ข้าพเจ้า นางสาวณัฐมล ผาทอง ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ตำบลวังเหนือ อำเภอบ้านด่าน จังหวัดบุรีรัมย์ สังกัดคณะพยาบาลศาสตร์ หลักสูตรการพัฒนาชุมชนต้นแบบโดยใช้สมรรถนะการบริหารจัดการตนเอง NS03 ได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลแบบฟอร์ม 01และ 02 แบบฟอร์ม 01 คือเรื่องสอบถามข้อมูลระดับบุคคลครัวเรือนและชุมชน แบบฟอร์ม02 คือผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดยทางทีมงานของดิฉันนั้นได้ทำการลงสำรวจพื้นที่จริงและพบปะพูดคุยกับเช้าบ้าน ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ ถึง 17 กุมพาพันธ์ 2564 ในโครงการของทางมหาลัยคือโครงการ การยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ มหาวิทยาลัยสู่ตำบลเพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ
ทางดิฉันและทีมงานได้รับผิดชอบในการลงสำรวจพื้นที่ตำบลวังเหนือ อำเภอบ้านด่าน ได้แก่ทั้งหมด 6 หมู่บ้าน คือ หมู่ที่1 บ้านปลัดปุ๊ก หมู่ที่2 บ้านอารัง หมู่ที่ 4 บ้านกะหาด หมู่ที่5 บ้านสำโรง หมู่ที่9 บ้านโสนน้อย หมู่ที่12 บ้านสัมพันธ์ โดยได้ทำการลงสำรวจไปพูดคุยกับชาวบ้านสอบถามข้อมูลเบื้องต้นและได้สอบถามถึงระบบความยุติธรรมของตำบลวังเหนือ มีหลักยุติธรรมของชุมชน มีดังนี้
1.การจัดระเบียบชุมชน ป้องกันและ ควบคุมอาชญากรรมและการกระทําผิด เป็นการกระทําที่จะยับยั้งหรือชะลอเวลาไม่ให้นําไปสู่สถานการณ์การเกิดอาชญากรรมและการกระทําผิด โดยจะมีกิจกรรมที่มีลักษณะเป็นการควบคุม จัดระเบียบ และให้ความรู้เกียวกับอาชญากรรม การกระทําผิดระเบียบชุมชน การคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของพลเมืองให้แก่เยาวชน
2. การจัดการความขัดแย้งในเชิงสมานฉันท์ เป็นการกระทําที่ยุติหรือบรรเทาความรุนแรงของความ ขัดแย้งที่เกิดขึ้นในชุมชนด้วยการให้ประสานงานดําเนินการเองในชุมชนหรือให้หน่วยงานที่เกียวข้องกับคนในชุมชนตามรูปแบบวิธีการที่ไม่ใช้ความรุนแรง โดยมีวิธีการรูปแบบต่างๆ เช่น การไกล่เกลีย การประชุมฟื้นฟู สัมพันธภาพ การประชุมกลุ่มครอบครัว
3.การช่วยเหลือกันในชุมชน ทุกคนจะต้องช่วยเหลือกันในเรื่องต่างๆสอดส่องดูแลลูกหลานไม่ให้ทำผิดกฏหมายของประเทศชาติและไม่สร้างความเดือดร้อนให้กับครอบครัวและเพื่อนบ้าน
4. คนในชุมชนได้รับคุณภาพชีวิตที่ดีการเข้าถึงสิทธิต่างๆคนในชุมชนจะได้รับสวัสดิการจากภาครัฐและท้องถิ่นอย่างเสมอภาคและทั่วถึง
5. ไม่ถูกละเมิดสิทธิต่างๆได้รับความคุ้มครองสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคลอย่างเสมอภาคภายในกฏหมายบ้านเมือง
6. การสร้างชุมชนเป็นธรรมให้ความยุติธรรมกับทุกคนในชุมชน เช่นเด็กทุกคนในชุมชนมีสิทธิ์ที่จะได้รับการศึกษาจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเป็นศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่ได้รับรางวัลต่างๆมากมายอย่างเท่าเทียมกัน
7. มีการกระจายอำนาจในท้องถิ่น การแบ่งอำนาจไปยังองค์กรต่างๆ เช่นองค์การบริหารส่วนตำบล กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน
8. ได้รับการปฏิบัติและดูแลอย่างเทียมกันถึงแม้คนในชุมชนจะมีความแตกต่างทางด้านภาษา มีทั้งพูดภาษาเขมร ภาษาส่วย แต่ไม่มีการแบ่งแยกทางภาษาทุกคนในชุมจะได้รับการช่วยเหลือจากภาครัฐลท้องถิ่นอย่างเสมอภาค
9. ระบบสังคมในชุมชนมีการพัฒนาที่เป็นธรรมไม่แบ่งแยกฐานนะชนชั้นกันในชุมชน
10. ภายในชุมชนมีการกระจายในการดูแลเรื่องสุขภาพและความปลอดภัยในชุมชน เช่นทุกหมู่บ้านจะมี อสม.คอยดูแลเรื่องโควิค และมีอปพร. คอยดูแลเรื่องความปลอดภัยในหมู่บ้าน
11. การป้องกันปัญหาอัญชญากรรมในชุมชน
คนที่มีอายุตั้งแต่60ปีขึ้นไปจะได้รับเบี้ยยังชีพครบทุกครัวเรือน
12. ในการพัฒนาอาชีพสินค้าOTOP เช่น จักรสาน น้ำพริก ทอผ้าไหม ถ้าทุกคนในชุมชนสนใจมีสิทธิ์ที่จะเข้ามาสมัครร่วมกันพัฒนาสินค้าOTOPได้โดยไม่จำกัดจำนวนคนเพื่อเป็นการพัฒนาคนในชุมชนให้มีอาชีพและมีรายได้มาใช้จ่ายในครอบครัว
ข้าพเจ้าได้เรียนรู้ถึงระบบความยุติธรรมของคนในชุมชนตำบลวังเหนือ อำเภอบ้านด่าน จังหวัดบุรีรัมย์ว่าสิ่งสำคัญ คือ การไม่ละเมิดสิทธิ การเคารพซึ่งกันและกัน การจัดระบบความปลอดภัย เป็นจะทำให้ชุมชนเกิดระบบควายุติธรรมและมีส่วนสำคัญในการพัฒนาตำบลต่อไป