ข้าพเจ้า นางสาวกาญจนา  จิตวงค์  ประเภทบัณฑิตจบใหม่  ตำบลถาวร

           หลักสูตร  :  โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ                                                                  (๑ ตำบล ๑      มหาวิทยาลัย) (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ)

                 

         เมื่อวันที่  1-17  เดือนพฤษภาคม 2564 ได้ลงพื้นที่สำรวจข้อมูลทรัพยากรท้องถิ่น ใน Application U2T ตามที่ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย  และนวัตกรรม (อว.) ณ  ตำบลถาวร อำเภอเฉลิมพระเกียรติ  จังหวัดบุรีรัมย์ ก่อนการลงพื้นที่ได้ศึกษาวิธีการเก็บข้อมูลจาก Application U2T และวางแผนการทำงานให้สะดวก และปลอดภัย ในสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ร่วมด้วย 

          ข้าพเจ้าและทีมงานได้ลงพื้นที่สำรวจข้อมูลอาหารในท้องถิ่น  เกษตรกรในท้องนถิ่น  และพืชในท้องถิ่นจากการลงพื้นที่สำรวจพืชในท้องถิ่นพบว่ามีพืชที่น่าสนใจหลากหลายชนิด  พืชเหล่านี้มีประโยชน์และสรรพคุณมากมาย พืชมีหลากหลายชนิด  เช่น  ต้นรัง  ดอกกระเจียวแดงและขาว ผักสาบ  ต้นหว้า ตะแบก ฝางแดง  ยอป่า  พุดผาหรือสีดาดง สมัดน้อย  หมากเป้ง  มะขามป้อม ผักติ้วป่า  และอื่นๆอีกมากมาย พืชเหล่านี้สามารถนำมารับประทานเป็นผักเพื่อเพิ่มคุณประโยชน์ให้แก่อาหารนั้นๆ สามารถนำมาจำหน่ายเพื่อหารายได้เสริมให้แก่ชาวบ้าน สามารถพบได้ในพื้นที่ป่าชุมชนของตำบลถาวร ที่สำคัญมีต้นรังหรือ “ฮัง” (ภาษาถิ่น) ในสมัยก่อนชาวบ้านนำมาสร้างบ้านเรือน แต่ปัจจุบันพบต้นรังในเขตป่าชุมชนหรือเขตอุทยานแห่งชาติ  ไม่สามารถตัดไม้ทำลายป่าได้นอกจากนี้ต้นรังยังเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญแก่ชาวบ้านที่ไปเก็บของป่ามารับประทาน ต้นรังเป็นแหล่งเพาะเชื้อราของเห็ด หลากหลายชนิด เช่น  เห็ดแดง  เห็ดน้ำหมาก  เห็ดมันปู เห็ดปลวก เห็ดระโงก  และเห็ดเผาะ  เป็นต้น  ชาวบ้านชื่นชอบกันเป็นอย่างมากเพราะมีรสชาติที่อร่อยและกลมกล่อม  สามารถนำไปทำเมนูต่างๆหลากหลายได้ ทั้งนี้ในการเก็บของป่าจะมีการเก็บค่าบำรุงป่าด้วยเช่นกัน เพื่อเอื้ออำนวยประโยชน์แก่กัน ทั้งชาวบ้านและเจ้าหน้าที่รัฐเข้ามาปรับปรุง  ดูแลพื้นที่ป่าจะทำให้ป่าอุดมสมบูรณ์มากขึ้น

อื่นๆ

เมนู