ดิฉัน นางสาวกรรณิการ์ ปลายเนตร ประเภท บัณฑิตจบใหม่ เป็นผู้รับจ้างงานของตำบลสูงเนิน อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ MS01 (3) หลักสูตรการสร้างธนาคารน้ำใต้ดินเพื่อใช้ประโยชน์ทางด้านการเกษตรในครัวเรือนอย่างยั่งยืน
การปฏิบัติงานประจำเดือนสิงหาคม
เนื่องด้วยสถานการณ์โรคโควิด-19 ได้กลับมาระบาดซ้ำอีกครั้ง ทำให้ทีมงานเฝ้าระวังและทำงานแบบ WORK FROM HOME ก็คือทำงานที่บ้านและมีการประชุมออนไลน์ผ่านแอป Meet ในวันที่ 14 สิงหาคม 2564 ที่ผ่านมา เพื่อลดการพบปะซึ่งกันและกัน ลดการกระจายของเชื้อไวรัสโคโรน่าหรือโรคโควิด-19 แต่เดือนนี้ได้ปรึกษาหารือกันว่า สามารถลงพื้นที่ทำธนาคารน้ำใต้ดิน ให้ชาวบ้านหนองม่วง หมู่ 10 ได้ ซึ่งขอกล่าวตรงนี้เลยว่า ทีมงานที่ลงพื้นที่นั้นเป็นคนในพื้นที่โดยตรงไม่มีใครเดินทางมาจากต่างจังหวัดและไม่มีใครติดเชื้อโควิด-19 ทีมงานเราจึงได้ลง ทั้งนี้ทั้งนั้นทีมงานได้คำนึงถึงการปฏิบัติงานที่บ้านหนองม่วง เราต้องใส่แมสและดูแลตัวเองให้ดี เพื่อที่จะไม่ทำให้ชาวบ้านตื่นตกใจ ทางทีมก็ได้ลงมือทำทั้งหมด 10 หลุม ที่หัวหน้าโครงการได้วางแผนไว้
วันที่ 16 สิงหาคม 2564 ได้ลงพื้นที่ทำธนาคารน้ำใต้ดินแบบปิดเพื่อการเกษตรอย่างยั่งยืน เพื่อที่ชาวบ้านจะได้ทำเกษตร ปลูกพืชผัก สวนครัว ณ ตำแหน่งใกล้เคียงที่ทำธนาคารน้ำใต้ดินจะช่วยให้ดินชุ่มชื่น เป็นแหล่งกักเก็บน้ำไว้ น้ำที่ใช้ในครัวจะไม่ทำให้น้ำท่วมขัง
การปฏิบัติงานโครงการธนาคารน้ำใต้ดิน มีดังนี้
-ขุดหลุมทรงกลม ขนาดแล้วของแต่ละพื้นที่ ขนาดกว้าง 1 เมตร ยาว 1 เมตร ลึก 1.5 เมตร (ตามความเหมาะสมแต่ละพื้นที่)
-ตั้งท่อ PVC (ท่ออากาศ) ตรงกลางบ่อ 90 องศา พร้อมนำวัสดุ เศษอิฐ หิน ขนาดพอเหมาะใส่ลงในบ่อ (เศษวัสดุต้องไม่ปนเปื้อนสารเคมี) สูงประมาณ 1.30 เมตร
-นำผ้าตาข่ายมุ้งเขียวปูทับด้านวัสดุหยาบ (เป็นการกรองวัสดุที่ไหลมากับน้ำไม่ให้ลงไปในบ่อธนาคารน้ำใต้ดิน และป้องกันไม่ให้หินเกล็ดหล่นในช่องว่างของวัสดุหยาบ)
-นำหิน (3/4) โรยทับบนผ้ามุ้ง หรือ ผ้าสแลนจนเสมอปากบ่อ หนา 10-20 เซนติเมตร (ป้องกันเศษใบไม้ ใบหญ้า ตะกอนดิน ไม่ให้ลงไปอุดตันวัสดุหยาบ) เท่านี้ก็จะได้ธนาคารน้ำใต้ดิน(ระบบปิด) ไว้เพื่อบริหารจัดการ แก้ปัญหาน้ำขังได้
แค่นี้ก็ได้ธนาคารน้ำใต้ดินแบบปิดไว้เก็บกักน้ำ เพื่อลดปัญหาการท่วมขังหมู่บ้านแล้วจ้า…