ข้าพเจ้านายจิรวัฒน์ อิ่มบุญสุ ประเภทบัณฑิตจบใหม่ หลักสูตร: AG02 โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ มหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
หลักสูตร AG 02(02) ตำบลนาโพธิ์ อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์ ได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงานกับทีมงานและอาจารย์ประจำหลักสูตร ประจำเดือนมีนาคม 2564 เวลา ณ บ้านคอกวัว หมู่ 5 และบ้านโพธิ์พัฒนา หมู่ 13 ตำบลนาโพธิ์ อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์
จากการลงพื้นที่ ที่ได้รับมอบหมายทั้ง 2 หมู่บ้าน คือ บ้านคอกวัว หมู่ 5 และบ้านโพธิ์พัฒนา หมู่ 13 ตำบลนาโพธิ์ อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์ และสอบถามข้อมูลบริบทต่าง ๆ กับชาวบ้านในชุมชน โดยใช้แบบสอบถามจากส่วนกลาง (01) แบบสอบถามข้อมูลระดับบุคคล ครัวเรือนและชุมชน (02) แบบสอบถามเกี่ยวกับผลกระทบจากโรคโควิด-19 (06) แบบสำรวจเพื่อเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคติดต่ออุบัติใหม่
นั่นจึงทำให้ทราบถึงข้อมูลของชุมชน โดยเฉพาะบริบทด้านการประกอบอาชีพ การเกษตร ทำนา เลี้ยงสัตว์โดยจำแนกอาชีพในแต่ละหมู่บ้านได้ดังนี้
– บ้านคอกวัว หมู่ที่ 5 ตำบลนาโพธิ์ อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์
อาชีพหลักก็คือ การทำนา เลี้ยงสัตว์(จิ้งหรีด, วัว) ปลูกอ้อย ปลูกผัก ทอผ้าไหม
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
– บ้านโพธิ์พัฒนา หมู่ที่ 13 ตำบลนาโพธิ์ อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์
อาชีพหลักก็คือ การทำนา ปลูกผัก-ดอกไม้ ทอผ้าไหม
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
หมู่บ้านคอกวัวมีจุดอ่อนก็คือไม่มีแหล่งน้ำของชุมชน จึงทำให้ไม่สามารถรวมกลุ่มกันของคนในชุมชนเพื่อสร้างกลุ่มอาชีพได้ทำได้เพียงปลูกผักกินเองในแต่ละหลังคาเรือน แตกต่างจากหมู่บ้านโพธิ์พัฒนาที่มีแหล่งน้ำของชุมชนมีการรวมกลุ่มของเกษตรในหมู่บ้านปลูกผักปลูกดอกไม้ แต่มีการประกอบอาชีพที่หลากหลายกว่าอย่างการเพาะเลี้ยงจิ้งหรีดที่หมู่บ้านโพธิ์พัฒนายังไม่มี
แต่สิ่งที่เหมือนกันของทั้งสองหมู่บ้านนอกจากการทำนา และการทำการเกษตรแล้ว นั่นก็คือ การทอผ้าไหม โดยเฉพาะผ้าซิ่นตีนแดง ในอดีตมีความสำคัญในการสร้างรายได้ให้กับชุมชนเป็นอย่างมาก แต่ปัจจุบันด้วยปัญหาเศรษฐกิจ พิษของโรคระบาดโควิด-19 ทำให้การผลิต หรือตลาดที่รับซื้อได้ชะลอการสั่งซื้อผ้าไหมจากชาวบ้าน จึงให้ขาดรายได้ในส่วนของอาชีพนี้ไป
![]() |
![]() |