ข้าพเจ้านางสาวศันสนีย์ กองศักดิ์ ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ตำบลบ้านสิงห์
หลักสูตร: การส่งเสริมและพัฒนาการทำขนมไทย
ได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงานกับทีมงานและอาจารย์ประจำหลักสูตร
เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 09:00 น. ณ ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
ในการลงพื้นที่ตำบลบ้านสิงห์ข้าพเจ้าและทีมงานได้ร่วมประชุม ณ ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านสิงห์ เพื่อพบผู้นำชุมชนรับฟังข้อมูลพื้นฐานของแต่ละหมู่บ้านเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่มีความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ของชุมชน เพื่อที่จะได้นำมาสานต่อและพัฒนาเศรษฐกิจในชุมชนอย่างยังยืน
อาจารย์ประจำหลักสูตรได้เรียนเชิญผู้นำชุมชนซึ่งเป็นผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจในผลิตภัณฑ์และทรัพย์พยากรณ์ในชุมชนเป็นอย่างดีเพื่อมาพูดคุยร่วมกับทีมงาน โดยผู้นำชุมชนของแต่ละหมู่บ้านได้นำเสนอขนมไทยรวมถึงของดีของแต่ละหมู่บ้านว่ามีอะไรบ้างและได้นำขนมไทยมาให้ทีมงานได้ลองรับประทาน เช่น ขนมท้องม้วน ตะโก้ ขนมต้มหลังจากนั้นยังมีการร่วมพูดคุยถึงปัญหาในการทำขนมไทยของแต่ละชุมชนพร้อมทั้งเสนอสิ่งที่ชุมชนต้องการให้ทีมงานเข้ามาร่วมพัฒนา ต่อมาข้าพเจ้าได้เข้าไปเก็บแบบสอบถามในหมู่ 7 บ้านหนองบัวราย ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ตามที่ได้รับมอบหมาย โดยได้พูดคุยกับนางฉวิล กำหนดจันทร์ ซึ่งเป็นภรรยาของผู้ใหญ่บ้าน ข้าพเจ้าได้ซักถามข้อมูลตามแบบสอบถามที่ส่วนกลางส่งมาให้ รายละเอียดตามเอกสารแบบฟอร์ม 01 (แบบสอบถามข้อมูลบุคคลครัวเรือนและชุมชน) แบบฟอร์ม 02 (แบบสอบถามเกี่ยวกับสถานการณ์โควิด-19) หลังจากได้พูดคุยแล้วข้าพเจ้าได้ขออนุญาตเก็บแบบสอบถามของลูกบ้านคนอื่นๆเพื่อนำข้อมูลดังกล่าวส่งส่วนกลางนำไปทำการวิเคราะห์ข้อมูลในเชิงสถิติและเขียนเรียบเรียงในเชิงวิชาการต่อไป
สรุปข้อมูลจากลงพื้นที่
จากการลงพื้นที่ตำบลบ้านสิงห์พบว่า
1. ด้านขนมไทย ผลิตภัณฑ์ที่มีความโดดเด่นและสร้างชื่อเสียงคือขนมทองม้วนและผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตที่คล้ายคลึงกันคือขนมที่ทำจากกล้วยและมัน ขนมดอกจอก ส่วนหมู่ 7 บ้านหนองบัวราย นั้นไม่ได้มีการทำผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับขนมไทย แต่จะมีชื่อเสียงในด้านการทำพริกแกงซึ่งเป็นเจ้าของคนเดียวไม่มีการรวมกลุ่มรวมกันผลิต
2. ด้านข้อมูลครัวเรือนและชุมชน รายได้ของประชากรส่วนใหญ่มาจากการประกอบอาชีพหลักคือ ทำนา ทำไร่ (มัน) มีการเลี้ยงสัตว์คือวัว มีที่ดินทำกินเป็นของตัวเอง มีภาระหนี้สินจากการกู้ยืมมาทำการเกษตร และส่วนใหญ่ไม่มีเงินออม
ปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อมที่พบคือ ความยากจน การขาดแคลนน้ำสะอาดใช้ในหน้าแล้ง เสียงดังจากรถยนต์
แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญได้แก่ สำนักสงฆ์ภูม้านฟ้าซี่งเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมที่สวยงาม
3. ด้านผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ประชากรส่วนใหญ่ในชุมชนเป็นผู้สูงอายุซึงมีโรคประจำตัวคือความดันโลหิตสูง
ไม่ค่อยมีการเดินทางออกนอกจังหวัด สวนใหญ่มีการสวมหน้ากากอนามัยขณะออกไปสถานณ์ที่ผู้คนจำนวนมาก ผลกระทบหลัก ๆ คือรายได้ การเดินทาง และภาระหนี้สิน