ข้าพเจ้านางสาวมนรดา ฉิมรัมย์ ประเภท:บัณฑิตจบใหม่
หลักสูตร:โครงการยกระดับสังคมรายตำบลแบบบูรณาการมหาวิทยาลัยสู่ตำบลเพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ พื้นที่ที่รับผิดชอบตำบลโนนขวาง อำเภอบ้านด่าน จังหวัดบุรีรัมย์
บ้านดงกระทิงตั้งหมู่บ้านเมื่อประมาณ พ.ศ. 2418 โดยส่วนมากเป็นชาว “ส่วย” (กวย) อพยพมาจากเมืองสุรินทร์ ซึ่งมีนายด้วงเป็นผู้นำและได้เดินทางมาเรื่อยๆ จนมาถึงสถานที่หมู่บ้านแห่งนี้ เห็นว่าหมู่บ้านแห่งนี้มีทำเลที่เหมาะสมกับการประกอบอาชีพ จึงตกลงกันย้ายมาอยู่ ณ ที่แห่งนี้ ตั้งแต่นั้นมาชาวบ้านจึงเรียกกันว่า “บ้านดงกะทิง” (เซาะกะตีง) จนถึงปัจจุบัน. จำนวนประชากรภายในหมู่บ้านประมาณ 800 คน มีโรงเรียน 1 แห่ง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ 1 แห่ง วัด 1 แห่ง อยู่ห่างจากเมืองบุรีรัมย์ประมาณ 20 กิโลเมตร ถนนหนทางไปมาสะดวกดี คนในหมู่บ้านให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีความสมัครสมานสามัคคี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กันเป็นอย่างดี
ในช่วงต้นเดือนธันวาคมได้มีการวางแผนกิจกรรมในการลงพื้นที่ปฏิบัติงานในโครงการพัฒนาศักยภาพชุมชนโดยการถ่ายทอดองค์ความรู้ในการเพิ่มศักยภาพ ทีมงานจึงได้มีการชักชวนชาวบ้านให้มาเข้ารับการอบรม แลกเปลี่ยนความรู้ ร่วมกับวิทยากร ทางทีมงานจึงได้ประสานงานกับชาวบ้านเพื่อนัดหมายวันและเวลาเพื่อนัดหมายการเข้ารับการอบรมในครั้งนี้ ซึ่งทีมงานได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาเพิ่มทักษะในการเสริมสร้างอาชีพในชุมชน ทักษะการทำการตลาด ให้กับชาวบ้านในชุมชนบ้านดงกระทิง ได้มีส่วนร่วมในการอบรมในครั้งนี้ และได้นำความรู้ที่ได้รับในการเข้ารับการอบรมไปปรับใช้ในผลิตภัณฑ์ของตน เพื่อเป็นการต่อยอดสินค้าและมีช่องทางในการขายสินค้ามากขึ้น
สิ่งที่ทีมงานและชาวบ้านได้มีกิจกรรมร่วมกันในการเข้ารับการอบรมในครั้งนี้ มีดังนี้
1. ผู้เข้ารับการอบรมทำการลงทะเบียนกับทีมงาน
2. ทีมงานงานได้จัดหาวิทยากรมาให้ความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ในชุมชน
3. วิทยากรได้บรรยายให้ความรู้ผลิตภัณฑ์ในชุมชน และช่องทางการตลาด
4. ชาวบ้านได้แลกเปลี่ยนรู้ร่วมกับวิทยากร และได้ดูสินค้าตัวอย่างที่วิทยากรได้นำมาโชว์
5. ได้มีการจัดทำไลน์กลุ่มบ้านดงกระทิงเพื่อแชร์ข่าวสารต่างๆเกี่ยวกับข้อมูลสินค้าและการตลาด
6. กิจกรรมการอบรมเสร็จสิ้นลง
สิ่งที่ได้จักการปฏิบัติงานในครั้งนี้ รู้สึกประทับใจ ชาวบ้านได้ให้ความร่วมมือกับทีมงานเป็นอย่างดี ได้ถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ในชุมชนอย่างเต็มความสามารถ ชาวบ้านได้แลกเปลี่ยนความรู้กับทีมงานร่วมกับวิทยากร รวมถึงการชี้แนะช่องทางการตลาดในกับชาวบ้านได้นำสินค้าของตนไปวางขายได้ได้หลายช่องทาง เพื่อช่วยเพิ่มรายได้ให้กับชาวบ้านในการขายสินค้า