ข้าพเจ้า นายถวัลย์ศักดิ์   นัคราภิบาล นักศึกษา ชั้นปีที่1

มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์

       ที่มาของคำว่า “สงกรานต์” หรือ “ตรุษสงกรานต์” เป็นคำเรียกของคนโบราณ ที่เดิมเป็นประเพณีของพราหมณ์ เป็นที่รับและส่งเทวดาเพื่อผลัดเปลี่ยนกันปีละครั้ง เป็นเทศกาลส่งปีเก่าต้องรับปีใหม่อย่างโบราณ กระทำในวันที่ 13 ,14,15 เดือนเมษายนของทุกปี

   “ ตรุษสงกรานต์ ” ที่แปลว่า เทศกาลส่งปีเก่ารับปีใหม่  เป็นประเพณีเก่าแก่แต่โบราณ ซึ่งมึความเชื่อถือสมัยพระพุทธกาล มีเศรษฐีตนหนึ่งที่อยากมีบุตรเพื่อสืบทอดวงศ์ตระกูล จึงได้ไปบนบานศาลกล่าวกับรุกขเทวดาจนได้บุตร ต่อมามีพระพรหมผู้เรืองเดชได้ท้าบุตรชายของเศรษฐีว่า “เวลากาลมงคลของมนุษย์มีกี่กาล อะไรบ้าง” ลูกเศรษฐี เป็นคนมีวาสนา ทำให้ฟังภาษาสัตว์ได้ วันหนึ่งมีนกกระจาบ 2 ผัวเมีย พูดถึงกาลเวลามงคล ไว้ว่า “กาลเวลาตอนเช้า จะอยู่ที่หน้า เพราะมนุษย์ล้างหน้าทุกเช้า กาลเวลาเที่ยงอยู่ที่หน้าอก เพราะมนุษย์ชอบเอาน้ำพรม กาลเวลาเย็นอยู่ที่เช้า เพราะมนุษย์จะล้างเท้าก่อนเข้านอน”  พระพรมได้แพ้ความจึงถูกตัดหัวเป็นการพนันแต่ต้องมีคนนำเศียรพระพรหมหมุนรอบเขาพระสุเมรุให้ครบจึงเรียกว่า “ ตรุษสงกรานต์ ” คนไทยเลยมีความเชื่อว่า “หากผู้ใดได้ก่อพระทรายเป็นดั่งเจดีย์เขาพระสุเมรุจะได้บูชาพระพรหมและเป็นศิริมงคลแก่ตัวเอง จึงทำกันมาแต่โบราณจนถึงปัจจุบัน

   กิจกรรมในวันสงกรานต์ หรือ ตรุษสงกรานต์ มักทำบุญตักบาตรถือเป็นการสร้างบุญสร้างกุศลให้ตัวเองเพื่อเป็นความสิริมงคลและได้ทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับไปแล้วและเกิดกลอุบายให้คนรู้จักความกตัญญูกตเวทิตา ได้สรงน้ำพระ รดน้ำดำหัวผู้ใหญ่เพื่อบ่งบอกถึงความกตัญญูและก่อเกิดความสามัคคีแก่กันและกัน

   

อื่นๆ

เมนู