โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ
(1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย)
บทความรายงานผลการปฏิบัติงานประจำเดือนกุมภาพันธ์
โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย) จัดทำขึ้นเพื่อพัฒนาระบบเศรษฐกิจในชุมชน โดยการสร้างอาชีพตามความต้องการของชุมชน ทำให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อาทิ การพัฒนาสินค้าและบริการชุมชน การยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนหรือสินค้าโอทอป (OTOP) รวมถึงการส่งเสริมและสนับสนุนวิสาหกิจชุมชน และเอสเอ็มอี (SMEs) ในพื้นที่ โดยมีการกำหนดเป้าหมายในการพัฒนา 16 เป้าหมาย ดิฉัน นางสาวปริยา ชำรัมย์ ได้รับหน้าที่ให้ลงพื้นที่สำรวจข้อมูลเบื้องต้นในตำบลร่อนทองตามเป้าหมายที่ 2 ได้รับการจัดสรรทรัพยากรอย่างเป็นธรรม รวมทั้งดำเนินการสอบถามตามแบบสำรวจเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคติดต่ออุบัติใหม่ ใน 5หมู่บ้าน คือ ชุมชนบ้านเสม็ด บ้านโคกเมี๊ยะ บ้านหนองแม่มด บ้านขาม และบ้านปรือเกียน
จากการลงพื้นที่สำรวจทรัพยากรเบื้องที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการพัฒนาตำบลร่อนทอง พบว่า มี 4 องค์กรหลัก ได้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.), ท้องที่, กลุ่มองค์กร, และหน่วยงานรัฐ ซึ่งอปท. มีสมาชิกประกอบด้วย สภาอปท. 36 คน สำนักปลัด 20 คน การศึกษาและวัฒนธรรม 16 คน และสวัสดิการ 3 คน บุคลากรในท้องที่ ประกอบด้วย คณะกรรมการหมู่บ้าน 180 คน และคณะกรรมการพัฒนาตำบล 16 คน กลุ่มองค์กร ประกอบด้วย กลุ่มอาชีพ 20 คน วิสาหกิจชุมชน 38 คน กองทุนหมู่บ้าน 360 คน และกลุ่มออมทรัพย์ฯ 650 คน หน่วยงานรัฐ ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่ของรัฐ 119 คน และข้าราชการครู 84 คน ในตำบลร่อนทองมีทั้งหมด 18 หมู่บ้าน มีสถานที่สำคัญประกอบด้วย โรงเรียน 9 แห่ง และศูนย์เด็กเล็ก 4 แห่ง ศาสนาสถานที่สำคัญ คือ ป่าภูเขาทอง และมีสถานที่สำคัญ คือท่าอากาศยานบุรีรัมย์ เป็นสนามบินท้องถิ่นทำการบินภายในประเทศ มีทรัพยากรป่าชุมชนที่ได้รับขึ้นทะเบียน 2 แห่ง ได้แก่ ป่าชุมชนบ้านกระทุ่ม และป่าชุมชนบ้านปรือเกียน จากการสำรวจเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคโควิด19 พบว่าชาวบ้านส่วนใหญ่ยังไม่ตระหนักถึงการป้องกันโรค ยังใช้ชีวิตปกติในชุมชน หากออกนอกพื้นที่จึงจะมีการป้องกันตนเองโดยการสวมหน้ากากอนามัยและใช้เจลแอลกอฮอล์ตามจุดบริการ
จากการลงพื้นที่เก็บข้อมูล ได้มีการพบปะกับผู้นำชุมชนบางส่วน พบว่า ในตำบลร่อนทอง ชาวบ้านมีการตั้งกลุ่มทำน้ำพริก และทอผ้าไหม แต่ยังไม่มีการรวมกลุ่มอย่างชัดเจน และยังไม่มีการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่น่าดึงดูดผู้บริโภคและยังไม่มีการจด อย. ให้ถูกต้อง ในการเก็บข้อมูลในองค์การบริหารส่วนตำบลร่อนทอง เจ้าหน้าที่ให้การต้อนรับเป็นอย่างดี และยินดีจัดหาข้อมูลให้ตามที่ต้องการ สำหรับการลงพื้นที่สอบถามชาวบ้าน ส่วนใหญ่ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี แต่มีบางท่านที่ยังไม่ค่อยเข้าใจในโครงการ ซึ่งสาเหตุมาจากการสื่อสารข้อมูลไม่ครบถ้วน และไม่มีการจัดประชุมชี้แจงให้เข้าใจในจุดประสงค์ของโครงการ
ภาพประกอบกิจกรรม