บทความประจำเดือนธันวาคม

           ข้าพเจ้านางสาวรัชฤทัย  สมใจหวัง   ประเภทบัณฑิตจบใหม่   ทำงานภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์   เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ

ซึ่งในการลงพื้นที่ครั้งที่ 2 ของเดือนธันวาคมนี้ เป็นการลงชุมชนบ้านโคกเมือง หมู่ 9 ซึ่งการลงพื้นที่ครั้งนี้เพื่อศึกษาภูมิปัญญาการทอผ้า ลวดลายผ้าไหมมีการเลียนแบบจากธรรมชาติความเป็นอยู่ของชุมชนมาเป็น ลวดลายผ้าไหมเช่น ลายดอกแก้ว ลายด่างแหลายพรม 5 ลายตะขอ ลายผักแว่น ลายขั้นบันไดลิง เป็นต้น     จึงทำให้เกิดภูมิปัญญาท้องถิ่นและสืบทอดต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่นจนถึงปัจจุบัน เพื่อสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน ด้วยวัตถุดิบที่มีอยู่ในชุมชน ใช้ภูมิปัญญาของคนในชุมชนเพื่อสร้างความเข้มแข็ง ให้กับเศรษฐกิจชุมชน เช่น ภูมิปัญญาการทอผ้า ภูมิปัญญาการจักสาน ภูมิปัญญาการทอเสื่อกก

ชื่อกลุ่มสตรีทอผ้าไหมบารายไหมไทย หมู่ 9 บ้านโคกเมือง ตำบลจรเข้มาก อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ ตั้งอยู่บ้านเลขที่ 299 หมู่ 9 เราได้สอบถามข้อมูลต่าง ๆ จากหัวหน้ากลุ่มสตรีทอผ้า คุณป้ามะลิวัลย์ สีลา ท่านได้ให้ข้อมูลมาว่า ผ้าผืนหนึ่ง ยาว 2 เมตร กว้าง 1 เมตร ทั้งมัดย้อมทั้งทอ รวมแล้วใช้เวลา 1 อาทิตย์ในการทำ ส่วนผลผลิตราคาของผ้าจะอยู่ที่ 2500-3000 บาท และลวดลายของผ้าไหมที่ทอ มีลายมากมายที่บ่งบอกถึงความเป็นบุรีรัมย์ อาทิ เช่น ลายชอผักกูด ลายนกกระเรียน ลายปราสาท เป็นต้น

โดยส่วนใหญ่การทอผ้าถือเป็นอาชีพหลักและอาชีพเสริมของสตรีในหมู่บ้านโคกเมือง ซึ้งผ้าไหมถือเป็นเอกลักษณ์สำคัญของจังหวัดบุรีรัมย์อีกด้วย ข้อมูลโดยรวมคือ บ้านโคกเมืองเป็นชุมชนที่นอกจากจะโดดเด่นในด้านสถานที่ท่องเที่ยวแล้ว ยังมีชื่อเสียงในด้านการผลิตผ้าไหมอีกด้วย และยังมีผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปจากเสื่อกก และผลิตภัณฑ์เสื่อกกยกลายปราสาทเมืองต่ำ ซึ่งมีที่เดียวในประเทศไทย วางจำหน่ายที่ศูนย์จำหน่ายสินค้า OTOP บ้านโคกเมืองเริ่มแรกมีการรวมกลุ่มก่อตั้งเป็นกลุ่มพัฒนาสตรี บ้านโคกเมืองหมู่ที่ 9 ปัจจุบันเริ่มพัฒนาและก่อตั้งกลุ่มบารายไหมไทยขึ้นมา บ้านโคกเมืองขึ้นชื่อเรื่องผลิตภัณฑ์OTOP จัดเป็นเป็นมาตรฐานสากล ปี 2550 ได้รับรางวัลหมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม  ที่ตั้งศูนย์จำหน่ายOTOP อยู่ที่หมู่ 9 ตำบลจรเข้มาก อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์

สรุปกิจกรรม  ในครั้งนี้ ทีมงานตำบลจระเข้มากทำให้เกิดความสามัคคีของคนในชุมชน ความสามารถและวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนในชุมชน ซึ่งจะเห็นว่าตำบลจระเข้มากเป็นตำบลที่น่าอยู่ ชาวบ้านรักใคร่กลมเกลียวกัน   ช่วยกันพัฒนาชุมชนอย่างต่อเนื่อง ทีมงานต้องขอบคุณผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกคนขอบคุณชาวบ้านตำบลจระเข้มาดที่ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี และหวังว่าข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาเกี่ยวกับตำบลจรเข้มาก และประโยชน์ต่อการพัฒนาความเป็นอยู่ที่ดีของชาวบ้าน เศรษฐกิจสังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนของชุมชนต่อไป

 

 

 

 

อื่นๆ

เมนู