ข้าพเจ้านางสาวสุดารัตน์ มาทะวงษ์ ประเภท กพร. รับผิดชอบพื้นที่ ตำบลหินลาด อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ข้าพเจ้าและทีมงานได้ทำการประชุมวางแผนในการลงพื้นที่การทำงาน ผ่าน Application U2T โดยการแบ่งออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 3-4 คน เพื่อลดการรวมตัวกันเป็นหมู่มากเพื่อความปลอดภัยด้วย

การสำรวจในครั้งนี้ ข้าพเจ้าและทีมงานได้ลงพื้นที่สำรวจในกลุ่มของสัตว์ในท้องถิ่นของตำบลหินลาด โดยเจาะจงไปที่สัตว์เศรษฐกิจซึ่งเป็นกลุ่มสัตว์เคี้ยวเอื้องเพราะลักษณะที่เด่นชัดของพวกมันคือจะเน้นการกินหญ้าและทำปากเคี้ยวสิ่งต่าง ๆ อยู่ตลอดเวลา นั้นคือโค หรือ วัวส่วนใหญ่ชาวบ้านในท้องถิ่นนิยมเลี้ยงโคเนื้อ ซึงสายพันธ์ที่นิยมเลี้ยงนั้นคือพันธ์พื้นเมือง พันธ์บราห์มัน พันธ์ผสม เป็นต้น

แต่ปัญหาที่พบเจอในปีนี้คือโรคระบาดวัวโดยมีชื่อเรียกว่า โรคโรคลัมปี สกิน สัตว์ที่ติดเชื้อจะมีไข้สูง ต่อมน้ำเหลืองโต และมีตุ่มขนาดใหญ่ ประมาณ 2-5 เซนติเมตร ขึ้นที่ผิวหนังทั่วร่างกาย พบมากที่คอ หัว เต้านม ถุงอันฑะและหว่างขา ตุ่มที่ขึ้นอาจแตก ตกสะเก็ดและเกิดเป็นเนื้อตาย หรือมีหนอนแมลงมาไชได้ อาจพบตุ่มน้ำใสขึ้นที่เยื่อเมือก ทางเดินหายใจและทางเดินอาหาร ทำให้มีอาการน้ำลายไหล ตาอักเสบ มีตุ่มขึ้นที่เยื่อเมือกตา น้ำตาไหลและมีขี้ตา นอกจากนี้สัตว์ที่ติดเชื้อจะมีอาการซึม เบื่ออาหาร อาจมีภาวะเป็นหมันชั่วคราวหรือถาวร แท้งลูกและมีปริมาณน้ำนมลดลง อัตราการป่วยอยู่ที่ 5 – 45 % อัตราการตายน้อยกว่า 10% แต่อาจมีอัตราการตายสูงในพื้นที่ที่ไม่เคยมีการระบาดมาก่อน ผลกระทบส่วนใหญ่จะอยู่ที่ผลผลิตที่ลดลง สาเหตุที่ติดคือ ติดจากแมลงดูดเลือด เช่น เห็บ ยุง แมลงวัน และอาจติดจากการสัมผัสใกล้ชิดกันของสัตว์ ติดจากน้ำลาย สารคัดหลั่ง สะเก็ดแผล รวมไปถึงการใช้อุปกรณ์ร่วมกัน

วิธีการป้องกันโรค คือ การกำจัดและป้องกันแมลงในพื้นที่ ทำความสะอาดคอกและอุปกรณ์ในการเลี้ยง และกักสัตว์ใหม่ก่อนนำเข้าพื้นที่ โรคนี้ไม่มีการรักษาจำเพาะ ทำได้เพียงรักษาตามอาการ ส่วนวัคซีนป้องกันโรคจะมีการนำเข้ามาในประเทศที่มีการระบาดของโรคแล้ว

         สรุปผลการทำงานในเดือนกรกฎาคม 2564 นี้ เนื่องจากมีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา(COVID-19) จึงทำให้การลงพื้นที่สำรวจเกิดความลำบาก ข้าพเจ้าและทีมงานจึงแบ่งกลุ่มออกเป็นกลุ่มละ3-4 คนเพื่อจะลงพื้นที่ได้สะดวกและไม่เกิดการรวมตัวกันเป็นหมู่มาก โดยการลงพื้นที่สำรวจผ่าน Application U2T  ในครั้งนี้ข้าพเจ้าจะเน้นไปในการสำรวจกลุ่มของสัตว์ในท้องถิ่นของตำบลหินลาด โดยเจาะจงไปที่สัตว์เศรษฐกิจซึ่งเป็นกลุ่มสัตว์เคี้ยวเอื้องนั้นคือโค หรือ วัวส่วนใหญ่ชาวบ้านในท้องถิ่นนิยมเลี้ยงโคเนื้อ ซึงสายพันธ์ที่นิยมเลี้ยงนั้นคือพันธ์พื้นเมือง พันธ์บราห์มัน เป็นต้น แต่ช่วงนี้มีการระบาดของโรคที่เกิดเฉพาะในโค กระบือ ไม่เป็นโรคติดต่อสู่คน คือโรคโรคลัมปี สกิน การติดต่อของโรคนี้ติดจากแมลงดูดเลือด เช่น เห็บ ยุง แมลงวัน และอาจติดจากการสัมผัสใกล้ชิดกันของสัตว์ ติดจากน้ำลาย สารคัดหลั่ง สะเก็ดแผล รวมไปถึงการใช้อุปกรณ์ร่วมกัน ถึงจะก็มียาและวิธีป้องกันรักษาแต่ก็ไม่สามารถซื้อหรือจำหน่ายวัวได้ถ้าตายก็ต้องใช้วิธีการฝังห้ามนำไปบริโภคหรือจำหน่ายเด็ดขาด เพระอาจจะทำให้เกิดอันตรายแกผู้บริโภคได้

 

 

อื่นๆ

เมนู