องมี#SDG17 ความร่วมมือจากทุกภาคส่วนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
  • โดยที่ภาครัฐและสถาบันทางสังคมมีประสิทธิผล รับผิดชอบ และครอบคลุม#SDG16
  • เพื่อให้ท้ายที่สุดแล้ว ประชาชนมีความเป็นอยู่และสุขภาวะที่ดีตาม#SDG3

วิสัยทัศน์ 10 ปี

“เปลี่ยนข้อได้เปรียบ (Comparative Advantage) ที่ไทยมีจากความหลากหลายทางชีวภาพและวัฒนธรรม ให้เป็นความสามารถในการแข่งขัน (Competitive Advantage) ด้วยนวัตกรรม เพื่อให้เกิดเศรษฐกิจ BCG ที่เติบโต แข่งขันได้ในระดับโลก เกิดการกระจายรายได้ลงสู่ชุมชน ลดความเหลื่อมล้ำ ชุมชนเข้มแข็ง มีความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาที่ยั่งยืน”

สำคัญอย่างไร

BCG เป็นแนวทางการพัฒนาที่สอดรับกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ของสหประชาชาติอย่างน้อย 5 เป้าหมาย ได้แก่ การผลิตและบริโภคที่ยั่งยืน การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การอนุรักษ์ความหลากหลาย ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน การลดความเหลื่อมล้ำ อีกทั้งยังสอดรับกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงซึ่งเป็นหลักสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย ซึ่งตำบลบ้านสิงห์ มีความสอดคล้องกับ C (Circular Economy) เนื่องจากภายในตำบลบ้านสิงห์เป็นชุมชนที่มีทรัพยากรวัตถุดิบเพื่อการหมุนเวียนเพื่อให้เกิดการสร้างรายได้ในชุมชน ซึ่งต่างจากระบบเศรษฐกิจแบบดั้งเดิม ที่เน้นการใช้ทรัพยากร การผลิต และการสร้างของเสีย (Linear Economy)

SDGs

เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) นั้นมีทั้งหมด 17 เป้าหมาย

ซึ่งสามารถจำแนกออกได้เป็น 5 กลุ่ม ประกอบด้วย

  1. กลุ่ม People ที่ว่าด้วยเรื่องคุณภาพชีวิตของผู้คน (เป้าหมายที่ 1, 2, 3, 4, 5)
  2. กลุ่ม Prosperity ที่ว่าด้วยเรื่องความเจริญทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนและครอบคลุม (เป้าหมายที่ 7, 8, 9, 10, 11)
  3. กลุ่ม Planet ที่ว่าด้วยเรื่องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (เป้าหมาย 6, 12, 13, 14, 15)
  4. กลุ่ม Peace ที่ว่าด้วยเรื่อง สันติภาพ สถาบันที่เข้มแข็ง และความยุติธรรม (เป้าหมาย 16)
  5. กลุ่ม Partnership ที่ว่าด้วยเรื่องการเป็นหุ้นส่วนเพื่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (เป้าหมาย 17)

เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs)

เป้าหมายที่ 1 : ขจัดความยากจน

เป้าหมายที่ 2 : ยุติความหิวโหย บรรลุความมั่นคงทางอาหารและยกระดับโภชนาการสำหรับทุกคนในทุกวัย

เป้าหมายที่ 3 : สร้างหลักประกันว่าคนมีชีวิตที่มีสุขภาพดีและส่งเสริมสวัสดิภาพสำหรับทุกคนในทุกวัย

เป้าหมายที่ 4 : สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต

เป้าหมายที่ 5 : บรรลุความเท่าเทียมระหว่างเพศ และเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่สตรีและเด็กหญิง

เป้าหมายที่ 6 : สร้างหลักประกันว่าจะมีการจัดให้มีน้ำและสุขอนามัยสำหรับทุกคนและมีการบริหารจัดการที่ยั่งยืน

เป้าหมายที่ 7 : สร้างหลักประกันให้ทุกคนสามารถเข้าถึงพลังงานสมัยใหม่ที่ยั่งยืนในราคาที่ย่อมเยา

เป้าหมายที่ 8 : ส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่อเนื่อง ครอบคลุม และยั่งยืน การจ้างงานเต็มที่ มีผลิตภาพ และการมีงานที่เหมาะสมสำหรับทุกคน

เป้าหมายที่ 9 : สร้างโครงสร้างพื้นฐานที่มีความทนทาน ส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ครอบคลุมและยั่งยืน และส่งเสริมนวัตกรรม

เป้าหมายที่ 10 : ลดความไม่เสมอภาคภายในประเทศและระหว่างประเทศ

เป้าหมายที่ 11 : ทำให้เมืองและการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์มีความครอบคลุม ปลอดภัย มีภูมิต้านทานและยั่งยืน

เป้าหมายที่ 12 : สร้างหลักประกันให้มีรูปแบบการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน

เป้าหมายที่ 13 : เร่งต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบที่เกิดขึ้น

เป้าหมายที่ 14 : อนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากมหาสมุทร ทะเล และทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

เป้าหมายที่ 15 : ปกป้อง ฟื้นฟู และสนับสนุนการใช้ระบบนิเวศบนบกอย่างยั่งยืน จัดการป่าไม้อย่างยั่งยืนต่อสู้การกลายสภาพเป็นทะเลทราย หยุดการเสื่อมโทรมของที่ดินและฟิ้นสภาพกลับมาใหม่ และหยุดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ

เป้าหมายที่ 16 : ส่งเสริมสังคมที่สงบสุขและครอบคลุมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ให้ทุกคนเข้าถึงความยุติธรรมและสร้างสถาบันที่มีประสิทธิผลรับผิดชอบและครอบคลุมในทุกระดับ

เป้าหมายที่ 17 : เสริมความเข้มแข็งให้แก่กลไกการดำเนินงานและฟื้นฟูสภาพหุ้นส่วนความร่วมมือระดับโลกสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืน

ภาพบรรยากาศ

วันเสาร์ที่  27 พฤศจิกายน  2564 การลงพื้นที่ปฏิบัติงาน เพื่อสำรวจข้อมูลและจัดเก็บข้อมูลลงใน U2T Tracker ซึ่งมีรายละเอียดการมอบหมายงานประจำเดือนกันยายน ดังนี้

  1. การเก็บข้อมูลกลุ่มที่พักอาศัย

               1.1.1 กลุ่มบัณฑิตจบใหม่ เก็บข้อมูลที่พักอาศัยจำนวน 50 หลังคาเรือน

               1.2.1 กลุ่มประชาชน เก็บข้อมูลที่พักอาศัยจำนวน 30 หลังคาเรือน

               1.3.1 กลุ่มนักศึกษา เก็บข้อมูลที่พักอาศัยจำนวน 20 หลังคาเรือน

  1. การเก็บข้อมูลกลุ่มศาสนสถาน มอบหมายให้กลุ่มประชาชนเป็นผู้รับผิดชอบ
  2. การเก็บข้อมูลกลุ่มโรงเรียนและตลาด มอบหมายให้กลุ่มบัณฑิตจบใหม่เป็นผู้รับผิดชอบโดยมีการแบ่งกลุ่มบัณฑิตจบใหม่ออกเป็น 2 กลุ่ม เพื่อเก็บข้อมูล

การเก็บข้อมูลกลุ่มนักศึกษา มีจำนวน 5 คน โดยแบ่งกันสำรวจดังนี้

บ้านหนองขาม จำนวน 2 คน และ

บ้านหนองตาชี จำนวน 3 คน ตามที่ได้ลงพื้นที่สำรวจบ้านหนองตาชี มีรายละเอียดการเก็บข้อมูลดังต่อไปนี้

แบบสำรวจชุดที่ 1 สำหรับที่พักอาศัย

  1. มีการประเมินตนเองและบุคคลที่อาศัยอยู่ในครัวเรือนว่า
  • เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อหรือหากติดเชื้อแล้วจะมีอาการรุนแรงหรือไม่ เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเรื้อรัง หรือไม่
  • ในการทำงานหรือการใช้ชีวิตประจำวันมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ เช่น บุคลากรทางการแพทย์ ผู้ปฏิบัติงานในสถานบันเทิง/สถานบริการต่างๆ เป็นต้น หรือไม่
  • ตนเองหรือบุคคลในครัวเรือนมีการเดินทางกลับจากพื้นที่เสี่ยงหรือพื้นที่ระบาด หรือไม่
  1. มีการสังเกตอาการของตนเองและบุคคลที่อาศัยอยู่ร่วมกัน หากพบว่ามีไข้ ร่วมกับไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส หายใจเร็ว หายใจเหนื่อย หรือหายใจลำบากอย่างใดอย่างหนึ่ง และอาจมีอาการ ท้องเสียร่วมด้วย ให้รีบไปพบแพทย์ทันที หรือไม่
  2. มีการดูแลสุขอนามัยด้วยการล้างมือบ่อย ๆ ด้วยน้ำและสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์โดยเฉพาะก่อนเตรียม ปรุงอาหาร ก่อนรับประทานอาหาร หลังเข้าห้องน้ำ หลังหยิบจับสิ่งสกปรก หลังเยี่ยมผู้ป่วยในสถานพยาบาล หลังสัมผัสหรือเล่นกับสัตว์เลี้ยง และหลังกลับจากนอกบ้าน หรือไม่
  3. มีการรับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ และใช้ช้อนส่วนตัว หรือไม่
  4. ไม่ใช้สิ่งของเครื่องใช้ส่วนตัวร่วมกัน เช่น ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว ช้อน แก้วน้ำ หลอดดูดน้ำ หรือไม่
  5. เมื่อกลับจากการทำภารกิจหรือกิจกรรมนอกบ้าน ให้ล้างมือ ชำระร่างกาย เปลี่ยนเครื่องแต่งกายทันที หรือไม่

การปฏิบัติงานประจำเดือนธันวาคม 2564 มีรายละเอียดดังนี้

วันพฤหัสบดีที่ 2 ธันวาคม 2564 อาจารย์ประจำหลักสูตรได้นัดหมายประชุมออนไลน์ เวลา 18.20 น. ผ่าน Google Meet  ห้อง https://meet.google.com/sgr-avsx-kzz?pli=1&authuser=0 รายละเอียดในการประชุมอาจารย์หัวหน้าหลักสูตรได้ชี้แจงและมอบหมายให้ผู้ปฏิบัติงานดำเนินการทำการถอดบทเรียน TSI ตำบลบ้านสิงห์ โดยแบ่งกลุ่มผู้ปฏิบัติงานคือ บัณฑิตจบใหม่และประชาชน ออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ โดยดำเนินการทำข้อมูลเป็น TP-MAP ดังนี้

วันศุกร์ที่ 3 ธันวาคม 2564  อาจารย์ประจำหลักสูตรได้มอบหมายงานการถอดบทเรียนในการปฏิบัติงาน โดยแบ่งกลุ่มออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้ กลุ่มที่ 1 มีกลุ่มบัณฑิต 6 คน และกลุ่มประชาชน 3 คน กลุ่มที่ 2 มีกลุ่มบัณฑิต 5 คน และกลุ่มประชาชน 3 คน 

 

ศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ลิงค์    https://www.tpmap.in.th/2562/310416

และส่งงานภายในวันอาทิตย์ที่ 5 ธันวาคม 2564 ก่อนเวลา 17.00 น.

วันจันทร์ที่ 6 ธันวาคม 2564 เวลา 12.00 – 15.00 น. เข้าร่วมกิจกรรม “จิตอาสา ทำดีด้วยหัวใจ” ถวายพระราชกุศล “วันชาติ” “วันพ่อแห่งชาติ” 5 ธันวาคม 2564 เป็นวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 แลสหประชาชาติ (UN) ได้ประกาศอย่างเป็นทางการให้วันที่ 5 ธันวาคมของทุกปี เป็น “วันดินโลก” (World Soil Day) เพื่อใช้เป็นโอกาสในการขับเคลื่อนกิจกรรมการรณรงค์และเผยแพร่ความรู้ทางด้านดิน และสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของดิน ทั้งในระดับประเทศและระดับโลกต่อมนุษยชาติและสภาพแวดล้อมอย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง

กิจกรรม “จิตอาสา ทำดีด้วยหัวใจ” โดยทางนายกองค์การบริหารส่วนตำบล  และสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล พร้อมทุกภาคส่วนราชการ ประชาชน ทั้ง 14 หมู่บ้าน และผู้ปฏิบัติงาน U2T  ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อร่วมน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นอันหาที่สุดมิได้จำนวนหลายหน่วยงานอย่างพร้อมเพียง  และเพื่อส่งเสริมการพัฒนาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรในชุมชนท้องถิ่น ณ วัดโพธิ์คงคา ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งมีกิจกรรมปรับภูมิทัศน์ศาสนาสถานหรือสถานที่สาธารณะ หรือกิจกรรมสาธารณประโยชน์และสาธารณกุศลอื่น ๆ เพื่อให้การจัดกิจกรรมดังกล่าวเป็นไปด้วยความเรียบร้อย  ให้จำกัดจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมและดำเนินการตามมาตรการ ส่วนด้านสาธารณสุขเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อย่างเคร่งครัดต่อไป

ลักษณะงาน

  1. กวาดใบไม้บริเวณลานวัด
  2. ถางหญ้าบริเวณลานวัด
  3. เก็บขยะ
  4. เผาขยะ
  5. ล้างห้องน้ำ

ภาพบรรยากาศ

แหล่งอ้างอิงในการศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติม

  1. SDG MOVE. (2563).  ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับ SDGs – SDG Move. สืบค้น 7 ธันวาคม 2564,  จาก https://www.sdgmove.com/aboutsdgs/
  2. SDG MOVE. (2564).  SDG Updates | เมื่อโลกต้องการโมเดลเศรษฐกิจใหม่ ไทยจึงมี ‘BCG’ (Bio-Circular-Green Economy) เป็นวาระแห่งชาติปี 2564. สืบค้น 7 ธันวาคม 2564,  จาก https://www.sdgmove.com/2021/04/14/bcg-economy-model-trend-th-national-agenda-2021/
  3. ข่าวสารเพื่อการปรับตัวก้าวทันเทคโนโลยีอุตสาหกรรม. (2555).  การออกแบบตราสัญลักษณ์หรือโลโก้เพื่อธุรกิจ (Logo Design for Business). สืบค้น 7 ธันวาคม 2564,  จาก http://www.thailandindustry.com/onlinemag/view2.php?id=643&section=4&issues=27
  4. สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ. (2563).  BCG in Action : The New Sustainable Growth Engine. สืบค้น 7 ธันวาคม 2564,  จาก https://www.nxpo.or.th/th/bcg-economy/

 

 

 

 

 

อื่นๆ

เมนู