1. หน้าแรก
  2. ไม่มีหมวดหมู่
  3. ID01 – ประเพณีโบราณแห่ตาปู่บ้านแสลงโทนสืบทอดมายาวนาน

ID01 – ประเพณีโบราณแห่ตาปู่บ้านแสลงโทนสืบทอดมายาวนาน

ประเพณีแห่ตาปู่แสลงโทนและประเพณีโบราณแสลงโทน

           เป็นประเพณีโบราณที่สืบทอดกันมาเป็น 100 ปี ซึ่งพิธีบูชาศาลเจ้าพ่อแสลงโทน หรือชาวบ้านนิยมเรียกว่าตาปู่ หรือ กระท่อมเนี๊ยะตา จัดขึ้นในช่วงประมาณเดือน เม.ย. – พ.ค. ของทุกปี เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจเป็นสิริมงคลแก่ ให้แก่ชาวบ้านรวมทั้งผู้ที่ทำเกี่ยวกับการเกษตรในช่วงฤดูกาลเพาะปลูกในแต่ละปี เพื่อบันดาลให้ฝนตกมา น้ำท่าอุดมสมบูรณ์และอยู่เย็นเป็นสุข โดยงานดังกล่าวได้อัญเชิญเจ้าพ่อแสลงโทนหรือตาปู่ แห่รอบตัวหมู่บ้าน 3 วัน พร้อมทั้งมีการละเล่นที่สนุกสนานผนวกรวมกันกับประเพณีสงกรานต์โบราณ “การแห่ตาปู่นั้นชาวบ้านเชื่อว่าจำทำให้ฝนตกตามฤดูการ และไม่เจ็บไข้ได้ป่วย”

วันที่ 11  เมษายน 2564 ชาวบ้าน จะทำพิธียกธงขึ้นเสาร์เพื่อเอาฤกษ์เอาชัย โดยมีการโฮ้ สามครั้ง แล้วจึงนำเกวียนที่เตรียมไว้ ไปรับตาปู่ที่ศาลเจ้าพ่อแสลงโทน ซึ่งบนเกวียนนั้นจะมีของเซ้นไหว้ต่างๆ และพอไปถึงศาลเจ้าพ่อแสลงโทนก็ทำพิธีบวงสรวง โดยมีนางรำอัปสรารำถวาย จากนั้น อัญเชิญ ตาปู่ แห่กลับมาจากศาลเจ้าพ่อแสลโทนไปยังวัด โดยเกวียนขากลับมาวัดบ้านแสลงโทนนั้น จะมีตาปู่ กลับมาด้วยจากนั้น ชาวบ้านก็แห่ตาปู่รอบบายศรีโบราณ 3 รอบ แล้วตกช่วงบ่ายชาวบ้านก็จะนำตาปู่แห่รอบหมู่บ้าน เป็นเวลา 3 วัน ก็คือวันที่ 11 – 13 เมษายนที่ผ่านมา(แต่เนื่องจากสถานการณ์โควิด 19 ที่ผ่านมา เทศบาลตำบลแสลงโทน จัดมาตราการที่เข้มงวด โดยกำหนดให้มีผู้ร่วมเข้างานไม่เกิน 50 คน และมีการวัดอุณหภูมิก่อน เข้างานบุญแห่ตาปู่) หลังจากการแห่รอบหมู่บ้านนั่น จะนำเกวียนแห่ตาปู่ จอดไว้หน้าศาลหลักกิโลโบราณที่ชาวบ้านเคารพนับถือบูชามาตั้งแต่นานแสนนาน

เนื่องด้วยปีนี้จัดแค่ วันที่ 11 เมษายน วันเดียว เนื่องด้วยเกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)  ทำให้ประเพณีแห่ตาปู่วันที่ 12-13 ทำให้งดการแห่ โดยทางอำเภอประโคนชัยไม่อนุญาติให้จัดเพื่อลดการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ทำให้งานไม่ครึกครึ้นเหมือนเมื่อก่อน

 

 

เขียนโดย นางสาวศรัณยา สวยรูป

อื่นๆ

เมนู