ชื่อบทความ การลงพื้นที่สำรวจข้อมูลครัวเรือนและผลกระทบจากโควิด-19 ตำบลสวายจีก  อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

ชื่อเจ้าของบทความ นางสาวสมฤทัย ชาญประโคน ประเภทบัณฑิตจบใหม่                                                                           

หลักสูตร: MS04การแปรรูปผลิตภัณฑ์ผ้าไหมเพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชน ตำบลสวายจีก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบลเพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

 

เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2564 ได้มีการเข้าร่วมประชุมของคณะอาจารย์ประจำหลักสูตรและสมาชิกผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ตำบลสวายจีก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อชี้แจง วางแผนในการทำงานของผู้ปฏิบัติงาน โดยได้แบ่งและมอบหมายหน้าที่การดำเนินงานในการลงพื้นที่สอบถามข้อมูลทั้งหมด 5 กลุ่ม รับผิดชอบเก็บข้อมูลทั้งหมด 19 หมู่บ้านในเขตพื้นที่ตำบลสวายจีก

 

 

บริบทตำบลสวายจีก

ตำบลสวายจีก มีหมู่บ้านทั้งหมด 19 หมู่ เป็นตำบลหนึ่งในอำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 58.23 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 36,395 ไร่ ประชากรในปี พ.ศ. 2562 มีจำนวน 11,668 คน ทั้งพื้นที่ของตำบลบริหารโดยองค์การบริหารส่วนตำบลสวายจีก โดยที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลห่างจากศาลากลางจังหวัดบุรีรัมย์ประมาณ 11.5 กิโลเมตร  มีอาณาเขตติดต่อกับองค์การบริหารส่วนตำบลอื่น ๆ ดังนี้

ทิศเหนือ            ติดต่อกับ องค์การบริหารส่วนตำบลอิสาณ และองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยราช
ทิศใต้                 ติดต่อกับ องค์การบริหารส่วนตำบลหลักเขต
ทิศตะวันออก     ติดต่อกับ องค์การบริหารส่วนตำบลสองชั้น
ทิศตะวันตก        ติดต่อกับ องค์การบริหารส่วนตำบลสะแกซำ และตำบลเสม็ด

 

 

ผู้ปฏิบัติงานในกลุ่ม 

  1. นางสาวสมฤทัย ชาญประโคน (ผู้เขียนบทความ)
  2. นางสาวพรสุดา แก้วชนะ
  3. นายวรัญญู กองรัมย์

เขตพื้นที่รับผิดชอบในตำบล ได้แก่

  • หมู่ 1 บ้านสวายจีก ต.สวายจีก อ.เมือง จ.บุรีรัมย์
  • หมู่ 17 บ้านเอกมัย ต.สวายจีก อ.เมือง จ.บุรีรัมย์
  • หมู่ที่18 บ้านปรือพัฒนา ต.สวายจีก อ.เมือง จ.บุรีรัมย์
  • หมู่ที่19 บ้านโคกหิน ต.สวายจีก อ.เมือง จ.บุรีรัมย์

ดิฉันและทีมผู้ปฏิบัติงานได้ลงพื้นที่สำรวจข้อมูลทั้งหมด 4 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ 1 บ้านสวายจีก  หมู่ที่ 17 บ้านเอกมัย หมู่ที่ 18บ้านหนองปรือพัฒนา  และหมู่ที่ 19บ้านโคกหิน โดยได้ดำเนินการเก็บข้อมูลตามแบบฟอร์ม 01 ซึ่งใช้เป็นแบบสอบถามข้อมูลระดับบุคคล ครัวเรือนและชุมชน และแบบฟอร์ม 02 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับผลกระทบจากโรคโควิด-19 เพื่อรวบรวมข้อมูลที่ได้รับจากชุมชนมาใช้พัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมให้กับชุมชนต่อไป การลงพื้นที่สำรวจข้อมูลในแต่ละชุมชนนั้นดำเนินการไปด้วยดี ดิฉันและทีมผู้ปฏิบัติงานได้เข้าไปทำแบบสอบถาม ณ ที่ทำการผู้ใหญ่บ้านและสอบถามตามครัวเรือนของแต่ละหมู่บ้าน ซึ่งในการเก็บข้อมูลนั้นพบว่า แต่ละครัวเรือนทั้ง 4 หมู่บ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทำนา เป็นหลัก                                                 

ปัญหาที่พบในชุมชน ส่วนใหญ่จะเป็นปัญหาความยากจน ปัญหาการระบายน้ำของชุมชนในช่วงหน้าฝน เวลาฝนตกหนัก และขาดแคลนน้ำในการใช้อุปโภคบริโภค                                                                                                                                                 

การสำรวจผลกระทบจากโควิด-19 ทั้ง 4 หมู่บ้าน พบว่าคนในชุมชนส่วนใหญ่ทราบข่าวและมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคโควิด-19 และได้มีการป้องกัน มีการปฏิบัติตนในการรับมือต่อโรคโควิด-19 เป็นอย่างดี ทั้งนี้ดิฉันและทีมผู้ปฏิบัติงานจะนำข้อมูลที่ได้จากการลงพื้นที่เก็บข้อมูลแบบสอบถามดังกล่าวไปทำการวิเคราะห์ข้อมูลในเชิงสถิติและเขียนเรียบเรียงในเชิงวิชาการต่อไป

 

 

ปัญหาและอุปสรรคที่พบในการลงพื้นที่สำรวจข้อมูลระดับครัวเรือน ตำบลสวายจีก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์  คือ การประสานงานต่อชุมชนบางพื้นที่เกิดความไม่เข้าใจกัน ทำให้ข้อมูลบางข้อไม่ครบถ้วน

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการลงพื้นที่สำรวจข้อมูลในครั้งนี้ คือ ได้พบเห็นสภาพความเป็นอยู่ วิถีชีวิต และความน่ารักเป็นกันเองของชาวบ้านในพื้นตำบลสวายจีก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

Tags:

อื่นๆ

เมนู