ชื่อบทความ : การลงพื้นที่สำรวจข้อมูลระดับครัวเรือนและผลกระทบที่ได้รับจาก โควิด-19 ตำบลสวายจีก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

ชื่อเจ้าของบทความ : นางสาวปัณฑารีย์ ยอดกระโทก ประเภทบัณฑิตจบใหม่

            โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย                 จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

หลักสูตร: MS04 การแปรรูปผลิตภัณฑ์ผ้าไหมเพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชน ตำบลสวายจีก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

     ในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2564 ได้มีการประชุมและวางแผนการดำเนินงานร่วมกันระหว่างคณะอาจารย์ประจำหลักสูตรและสมาชิกผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ตำบลสวายจีก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยมีการแบ่งหัวหน้าในการรับผิดชอบงานแต่ละฝ่ายและมอบหมายหน้าที่ในการดำเนินงาน ออกเป็น 5 กลุ่ม ในพื้นที่ที่รับผิดชอบของตำบลสวายจีก ซึ่งมีทั้งหมด 19 หมู่บ้าน

บริบทชุมชน ตำบลสวายจีก

ที่ตั้ง และอาณาเขต

องค์การบริหารส่วนตำบลสวายจีก ตั้งอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอเมืองบุรีรัมย์ ระยะทางประมาณ 11.5 กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ 58.23 ตารางกิโลเมตร หรือ 36,395 ไร่ มีอาณาเขตติดต่อกับองค์การบริหารส่วนตำบลอื่น ๆ ดังนี้

ทิศเหนือ            ติดต่อกับ องค์การบริหารส่วนตำบลอิสาณ และองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยราช
ทิศใต้                 ติดต่อกับ องค์การบริหารส่วนตำบลหลักเขต
ทิศตะวันออก     ติดต่อกับ องค์การบริหารส่วนตำบลสองชั้น
ทิศตะวันตก        ติดต่อกับ องค์การบริหารส่วนตำบลสะแกซำ และตำบลเสม็ด

เขตพื้นที่รับผิดชอบ ที่ได้รับมอบหมาย

  • หมู่ 3 บ้านหนองปรือ ตำบลสวายจีก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์                                                                                             
  • หมู่ 11 บ้านมะค่าตะวันออก ตำบลสวายจีก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์                                                                                     
  • หมู่ 16 บ้านพลวง ตำบลสวายจีก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์                                                                                                   
  • คณะปฏิบัติงานในกลุ่มดิฉันมี 3 คน   ประกอบไปด้วย                                                                                                           
  1. นางสาวปัณฑารีย์ ยอดกระโทก (ผู้เขียนบทความนี้)                                                                                                             
  2. นางสาวลดาวรรณ จันทร์รุ่ง                                                                                                                                                     
  3. นางสาวมัณฑนา แผ้วพลสง                                                                                                                                                                        ดิฉันและคณะปฏิบัติงาน ได้ลงสำรวจตามพื้นที่ที่ได้รับผิดชอบ คือ 1. หมู่ 3 บ้านหนองปรือ 2. หมู่ 11 บ้านมะค่าตะวันออก 3. หมู่ 16 บ้านพลวง ตำบลสวายจีก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยได้สอบถามข้อมูลระดับบุคคล ครัวเรือนและชุมชน ตามแบบฟอร์ม 01    และสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบจากโรคโควิด-19 ตามแบบฟอร์ม 02 รวมไปถึงการเดินสำรวจสภาพความเป็นอยู่ในชุมชน  เพื่อนำข้อมูลที่ได้จากการสำรวจและสอบถามมาใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมในชุมชนต่อไป ซึ่งในการลงพื้นที่สำรวจและสอบถามข้อมูลในครั้งนี้ ได้รับการต้อนรับและได้รับความร่วมมือจากชาวบ้านและผู้นำชุมชนเป็นอย่างดี โดยส่วนใหญ่ชาวบ้านในพื้นที่ประกอบ อาชีพ ทำนา เลี้ยงสัตว์ (เลี้ยงวัว/ควาย/หมู) เป็นส่วนใหญ่ รองลงมาคือ อาชีพรับจ้างทั่วไป และความโดดเด่นในตำบลคือ มีรูปปั้นยักษ์ตา – ยาย และวัดหลวงปู่ด่อน รวมถึงมีวัวแดงคาเฟ่ (ธุรกิจส่วนตัว) ที่เป็นความโดดเด่นของตำบลสวายจีก ที่หลายคนกล่าวถึง  และสภาพปัญหาโดยรวมที่พบในชุมชน 1.ชุมชนหนองปรือ หมู่ 3 พบว่า ปัญหาส่วนใหญ่คือ การจัดการกับขยะ  2. ชุมชนมะค่าตะวันออก หมู่ 11 พบว่า ปัญหาส่วนใหญ่คือ การไม่มีน้ำประปาชุมชน ทุกหลังคาเรือนในชุมชนต้องเจาะน้ำบาดาลในอุปโภคบริโภคแทนน้ำประปา 3. ชุมชนบ้านพลวง หมู่ 16  พบว่า ปัญหาส่วนใหญ่คือ ฝุ่นละอองและการจัดการกับขยะ

                                                                       

การสำรวจเกี่ยวกับผลกระทบจากโควิด -19                                                                                                                                                 จากการสำรวจและสอบถาม พบว่า ประชาชนในชุมชนส่วนใหญ่ทราบถึงสถานการณ์โควิดและทราบอาการณ์เบื้องต้นของโรคโควิด-19 และมีการปฏิบัติพฤติกรรมที่ลดความเสี่ยงเพื่อลดความเสี่ยงจากการแพร่กระจายเชื้อไวรัสจากโควิด-19

         ประสบการณ์ในการลงพื้นที่สำรวจข้อมูลระดับครัวเรือนและผลกระทบที่ได้รับจาก โควิด-19 ตำบลสวายจีก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ในครั้งนี้ ได้รับความรู้และประสบการณ์ใหม่ๆ และการประสานงานระหว่างชุมชน การได้สำรวจความเป็นอยู่ของคนในชุมชน สภาพแวดล้อมในชุมชน รวมถึงความสามัคคีและให้ความร่วมมือของชาวบ้านในชุมชน การได้ทำงานร่วมกันในกลุ่ม ความสามัคคีกันในกลุ่ม การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ของเพื่อนในกลุ่ม รวมถึงการำด้แลกเปลี่ยนความรู้กันระหว่างชาวบ้านและคณะปฏิบัติงาน

         ปัญหาและอุปสรรคที่พบในการลงพื้นที่สำรวจข้อมูลระดับครัวเรือนและผลกระทบที่ได้รับจาก โควิด-19 ตำบลสวายจีก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์  ในครั้งนี้ คือ การเกิดความผิดพลาดในการประสานงานกับผู้นำชุมชน 

 

 

 

อื่นๆ

เมนู