ประวัติความเป็นมาของบ้านฉันเพล
เริ่มก่อตั้งเมื่อประมาณ ปี พ.ศ. 2503 หรือประมาณ 10 ปี คนกลุ่มแรกที่มาก่อตั้งคือ นายถั่ว บุญทวี นายไท อ่วงประโคน นายเอี่ยม จำประโคน โดยการอพยพแยกตัวมาจากบ้านหลักเนื่องจากชุมชนมีความแออัดและเป็นบริเวณโคกที่เหมาะแก่การอยู่อาศัยมีหนองน้ำอุดมสมบูรณ์ และมีเชื้อสายมาจาก บ้านนาเสือก อ. เมือง จังหวัดสุรินทร์ ต่อมาได้มีกลุ่มชาวส่วยลาวอพยพเข้ามาอาศัยกลายเป็นชุมชนใหญ่ ต่อมาได้มีพระธุดงค์เดินทางมาปักกลด ชาวบ้านได้นำอาหารไปถวายเพลแต่พระท่านไม่ฉันเพล จึงเรียกว่า บ้านฉันเพลนับแต่นั้นมา
สำหรับภาพรวมโดยทั่งไปของบ้านฉันเพล คือ ชาวบ้านมีอาชีพทางการเกษตรทำนา เลี้ยงสัตว์ และมีอาชีพใหม่ที่เกิดขึ้นเป็นทั้งอาชีพหลักและเสริมคือหัตถกรรมตะเกียบอาชีพของชาวบ้านตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันคือการทำนา และมีการทำไร่ปอ ไร่มัน ไร่อ้อย เป็นอาชีพเสริม แต่เนื่องจากสภาพดินเสื่อมโทรมจึงทำให้อาชีพเหล่านี้ได้เลิกไป
สภาพปัจจุบันของบ้านฉันเพล หมู่ที่2 ตำบลเขาดินเหนือ อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์
ในหมู่บ้านมีครัวเรือนทั้งสิ้น 131 ครอบครัว มีถนนลูกรัง มีอาณาเขตติดต่อกับบ้านหลัก ลักษณะหมู่บ้านปิด ถนนลูกรัง มีประชากรทั้งหมด……771……คน ชาย…..388……คน หญิง…..383…….คน จำนวนประชากรของหมู่บ้านส่วนใหญ่จะอยู่ในวัยแรงงาน คือ อายุ…..35 – 50………ปี
อาชีพหลักคือทำนา จากปี2540 นายทอง ดวงศรี ได้ไปฝึกหัดทำตะเกียบ ที่บ้านหนองบ้าน อ.ประโคนชัย และนำมาถ่ายทอด ให้ชาวบ้านได้ฝึกทำตะเกียบ สามารถเป็นรายได้เสริมที่ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น และมีการประกอบอาชีพเสริมอื่นๆ เช่น เย็บผ้าส่งโรงงาน โรงสีข้าวขนาดเล็ก การเลี้ยงสัตว์จำพวก ควาย วัว เป็ด ไก่ ปลา เพื่อใช้บริโภคในครัวเรือนถึงแม้ชาวบ้านจะมีที่ดินทำกินเป็นของ ตนเองเป็นส่วนใหญ่ และมีอาชีพเสริม แต่ชาวบ้านยังยากจนอยู่เนื่องจาก ราคาผลผลิตตกต่ำ และภาระหนี้สินของชาวบ้านมีจำนวนมาก
ด้านเศรษฐกิจ
สภาวะเศรษฐกิจของหมู่บ้านขึ้นอยู่กับผลผลิตทางการเกษตร และหัตถกรรมตะเกียบที่เป็นอาชีพเสริมควบคู่กับข้าวที่เป็นรายได้อันดับหนึ่งของหมู่บ้าน ข้าวที่ผลิตคือข้าวหอมมะลิ เนื่องจากราคาผลผลิตจะตกต่ำลงไปมาก
ทำให้ชาวบ้านลดการทำนา และหันมาทำอาชีพเสริมด้านหัตถกรรม เย็บผ้าส่งโรงงาน การเลี้ยงสัตว์ เช่น ควาย วัว เป็ด ไก่ ปลา เป็นการเลี้ยงไว้เพื่อบริโภคภายในครัวเรือน และใช้งาน จำหน่ายเป็นบางส่วน
สำหรับรายได้ของประชาชนในหมู่บ้านบ้านฉันเพล หมู่ที่2 ตำบลเขาดินเหนือ อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ ต่อปีในแต่ละครอบครัวโดยสรุปรวมทั้งหมดโดยประมาณ ดังนี้
ด้านวัฒนธรรม
ทั้งหมู่บ้านนับถือศาสนาพุทธ ภาษาที่ใช้ติดต่อสื่อสานกันคือภาษาพื้นบ้าน “ภาษาเขมร” มีภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสมุนไพร การจักสาน และประเพณีที่สำคัญภายในหมู่บ้าน คือ การเรือมตรด วันสาร์ทเขมรโดยมีการเซ่นไหว้บรรพบุรุษ ทำบุญหมู่บ้านทอดผ้าป่า แระเพณีบุญสงกรานต์ ,ประเพณีบุญเดือนสิบ ,งานบุญเข้าพรรษา ออกพรรษา ,งานทอดกฐินและงานบุญประเพณีอื่นๆ ตามความเชื่อของชาวพุทธ กล่าวโดยรวมแล้วชาวบ้านได้ดำเนินชีวิตตามแบบวัฒนธรรมที่เคยเป็นมาในอดีตและบางอย่างก็มีการปรับปรุงบ้างเพื่อให้เหมาะกับเหตุการณ์ที่เปลี่ยนไปตามสมัยน