ดิฉัน นางสาวปวีณา พันธ์คูณ ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงานพร้อมกับทีมงานที่ตำบลกระสัง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ ตามโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ

การลงพื้นที่

การลงพื้นที่ปฏิบัติงานในครั้งนี้ ดิฉันและทีมงานได้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับด้านสถานการณ์โควิด 19 ตามที่ได้รับมอบหมายจากอาจารย์ประจำตำบล และการเก็บข้อมูล CBD ในด้านต่างๆ รวมถึงการเก็บข้อมูล พิกัด สถานที่สำคัญของหมู่บ้าน เพื่อนำไปเป็นฐานข้อมูลของหมู่บ้านในการนำเสนอผ่านทางเว็บไซต์ประจำตำบลต่อไป ซึ่งในบทความนี้จะขอกล่าวถึงรายละเอียดการปฏิบัติงานในพื้นที่หมู่ 19 บ้านไทรโยงเหนือ ตำบลกระสัง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยมีรายละเอียดดังนี้

กิจกรรม U2T สู้ภัยโควิด (U2T-COVID WEEK)

กิจกรรม U2T สู้ภัยโควิด (U2T-COVID WEEK) โดยการส่งมอบวัสดุอุปกรณ์ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด 19 บริเวณโรงเรียน ศาสนสถาน และตลาด โดยบริเวณของหมู่ 19 บ้านไทรโยงเหนือนั้น จากการสำรวจพบว่ามีสถานศึกษาอยู่ 1 แห่ง คือ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านไทรโยง  มีวัดอยู่ 2 แห่ง คือ วัดป่าไทรโยง และวัดป่าชัยประสิทธิ์ ไม่มีตลาดในพื้นที่ ดิฉันและทีมงานจึงได้นำผลิตภัณฑ์เจลแอลกอฮอร์และหน้ากากอนามัยไปมอบให้กับผู้ที่ดูแลสถานที่ทั้ง 3 แห่งที่กล่าวมาข้างต้น ได้ใช้ในการบริหารจัดการการเข้าใช้งานสถานที่ในช่วงของสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19 ตามประกาศการปฏิบัติตนในช่วงโควิด 19

**เกร็ดความรู้**

วิธีป้องกันโควิด-19 ในสถานการณ์ต่าง ๆ

            วิธีป้องกันโควิด-19หลัก ๆ เลย คือการล้างมือ และการสวมหน้ากากอนามัย แต่ถ้าเราอยู่ในสถานการณ์ต่าง ๆ หรือในสถานที่ที่แตกต่างกัน เราควรจะดูแลตัวเองอย่างไรบ้าง บทความนี้จึงได้นำเสนอวิธีการป้องกันโควิด-19 มาแนะนำโดยแบ่งเป็น 4 สถานการณ์หลัก ๆ ดังนี้

วิธีป้องกันโควิด-19 ก่อนออกจากบ้าน

  1. เตรียมหน้ากากอนามัย หรือจะใช้เป็นหน้ากากผ้าก็ได้ เลือกที่ใส่แล้วกระชับใบหน้าอย่างลงตัว ครอบทั้งปากและจมูก
  2. มีเจลแอลกอฮอล์ และสเปรย์แอลกอฮอล์ติดตัวไว้ตลอดเวลา
  3. อย่าลืมพกกระดาษทิชชู่ติดตัว เผื่อใช้เวลาปิดปากเวลาไอ จาม หรือใช้จับเมื่อต้องสัมผัสพื้นผิวต่าง ๆ ที่เราไม่แน่ใจว่าจะมีเชื้อโรคอยู่หรือไม่
  4. การใช้ยานพาหนะโดยรถส่วนตัว จะปลอดภัยที่สุด

วิธีป้องกันโควิด-19เมื่ออยู่ในที่สาธารณะหรือขณะเดินทาง

  1. สวมใส่หน้ากากอนามัยไว้ตลอดเวลา และไม่สัมผัสพื้นผิวด้านหน้าของหน้ากากอนามัย เพราะอาจจะมีเชื้อโรคติดอยู่
  2. หลีกเลี่ยงการสัมผัสสิ่งของให้ได้มากที่สุด หรือหากเลี่ยงไม่ได้ ก็ให้ฉีดแอลกอฮอล์ก่อนสัมผัส หรือล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ทุกครั้ง หลังสัมผัสสิ่งของนั้น ๆ โดยเฉพาะลูกบิดประตู ปุ่มลิฟต์ มือจับประตู ราวบันได หรือราวจับของพาหนะที่ใช้เดินทาง
  3. เว้นระยะห่างจากคนรอบข้าง 1 – 2 เมตร
  4. ตั้งสติยับยั้งตัวเอง ไม่ให้ยกมือขึ้นสัมผัสใบหน้า ดวงตา จมูก ปาก ระหว่างโดยสารบนรถสาธารณะ
  5. ล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ หลังจับธนบัตร เหรียญ หรือบัตรโดยสารในการเดินทาง
  6. ล้างมือทันที หลังลงจากรถโดยสาร และหลังจากถึงจุดหมายปลายทาง
  7. หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหาร เครื่องดื่ม ระหว่างการเดินทาง

วิธีป้องกันโควิด-19เมื่ออยู่ที่ทำงาน

  1. ทำความสะอาดโต๊ะทำงาน เช็ดทำความสะอาดบริเวณพื้นผิวโต๊ะทำงาน แป้นพิมพ์ เมาส์ คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ และวัตถุสิ่งของอื่น ๆ ที่ต้องสัมผัส และต้องใช้งานอยู่เป็นประจำ
  2. ล้างมือบ่อย ๆ ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนการล้างมือบ่อย ๆ ก็ถือว่าเป็นการป้องกันไวรัสที่ดีที่สุดวิธีหนึ่ง เราควรล้างมือหลังจากรับประทานอาหาร จับที่จับประตู หรือราวบันได ควรล้างมือให้บ่อยที่สุด เท่าที่จะเป็นไปได้
  3. พกเจลแอลกอฮอล์ ติวตัวตลอดเวลา ในบางครั้งที่เรามีงานสำคัญ เช่น การประชุม การออกไปล้างมือด้วยสบู่ในห้องน้ำ อาจจะไม่สะดวกนัก จึงอาจจะใช้เป็นเจลแอลกอฮอล์แทนการล้างมือด้วยสบู่
  4. งดการทักทายด้วยวิธีจับมือ ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสทางกายภาพที่ไม่จำเป็น
  5. งดทานอาหาร ควรนั่งทานอาหารห่างกันอย่างน้อย 1 – 2 เมตร และไม่ใช้ภาชนะร่วมกันอย่างเด็ดขาด

วิธีป้องกันโควิด-19เมื่อกลับถึงบ้าน

  1. ล้างมือก่อนเข้าบ้านด้วยเจลแอลกอฮอล์ หรือน้ำกับสบู่ และถอดหน้ากากอนามัยอย่างระมัดระวัง พร้อมกับม้วนทิ้งลงถุงอย่างถูกวิธี สำหรับหน้ากากผ้าให้ซักทำความสะอาดให้เรียบร้อย
  2. อาบน้ำ สระผม เปลี่ยนเสื้อผ้าทันที
  3. ทำความสะอาดสิ่งของต่าง ๆ ที่นำติดตัวออกไปด้วย เช่น กระเป๋า รองเท้า กุญแจ ก่อนเก็บเข้าที่ เนื่องจากเชื้อโรคอาจเกาะอยู่บนพื้นผิวของสิ่งของต่าง ๆ ได้
  4. ทำความสะอาดโทรศัพท์มือถือ ด้วยแอลกอฮอล์ก่อนที่จะใช้งาน

ที่มา: https://allwellhealthcare.com/prevent-covid/

           ที่มา:ที่มา:http://www.ashthailand.or.th/smartnews/post/detail  ที่มา: http://www.nakhonsawan.go.th

กิจกรรมรณรงค์ป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด 19

เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อให้ประชาชนในชุมชนตำบลกระสัง มีความตระหนักในการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด 19  และมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด 19 โดยดิฉันและทีมงานได้นำป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์รณรงค์การฉีดวัคซีนไปมอบให้กับผู้ใหญ่บ้าน ได้นำไปติดไว้ในหมู่บ้าน เพื่อประชาสัมพันธ์ให้กับคนในหมู่บ้านได้รับทราบ นอกจากนี้ดิฉันและทีมงานก็ยังได้ทำการอัดคลิปวิดีโอรณรงค์ให้ผู้คนมาฉีดวัคซีนป้องกันโควิด 19 โดยให้ชาวบ้านในหมู่บ้านที่ได้รับการฉีดวัคซีนแล้วมาอัดคลิปวิดีโอเชิญชวนให้ผู้คนมารับการฉีดวัคซีน รวมถึงพูดถึงอาการหลังฉีดวัคซีน ซึ่งกิจกรรมนี้ผู้ที่มาอัดคลิปวิดีโอจะได้รับเสื้อรณรงค์การฉีดวัคซีนโควิด 19 ของตำบลกระสัง ซึ่งคลิปวิดีโอเหล่านี้ได้นำมาจัดการเผยแพร่ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการประชาสัมพันธ์ต่อไป

จากการอัดคลิปวิดีโอส่วนใหญ่เชิญชวนคนมาฉีดวัคซีนเนื่องจากอยากให้ทุกคนได้กลับมาดำเนินชีวิตได้ตามปกติ สามารถทำมาหากินได้อย่างคล่องตัว และสามารถดใกล้ชิดกันได้ ส่วนอาการหลังฉีดวัคซีน ส่วนใหญ่บอกว่ามีอาการเพลีย และง่วงนอนในวันแรก หลังจากนั้นก็อาการปกติ นอกจากนี้ดิฉันและทีมงานก็ได้เก็บข้อมูลของผู้ที่ฉีดวัคซีนโควิดแล้วผ่านทางแบบสอบถามในรูปแบบของกูเกิลฟอร์ม เพื่อเก็บเป็นฐานข้อมูลและเผยแพร่ลงเว็บไซต์ประจำตำบลกระสัง

**เกร็ดความรู้**

วัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ในปัจจุบัน มี 4 ชนิดด้วยกัน  ได้แก่

 1.วัคซีนชนิดสารพันธุกรรม

ได้แก่ เอ็มอาร์เอ็นเอ (mRNA) วัคซีนกลุ่มนี้ ใช้เทคโนโลยีใหม่สังเคราะห์สารพันธุกรรมเอ็มอาร์เอ็นเอ (messenger RNA: mRNA) ที่เฉพาะเจาะจงกับเชื้อไวรัส วัคซีนจะทำหน้าที่พา mRNA เข้าเซลล์ และ กํากับให้เซลล์ผลิตสารโปรตีนสไปค์ของเชื้อไวรัส ซึ่งโปรตีนนี้จะกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้สร้างแอนติบอดีขึ้นมาต่อต้านเชื้อ  วัคซีนที่มีใช้ในปัจจุบัน ได้แก่ วัคซีนของบริษัท Pfizer และ Moderna  จากข้อมูลในปัจจุบันวัคซีนชนิดนี้มีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคได้ประมาณ 95% ป้องกันการป่วยรุนแรงและป้องกันการเสียชีวิตได้ 100% วัคซีนของบริษัท Pfizer ควรได้รับการฉีด 2 เข็มเข้ากล้ามเนื้อ ห่างกัน 3 สัปดาห์ ส่วน วัคซีนของบริษัท Moderna ควรได้รับการฉีด 2 เข็มเข้ากล้ามเนื้อ ห่างกัน 4 สัปดาห์

 2.วัคซีนชนิดใช้ไวรัสเป็นพาหะ (Recombinant viral vector vaccine)

วัคซีนกลุ่มนี้ใช้ไวรัสที่สามารถตัดแต่งพันธุกรรม เช่น ไวรัสอะดีโน (Adenovirus)โดยนำมาดัดแปลงพันธุกรรมให้ไม่สามารถแบ่งตัวได้ และใส่สารพันธุกรรมของไวรัสโรคโควิด19 ติดไปด้วย เมื่อนํามาฉีดไวรัสพาหะเหล่านี้จะเลียนแบบการติดเชื้อตามธรรมชาติ โดยกระตุ้มภูมิคุ้มกันทั้งระบบให้สร้างแอนติบอดีย์ต่อไวรัสโรคโควิด19 ตามสารพันธุกรรมที่ใส่เข้าไป อย่างไรก็ตามแม้ว่าจะเป็นวัคซีนที่ไวรัสอะดีโนไม่แบ่งตัว แต่ยังจัดเป็นไวรัสที่มีชีวิตเมื่อเข้าสู่ร่างกาย จึงยังไม่แนะนำให้ใช้ในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องอย่างมาก จนกว่าจะมีข้อมูลที่ชัดเจนมากกว่านี้ ปัจจุบันวัคซีนชนิดนี้ที่ใช้กันแพร่หลายมี 4 แบรนด์ ได้แก่ ไวรัสอะดีโนของชิมแพนซี (Chimpanzee adenovirus) โดยบริษัท Astra Zeneca มีประสิทธิภาพป้องกันอาการประมาณ 70-80% ป้องกันการเสียชีวิตได้ 100%, ไวรัสอะดีโนของมนุษย์สายพันธุ์ 5 (Human adenovirus type 5) โดยบริษัท CanSinoBio มีประสิทธิภาพป้องกันอาการประมาณ 60%, ไวรัสอะดีโนของมนุษย์สายพันธุ์ 26 (Human adenovirus type 26) โดยบริษัท Johnson and Johnson มีประสิทธิภาพป้องกันอาการประมาณ 64-72% และ ไวรัสอะดีโนของมนุษย์สายพันธุ์ 5 และ 26 (Human adenovirus type 5 and26) โดยบริษัท Gamaleya ของรัสเซีย มีประสิทธิภาพป้องกันอาการประมาณ 90%

3.วัคซีนที่ทําจากโปรตีนส่วนหนึ่งของเชื้อ (Protein subunit vaccine)

คซีนที่ผลิตโดยเทคโนโลยีนี้ ทั่วโลกมีความคุ้นเคยมานาน เพราะใช้ในการผลิตวัคซีนหลายชนิด เช่น วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี เป็นต้น ผลิตโดยการ สร้างโปรตีนของเชื้อไวรัส ด้วยระบบ cell culture, yeast, baculovirus เป็นต้น แล้วนํามาผสมกับสารกระตุ้นภูมิ เมื่อฉีดเข้าสู่ร่างกายจะกระตุ้นให้ร่างกายสร้างแอนตีบอดีต่อต้านโปรตีนสไปค์ของไวรัสโรคโควิด19 วัคซีนที่มีใช้ในปัจจุบันคือ วัคซีนแบรนด์ Novavax ซึ่งผลิตจาก baculovirus และใช้ Matrix M เป็นตัวกระตุ้นภูมิ มีประสิทธิภาพป้องกันอาการประมาณ 60-90% ป้องกันการเสียชีวิตได้ 100%

  4.วัคซีนชนิดเชื้อตาย (Inactivated vaccine)

วัคซีนกลุ่มนี้ผลิตโดยนําไวรัสโรคโควิด19 มาเลี้ยงขยายจํานวนมาก และนํามาทำให้เเชื้อตาย  การฉีดวัคซีนจะกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อไวรัสทุกส่วน เสมือนได้รับเชื้อไวรัสโดยตรงแต่ไม่ทำให้เกิดโรค เพราะเชื้อตายแล้ว  เทคโนโลยีนี้เป็นวิธีที่ใช้กับวัคซีนตับอักเสบเอ โปลิโอชนิดฉีด จึงมีความคุ้นเคยในประสิทธิภาพและความปลอดภัยมานาน แต่เนื่องจากการเพาะเลี้ยงไวรัสต้องใช้ความระมัดระวังมาก ทําให้ผลิตได้ช้าและมีราคาแพง วัคซีนที่มีใช้ในปัจจุบัน ได้แก่ วัคซีนของบริษัท Sinovac มีประสิทธิภาพป้องกันอาการประมาณ 50-70% ป้องกันการเสียชีวิตได้ 100%

 ข้อห้ามและข้อควรระวังในการฉีดวัคซีนโควิด 19

วัคซีนทุกชนิดมีข้อห้ามคือ แพ้สารที่เป็นส่วนประกอบของวัคซีนและเนื่องจากวัคซีนเหล่านี้เป็นวัคซีนใหม่จึงอาจไม่มีความรู้ในเรื่องปฏิกิริยาการแพ้ที่พบไม่บ่อย ในช่วงแรกจึงควรฉีดวัคซีนเหล่านี้ในสถานพยาบาลหรือสถานที่ ที่ให้การช่วยเหลือกรณีมีปฏิกิริยารุนแรง และควรเฝ้าระวังอาการหลังการฉีดอย่างน้อย 30 นาที

หากมีอาการดังต่อไปนี้ หลังได้รับวัคซีน รีบไปพบแพทย์ ณ สถานพยาบาลใกล้บ้าน หรือโทร 1669 เพื่อรับบริการทางการแพทย์ฉุกเฉิน

-ไข้สูง  -หนาวสั่น

-ปวดศีรษะรุนแรง  -เหนื่อยแน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก หรือ หายใจไม่ออก

-อาเจียน มากกว่า 5 ครั้ง  -ผื่นขึ้นทั้งตัว ผิวหนังลอก

-มีจุดจ้ำเลือดออกจํานวนมาก  -ใบหน้าเบี้ยว หรือ ปากเบี้ยว

-แขนขาอ่อนแรง กล้ามเนื้ออ่อนแรง ไม่สามารถทรงตัวได้

-ต่อมน้ําเหลืองโต  -ชัก หรือหมดสติ

ที่มา: https://www.synphaet.co.th/

การเก็บข้อมูล CBD และพิกัดสถานที่สำคัญในหมู่บ้าน

เป็นการเก็บข้อมูลด้านต่างๆของหมู่บ้าน ผ่านระบบออนไลน์ โดยแบ่งออกเป็นทั้งหมด 10 ด้าน ได้แก่ 1)ผู้ที่เดินทางเข้ามาในช่วงโควิด 19  2)แหล่งท่องเที่ยว 3)ที่พัก/โรงแรม 4)ร้านอาหารในท้องถิ่น 5)อาหารประจำถิ่น 6)เกษตรในท้องถิ่น 7)พืชในท้องถิ่น 8)สัตว์ในท้องถิ่น 9)ภูมิปัญญาท้องถิ่น 10)แหล่งน้ำในท้องถิ่น โดยดิฉันและทีมงานก็ได้ดำเนินการเก็บข้อมูลมาเรื่อยๆ ตั้งแต่ช่วงเดือนมิถุนายนจนถึงปัจจุบัน ในส่วนของหมู่ 19 บ้านไทรโยงเหนือ สามารถเก็บข้อมูล CBD ได้แล้วบางส่วน ดังนี้

-ผู้ที่เดินทางเข้ามาในช่วงโควิด พบว่ามี 1 ราย เดินทางมาจากกรุงเทพมหานคร เข้ามาตั้งแต่ต้นเดือนพฤษภาคม 2564 โดยได้ปฏิบัติตามมาตรการการกักตัวครบ 14 วัน และตรวจไม่พบเชื้อโควิด 19

-แหล่งท่องเที่ยว ไม่พบว่ามี

-ที่พัก/โรงแรม ไม่พบว่ามี

-ร้านอาหารในท้องถิ่น พบว่ามี 2 ร้าน เป็นร้านอาหารตามสั่ง เก็บข้อมูลไปแล้ว 1 ร้าน

-อาหารประจำถิ่น ยังไม่ได้สำรวจ

-เกษตรกรในท้องถิ่น พบว่าส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรที่ทำการปศุสัตว์ คือ เลี้ยงสุกร เลี้ยงโค เลี้ยงกระบือ เก็บข้อมูลไปแล้วจำนวน 7 คน

-พืชในท้องถิ่น พบว่ามีหลายชนิด เก็บข้อมูลไปแล้วบางส่วน พืชที่โดดเด่น คือ ต้นไทร ต้นโพธิ์

-สัตว์ในท้องถิ่น พบว่ามี 3 ชนิดหลักๆ คือ สุกร โค กระบือ

-ภูมิปัญญาท้องถิ่น เก็บข้อมูลไปแล้ว 1 อย่าง คือ การทำไม้กวาดทางมะพร้าว

-แหล่งน้ำในท้องถิ่น พบว่ามีลักษณะเป็นคูน้ำล้อมรอบหมู่บ้าน ใช้ผลิตน้ำประปาหมู่บ้าน และใช้ทำการเกษตรในบริเวณโดยรอบคูน้ำ

แบบทดสอบประจำบทความ

https://docs.google.com/forms/d/e/1FAIpQLSfXc-HV6f5qGf-v0AP52W-fT-PpXJo5wyfIBP36awywzcIr4A/viewform

คลิปวิดีโอประจำบทความ

 

อื่นๆ

เมนู