ข้าพเจ้านางสาวสโรชา  คะเชนรัมย์ ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ตำบลปราสาท อำเภอบ้านด่าน จังหวัดบุรีรัมย์

แหล่งน้ำที่มีความจำเป็นในชุมชน

       ชุมชนในตำบลปราสาท อำเภอบ้านด่าน จังหวัดบุรีรัมย์ มีแหล่งน้ำที่เรียกว่าสระน้ำหรือหนองน้ำไว้ใช้ ทุกหมู่บ้าน ส่วนแหล่งน้ำที่ใช้ในการเกษตรจะมีเป็นบางหมู่บ้าน จากการลงพื้นที่สำรวจบ้านมะขามป้อม หมู่ 11 และบ้านสะแก หมู่ 17 บ้านมะขามป้อม มีแหล่งน้ำที่สำคัญในชุมชน 2 แหล่ง 1. แหล่งน้ำประปาหมู่บ้าน 2. แหล่งน้ำเพื่อการเกษตร บ้านสะแก มีแหล่งน้ำ 1 ที่ เป็นน้ำประปา ส่วนเพื่อการเกษตรก็จะเป็นน้ำจากหนองกะโตวา ด้วยพื้นที่อาจจะอยู่ใกล้

1. แหล่งน้ำประปาหมู่บ้าน ที่ใช้ในการดำรงชีวิตของชุมชนบ้านมะขามป้อม จะอยู่หน้าหมู่บ้าน สระน้ำนี้จะไม่เคยหมด มีใช้ตลอดทั้งปี เพราะทางหมู่บ้านได้ทำการเจาะบาดาลติดตั้งแผงโซล่าเซล เพื่อที่จะให้น้ำไหลเข้าสระน้ำ ช่วยให้น้ำในสระเพิ่มขึ้น ไม่มีหมด เรื่องนี้เป็นข้อดีในการกักเก็บน้ำไว้ใช้ในชุมชุม ไม่ทำให้เกิดความแห้งแล้ง แต่น้ำประปาที่ใช้อาจจะยังไม่สะอาดพอ เพราะมีตะกอน ส่วนน้ำบาดาลอาจมีผลต่อการใช้อาบเพราะอาจจะเหนียวตัว แต่ข้อดีของน้ำบาดาลเมื่อมาผสมกับน้ำธรรมดาที่อยู่ในสระทำให้สระน้ำใสขึ้นกว่าเดิม

สระน้ำประปาหน้าหมู่บ้านมะขามป้อม

เจาะน้ำบาดาลช่วยกักเก็บน้ำเพิ่มเข้าในสระ

การเพิ่มน้ำจากการเจาะน้ำบาดาลทำให้น้ำใสขึ้นกว่าเดิม

2. แหล่งน้ำเพื่อการเกษตร มีหลังหมู่บ้านมะขามป้อม จะเป็นแหล่งน้ำที่ใช้เพื่อการเกษตร สระน้ำนี้จะมีการเลี้ยงปลา เพื่อไว้สร้างกิจกรรมการลงปลาของหมู่บ้าน ที่คนต่างชุมชนสามารถมาหาได้ เพื่อสร้างรายได้ให้ชุมชุน 2-3 ปีทำกิจกรรม 1 ครั้ง เพื่อจะให้ปลาได้โตพอที่จะทำกิจกรรมได้ และพื้นที่รอบๆสระก็จะเป็นที่สาธารณะ ที่ทางผู้นำชุมชนได้จัดสรรให้คนในหมู่บ้านคนไหนที่ไม่มีพื้นที่ในการทำเกษตร มาหยิบจับทำมาหากินได้ ก็จะมีชาวบ้านมาปลูกผักไว้กินเอง และขายเพิ่มรายได้ไปอีก ผักส่วนใหญ่ก็จะเป็น ผักกาด ผักชี พริก หลายอย่างที่ชาวบ้านอยากจะปลูก ได้ผลดีเพราะมีน้ำรดที่เพียงพอ และน้ำใกล้ต่อพื้นที่ปลูก

สระน้ำเพื่อการเกษตรบ้านมะขามป้อม

เป็นแหล่งน้ำที่ธรรมชาติมาก เพราะต้องใช้ในการเลี้ยงปลาเพื่อจัดกิจกรรมงกลา และไว้ใช้ในการรดผัก อาจดูน้ำขุ่นๆ เพราะไว้ใช้เพื่อการเกษตรอย่างแท้จริง

ผลผลิตจากชาวบ้านที่ปลูก

พืชผักที่อยู่รอบๆสระพื้นที่สาธารณะจัดสรรทำกิน

ส่วนแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรในการทำนา ก็จะไม่มี ส่วนใหญ่ชาวบ้านจะหวังพึ่งแค่ฝนที่ตกลงมา เพื่อจะได้มีน้ำในนา จะเป็นแบบนี้มาตลอด ส่วนบางคนก็อาจจะมีสระน้ำเล็กๆ หรือเจาะน้ำบาดาลไว้ใช้ของตนเองไว้สูบน้ำเข้านา แต่โดยส่วนใหญ่ก็รอฝนตกลงมา แต่ในช่วงเดือนประมาณ กรกฎาคม – กันยายน นาข้าวเขียวสวยมาก เพราะช่วงนี้ฝนก็ตกลงมาแทบจะทุกวัน

นาของชาวบ้านในชุมชน

สุดท้ายนี้ต้องขอบคุณไปยังผู้นำชุมชนที่ให้ข้อมูลเป็นอย่างดีในการสำรวจแหล่งน้ำที่สำคัญในชุมชนครั้งนี้

อื่นๆ

เมนู