บทความประจำเดือน กรกฎาคม 2564 กลุ่ม AGO1(1) ผ้าไหมทอมือ
บ้านหนองดุม ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์
ดิฉันนางสาวดวงฤทัย อินทร์แก้ว ประเภท บัณฑิตจบใหม่ ทำงานภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ระยะเวลาโครงการ 11 เดือน เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ทีมตูมใหญ่ได้ผ่านเข้ารอบแข่งขัน 40 ทีมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ซึ่งในทีมได้นำเสนอ Creative economy (เศรษฐกิจสร้างสรรค์)การทอผ้าไหมทอมือบ้านหนองดุมว่ามีความสามารถที่จะพัฒนาได้กลุ่มผ้าทอมือบ้านหนองดุมเป็นกลุ่มที่มีกระบวนการผลิตที่ยังคงแบบดั่งเดิม ตั้งแต่การปลูกหม่อน เลี้ยงไหม จนถึงการทอผ้า และผ้าไหมยังเป็นศิลปกรรมสิ่งทอที่มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่น โดยเฉพาะในด้านความประณีตในกรรมวิธีการผลิต ที่ทำให้เนื้อผ้าไหมมีความเรียบสม่ำเสมอสวยงามและยังภูมิปัญญาที่มีสืบทอดกันมา จากรุ่นหนึ่งสู่อีกรุ่นหนึ่ง
กิจกรรมและแผนการดำเนินงานของโครงการ AG01(1) ต.ตูมใหญ่ อ.คูเมือง จ.บุรีรัมย์
- คณะผู้ปฏิบัติงาน AG01(1) ในการลงพื้นที่เก็บข้อมูลในแต่ละครั้ง ได้ทำการประสานงานกับรองปลัด อบต. ตูมใหญ่ เพื่อแจ้งรายละเอียดในการขอลงพื้นที่และขอใช้สถานที่ที่ อบต. ตูมใหญ่ เพื่อจัดอบรมพร้อมสรุปรายงาน
- คณะผู้ปฏิบัติงานAG01(1) อบรมออนไลน์สรุปงานประจำเดือนมิถุนายนและชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับงานระดมความคิดวางแผนการการแข่งขัน Hackathon และแบ่งหน้าที่ในการปฏิบัติงานได้อย่างชัดเจน
- คณะผู้ปฏิบัติงาน AG01(1) ลงพื้นที่จิตอาสาเพื่อพัฒนาชุมชน ในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ
- คณะผู้ปฏิบัติงาน AG01(1)ได้จัดการอบรมอบรมออนไลน์ การพัฒนายกระดับผลิตภัณฑ์เพื่อให้ได้รับคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ และการพัฒนาบรรจุภัณฑ์พร้อมจดทะเบียนตราสินค้ากล้วยฉาบ ได้แก่ บ้านใหม่เจริญสุข บ้านโคกสำราญ และบ้านหนองดุม
- คณะผู้ปฏิบัติงาน AG01(1) ทางทีมกลุ่มอบรมพัฒนาการยกระดับการ ทอผ้าไทย (ผ้าไหม/ผ้าฝ้าย)และสรุปรายงานประจำเดือน
- คณะผู้ปฏิบัติงานAG01(1) อบรมออนไลน์ผ่านระบบ meet เพื่อนำเสนอการทำผ้าไหมทอมือบ้านหนองดุม ในหัวข้อ Creative economy(เศรษฐกิจสร้างสรรค์)
- คณะผู้ปฏิบัติงานAG01(1) จัดทำบทความประจำเดือนกรกฎาคม
ในการลงพื้นที่เก็บข้อมูลในแต่ละครั้ง
ได้ทำการประสานงานกับรองปลัดองค์การบริหารส่วนตูมใหญ่ เพื่อแจ้งรายละเอียดในการขอลงพื้นที่และขอใช้สถานที่ในการจัดอบรม และมีการประสานงานไปยังผู้นำชุมชน หรือหัวหน้ากลุ่มวิสาหกิจชุมชนทุกครั้ง
ในส่วนของการฝึกทักษะทั้ง 4 ด้าน
ได้ดำเนินงานทำการเข้าศึกษาทักษะทั้ง4ด้านได้แก่ ด้านดิจิทัล ด้านภาษาอังกฤษ ด้านการเงิน ด้านสังคม ภาษาอังกฤษพื้นฐาน ได้เรียนและสอบได้ครบ 100 เปอร์เซ็นต์ และผ่านตามเกณฑ์การวัดผลเรียบร้อยแล้ว
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากการกิจกรรมแข่งขันแฮกกาธอนทางกลุ่มเลือกการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยมาใน Concept Creative Economy (เศรษฐกิจสร้างสรรค์)
จากการลงพื้นที่เก็บข้อมูลของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนการทอผ้ามือ มาวิเคราะห์สังเคราะห์ กลุ่มทอผ้ามือทั้ง 4 หมู่บ้าน มีทั้งสมาชิกที่ทอผ้าไหมและผ้าฝ้ายพวกเราเล็งเห็นถึงศักยภาพของกลุ่มผ้าทอมือบ้านหนองดุมว่ามีความสามารถที่จะพัฒนาได้กลุ่มผ้าทอมือบ้านหนองดุมเป็นกลุ่มที่มีกระบวนการผลิตที่ยังคงแบบดั่งเดิม ตั้งแต่การปลูกหม่อน เลี้ยงไหม จนถึงการทอผ้า และผ้าไหมยังเป็นศิลปกรรมสิ่งทอที่มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่น โดยเฉพาะในด้านความประณีตในกรรมวิธีการผลิต ที่ทำให้เนื้อผ้าไหมมีความเรียบสม่ำเสมอสวยงาม นุ่มน่าสัมผัส เป็นเงาเมื่อสวมใส่เป็นภูมิปัญญาที่มีสืบทอดกันมา จากรุ่นหนึ่งสู่อีกรุ่นหนึ่งของบรรพบุรุษแต่โบราณ และเป็นภูมิปัญญาในท้องถิ่นที่มีความสำคัญยิ่งในปัจจุบัน จึงเป็นสิ่งที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ไว้ ในปัจจุบันนี้ใช้สีเคมีสังเคราะห์ในการย้อมและมีการใช้ในปริมาณมาก เพื่อต้องการให้ได้สีที่มีความชัดและสวยซึ่งจากการศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องและสอบถามจากท่านวิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญด้านการย้อมสีนั้น พบว่าถ้ามีการใช้สีเคมีในการย้อมในปริมาณที่มากและระยะยาวไปนั้น จะส่งผลกระทบต่อด้านสิ่งแวดล้อมและด้านผลิตภัณฑ์บรรจุภัณฑ์จากธรรมชาติ โดยทางกลุ่มเราได้เล่งเห็นวัสดุทางธรรมชาติที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ใช้ทรัพยากรที่มีในชุมชนให้เกิดระโยชน์สูงสุด อาทิ มีการใช้สีธรรมชาติ ที่ปลอดภัยจากสารเคมี ในการผลิต เพื่อใส่ใจสุขภาพและความปลอดภัยของผู้ผลิตและผู้สวมใส่เป็นหลัก และมีการใช้กากชานอ้อย ที่สามารถย่อยสลายเองได้ตามธรรมชาติ มาทำเป็นบรรจุภัณฑ์ เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ที่ทำในชุมชนโดยจัดทำกลุ่มภาคีเครือข่ายเพิ่มขึ้น การพัฒนากลไกทางการตลาด การพัฒนาเป็นตลาดออนไลน์ทางกลุ่มFacebook page และ Line official\เพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ง่ายขึ้น
ปัญหา อุปสรรคในการทำงาน และการแก้ไขปัญหา
จากการลงพื้นที่สำรวจกลุ่มทอผ้าไหม ได้พบปัญหาการติดต่อประสานงานหัวหน้ากลุ่มวิสาหกิจและความรู้ความเข้าใจในเรื่องทอผ้าแก้ปัญหา อยากให้มีความรู้ผลิตภัณฑ์ผ้าทอ ของกลุ่มทอผ้ามือ (ผ้าไหม/ผ้าฝ้าย) ให้มีคุณภาพและได้มาตรฐาน เป็นที่ยอมรับของกลุ่มผู้บริโภคและผู้สวมใส่ พร้อมกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ได้รับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) รวมถึงวิธีการตรวจสอบลักษณะทั่วไปของผ้าทอมือ (ผ้ามัดหมี่ ผ้าขาวม้า ผ้าพันคอ ผ้าคลุมไหล่ ผ้าทอลายขัดพื้นฐาน ผ้ายกดอก หรือผ้าชนิดอื่นๆ) และการทดสอบการตกติดของสีเบื้องต้น
สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการลงพื้นของตำบลตูมใหญ่
- ได้เรียนรู้ถึงการติดต่อประสานงานกับหน่วยงานราชการ ผู้นำชุมชน และสมาชิกที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน
- ได้เรียนรู้ถึงการแก้ไขสถานการณ์ หรือการปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานเมื่อเกิดปัญหาเฉพาะหน้า
- ได้เรียนรู้ถึงการประสานงานกับผู้นำชุมชน
- ได้เรียนรู้ถึงการทำ marketing
- ได้เรียนรู้ถึงกระบวนการใช้เทคโนโลยี
แผนการดำเนินงาน เดือนสิงหาคม 2564
- นำเสนอโครงการต่อองค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่เพื่อพิจารณาการจัดอบรมเชิงวิชาการ กิจกรรมการพัฒนาการย้อมสีธรรมชาติให้สวยงามและคงทนและกิจกรรมการออกแบบลายผ้าเพื่อให้เป็นเอกลักษณ์ของชุมชน โดยกลุ่มทอผ้ามือ จำนวน 4 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านหนองบัวพัฒนา หมู่ที่18 บ้านตูมน้อย หมู่ที่ 5 บ้านหนองดุม หมู่ที่ 8 และบ้านปะคำดง หมู่ที่ 11
- วันที่ 16กรกฎาคม 2564 การจัดอบรมเชิงวิชาการ กิจกรรมการพัฒนาการย้อมสีธรรมชาติให้สวยงามและคงทนโดยวิทยากรที่เชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ รองศาสตราจารย์ สมบัติ ประจญศานต์
- วันที่ 28กรกฎาคม 2564 การจัดอบรมเชิงวิชาการ กิจกรรมการออกแบบลายผ้าเพื่อให้เป็นเอกลักษณ์ของชุมชน โดยวิทยากรที่เชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ รองศาสตราจารย์ สมบัติ ประจญศานต์หมายเหตุ :แผนการดำเนินงานอาจมีการเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสมตามสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัส COVID-19