บทความการปฏิบัติงานของผู้ถูกจ้างงาน เดือนสิงหาคม
ข้าวพเจ้านางสาวชลธิชา ดุจจานุทัศน์ ผู้ถูกจ้างงานประเภท นักศึกษา ตำบลปราสาท (NS05) อำเภอบ้านด่าน จังหวัดบุรีรัมย์ เนื่องจากทีมปฏิบัติงานตำบลปราสาทได้มีการจัดโครงการอบรมหนุนเสริมการนำทรัพยากรในชุมชนให้เกิดประโยชน์สูงสุด ขึ้นในวันที่ 4 กรกฎาคม2564 ณ บ้านบุ ตำบลปราสาท อำเภอบ้านด่าน จังหวัดบุรีรัมย์ โดยทางโครงการจัดทำการสาธิตวิธีการทำปุ๋ยยให้กับผู้เข้าร่วมโครงการ 3 วิธีดังนี้
1.จุลินทรย์สังเคราะห์แสง
วัสดุ
- น้ำจากแล่งธรรมชาติ
- ขวดน้ำขนาด 1.5 ลิตรห
- ไข่ไก่ 1 ฟอง
- น้ำปลายี่ห้อใดก็ได้
- ถ้วย,ช้อนโต๊ะ
วิธีทำ ตอกไข่ใส่ถ้วยแล้วเติมน้ำปลาลง 1 ช้อนโต๊ะ คนให้เข้ากัน นำน้ำใส่ขวดขนาด 1.5 ลิตรไปตากแดดประมาณ 4-5 วัน ก่อนเติมไข่ไก่ที่เตีรยมไว้ลงไป 1 ช้อนโต๊ะแล้วนำไปตั้งไว้บริเวณกลางแจ้งที่มีแดดส่องถึงทุกวัน
2. จุลินทรีย์หน่อกล้วย
วัสดุ
- หน่อกล้วย เอาพร้อมราก เง้า ของหน่อกล้วย สูงไม่เกิน 1 เมตร 3 กิโลกรัม
กากน้้าตาล 1 กิโลกรัม - น้ำฝนหรือน้ำประปาที่ไม่มีคลอรีน 3 ลิตร
- EM จำนวน 3 ฝา
- ถังพลาสติกพร้อมฝาปิด 1 ใบ
วิธีทำน้าหน่อกล้วยที่ได้มาหั่นเป็นแว่นบางๆ ต้าหรือบดให้ละเอียด จ้านวน 3 กิโลกรัม
น้ามาคลุกกับกากน้้าตาล จ้านวน 1 กิโลกรัม คลุกเคล้าให้เข้ากัน น้าใส่ถาด หมักไว้ 7 วัน คนทุกวัน
เช้า – เย็น พอถึง 7 วัน น้ามาคั้นเอาแต่น้้ามาใช้ ใส่ถังปิดฝาให้สนิท-เก็บได้นาน
3. ปุ๋ยหมักจากมูลสัตว์ (แบบกลับกอง)
วัสดุ
- มูลสัตว์ 1 กระสอบปุ๋ย
- แกลบ 1 กระสอบปุ๋ย (หรือเศษพืชแห้ง)
- สารเร่งซุปเปอร์ พด.1 1 ซอง
วิธีทำ นำมูลสัตว์กับแกลบมาผสมให้เข้ากันผสมสารเร่งซุปเปอร์ พด.1 ในน้ำ 20 ลิตร นาน 10-15 นาที เพื่อกระตุ้นให้จุลินทรีย์ออกจากสภาพที่เป็นสปอร์และพร้อมที่จะเกิดการย่อยสลายแล้วกองขนาดกว้าง 2 เมตร ยาว 30-40 เซนติเมตร นำสารเร่งซุปเปอร์ พด.1 ที่ผสมน้ำแล้วราดลงไปบนกอง ชั้นบนปิดด้วยมูลสัตว์ผสมแกลบที่เหลือเพื่อรักษาความชื้น
การดูแลรักษากองปุ๋ยหมัก
- รดน้ำรักษาความชื้นในกองปุ๋ย ให้ความความชื้นประมาณ 50-60%
- กลับกอง 10 วันต่อครั้ง เพื่อเพิ่มออกซิเจน ลดความร้อนในกองปุ๋ยและช่วยให้วัสดุคลุกเคล้ากัน
- การเก็บรักษากองปุ๋ยหมักที่เสร็จแล้ว คือเก็บในร่ม อย่าตากแดดและฝนจะทำให้ธาตุอาหารพืชในปุ๋ยสูญเสีบไปได้
ประโยชน์ของปุ๋ยหมัก
1. ช่วยเพิ่มปริมาณอินทรีย์วัตถุให้แก่ดิน ทำให้ดินอุดมสมบูรณ์
2. ช่วยเปลี่ยนสภาพของดินจากดินเหนียวหรือดินทรายให้เป็นดินร่วนทำให้สะดวกในการไถพรวน
3. ช่วยสงวนรักษาความชุ่มชื้นในดินได้ดีขึ้น
4. ทำให้การถ่ายเทอากาศในดินได้ดี
5. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ปุ๋ยเคมีและสามารถลดการใช้ปุ๋ยเคมีลงได้
6. ช่วยกระตุ้นให้ธาตุอาหารพืชบางอย่างในดินที่ละลายน้ำยากให้ละลายน้ำง่ายเป็นอาหารแก่พืชได้ดีขึ้น
7. ไม่เป็นอันตรายต่อดินแม้จะใช้ในปริมาณมาก ๆ ติดต่อกันนาน ๆ
8. ช่วยปรับสภาพแวดล้อม เช่น กำจัดขยะมูลฝอยและวัชพืชน้ำทั้งหลายให้หมดไป
และในวันที่ 16 สิงหาคม 2564 ทางทีมปฏิบัติงานตำบลปราสาทได้ลงสำรวจสอบถามติดตามผลโครงการอบรมหนุนเสริมการนำทรัพยากรในชุมชนให้เกิดประโยชน์สูงสุด จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ 60 คน
โดยจำนวนผู้ที่เข้าร่วมอบรมทำปุ๋ยอินทรีย์ 37 คน จำนวน 35 คน ทำปุ๋ยจากมูลสัตว์ (แบบกลับกอง) รองลงมาจำนวน 2 คน ทำจุลินทรีย์จจากหน่อกล้วยและจำนวนผู้ที่เข้าร่วมอบรมไม่ทำปุ๋ยอินทรีย์ 23 คน จำนวน 15 คน ไม่สะดวกเรื่องของเวลาที่ทำปุ๋ยอินทรีย์ จำนวน 6 คนไม่สะดวกที่จะทำปุ๋ยอินทรีย์ จำนวน 2 คน ไม่สะดวกทำเนื่องจากปัญหาทางสุขภาพ