การปฏิบัติงานในการเข้าร่วมโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคม

รายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย

พื้นที่ ตำบลลำดวน อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์

**************************************************************************************************

การปฏิบัติงานลงพื้นที่ดำเนินโครงการฯ ประจำเดือน เมษายน  ในพื้นที่ตำบลลำดวน อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์  ได้ดำเนินการดังนี้

ภายในเดือนนี้กลุ่มผู้จ้างงานได้ปฏิบัติงานในพื้นที่หมู่ 8 บ้านประดู่ ตำบลลำดวน อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ จากการสำรวจพื้นที่แล้วพบว่าบ้านประดู่ประสบกับปัญหาน้ำเน่าเสีย น้ำทิ้งในครัวเรือนเกิดกลิ่นเน่าเหม็น อีกทั้งขาดการบริหารจัดการที่ถูกต้องก่อให้เกิดการรบกวนเพื่อนบ้าน และยังทำให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงนำมาสู่ปัญหาโรคที่มียุงเป็นพาหนะมากมาย ทางองค์การบริหารส่วนตำบลลำดวนจึงได้เล็งเห็นปัญหาและได้นำเอาธนาคารน้ำใต้ดินมาใช้ในการแก้ไขปัญหานี้ ทั้งนี้ได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์กลุ่มผู้จ้างงานตำบลลำดวน อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์

“ธนาคารน้ำใต้ดิน (Groundwater Bank)” ของ หลวงพ่อสมาน สิริปัญโญ ประธานสถาบันน้ำนิเทศศาสนคุณ ซึ่งใช้หลักการเติมน้ำไปเก็บในชั้นใต้ดิน โดยขุดบ่อในบริเวณพื้นที่น้ำท่วม น้ำขัง น้ำหลาก หรือจุดรวมของน้ำเพื่อกักน้ำให้ซึมลงไปชั้นหิน เป็นการพักน้ำรวมไว้เหมือนธนาคาร อีกวิธีคือ การใช้เศษไม้ ขวดแก้ว เศษอิฐ กรวด หิน หรือวัสดุที่มีในท้องถิ่นมาถมในบ่อเพื่อแทนที่น้ำ ให้น้ำล้นออกมาใช้ได้เร็วขึ้นเมื่อน้ำใต้ดินมีปริมาณมากพอ แนวคิดนี้เป็นเสมือนการออมหรือกักเก็บน้ำต้นทุนไว้ใช้ในหน้าแล้ง หรืออุ้มน้ำในยามน้ำหลาก นับเป็นตัวอย่างของการบูรณาการความรู้ทางวิชาการและภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สามารถใช้บริหารจัดการน้ำได้อย่างยั่งยืน

ธนาคารน้ำใต้ดิน คือ การขุดหลุมลักษณะ ก้นครก เพื่อจัดกักเก็บน้ำฝนที่ตกลงมาในช่วงฤดูฝน ไว้สู่ใต้ดิน ตั้งแต่ระดับใต้ดินถึงความลึกของหลุมที่ขุด เพื่อให้น้ำกระจายออกในแนวระนาบของ ชั้นใต้ดิน โดยหลักการของธนาคารน้ำใต้ดินคือ ก่อนนำน้ำมาใช้ ต้องมีกระบวนการเติมน้ำเข้าไปเก็บไว้ที่ชั้นน้ำใต้ดินก่อน เหมือนกับการฝากเงินในธนาคารก่อนจึงจะสามารถถอนมาใช้ได้ โดยการเก็บน้ำฝนที่ตกลงมาในช่วงฤดูฝนไปเก็บไว้ยังชั้นน้ำใต้ดิน ซึ่งจะเป็นการ ป้องกันการเสียสมดุลของน้ำใต้ดิน

หลักการธนาคารน้ำใต้ดิน มี 2 รูปแบบ คือ

  1. ธนาคารน้ำใต้ดินระบบเปิด สำหรับใช้แก้ไขปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้ง สามารถนำน้ำมาใช้ประโยชน์เพื่อการเกษตร เพื่อการอุปโภคบริโภคและภาคอุตสาหกรรมทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ
  2. ธนาคารน้ำใต้ดินระบบปิด เน้นการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขังในครัวเรือน และเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมประชาชนให้ร่วมด้วย ช่วยกันลดปริมาณน้ำหลากในช่วงฝนตก โดยการทำธนาคารน้ำใต้ดินระบบปิดในบริเวณบ้านหรือพื้นที่ ของตนเอง ซึ่งระบบปิดนี้สามารถช่วยชุมชนและ ท้องถิ่นในการบริหารจัดการน้ำหลากในช่วงฝนตก ให้ง่ายขึ้น อีกทั้งจะช่วยป้องกันความเสี่ยงต่อการ ปนเปื้อนของแม่น้ำลำคลอง และแหล่งน้ำธรรมชาติ

จากการสร้างธนาคารน้ำใต้ดินต้นแบบจำนวน 10 หลังคาเรือน ได้เป็นผลอย่างชัดเจนในเรื่องการจัดการปัญหาเรื่องน้ำทิ้ง น้ำเน่าเสีย สภาพพื้นที่โดยรอบบ้านสะอาด และมีบริบทที่ร่มรื่นมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นการเพิ่มน้ำในชั้นบาดาล ทำให้ช่วยแก้ไขปัญหาน้ำเค็มได้อีกด้วย

 

อื่นๆ

เมนู