ข้าพเจ้า นางสาวณัฐมล ผาทอง ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ตำบลวังเหนือ อำเภอบ้านด่าน จังหวัดบุรีรัมย์  สังกัดคณะพยาบาลศาสตร์ หลักสูตรการพัฒนาชุมชนต้นแบบโดยใช้สมรรถนะการบริหารจัดการตนเอง NS03 ได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลแบบฟอร์มแนวทางการสำรวจข้อมูลเพื่อการดำเนินกิจกรรม หลักสูตร “การพัฒนาชุมชนต้นแบบโดยใช้สมรรถนะการบริหารจัดการตนเอง”ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม -16 มีนาคม

ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่มีพื้นที่ที่มีความเหมาะสมต่อการเลี้ยง “โคเนื้อ ” อีกทั้งรัฐบาลมีนโยบายผลักดัน “โคเนื้อไทย” เป็นสินค้าอุตสาหกรรมระดับพรีเมี่ยม ด้วยการแปรรูปพัฒนาคุณภาพ มาตรฐาน รูปแบบ และบรรจุภัณฑ์ของสินค้า โดยภูมิภาคที่มีการเลี้ยงโคเนื้อมากที่สุด คือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 46.85 รองลงมาคือภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคใต้ ร้อยละ 20.32 17.67 และ 15.16 ตามลำดับ ซึ่งจังหวัดที่เลี้ยงโคเนื้อมากที่สุดในประเทศไทย ได้แก่ นครราชสีมา สุรินทร์ กาญจนบุรี ศรีสะเกษ อุบลราชธานี บุรีรัมย์ ร้อยเอ็ด สกลนคร และนครศรีธรรมราช อุตสาหกรรมเลี้ยงโคเนื้อ โคขุน ได้กลายเป็นอุตสาหกรรมการเกษตรขนาดใหญ่ในประเทศไทยและจะเป็นอีกอุตสาหกรรมช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยเพราะความต้องการผู้บริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศเป็นจำนวนมาก

ทางดิฉันและทีมงานได้รับผิดชอบในการลงสำรวจพื้นที่ พบว่าหมู่บ้านที่มีการจัดกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้เลี้ยงโคขุนและโคเนื้อ คือหมู่ที่5 บ้านสำโรง ต.วังเหนือ อ.บ้านด่าน จ.บุรีรัมย์ ซึ่งมีนาย เชี่ยวชาญ ชะงักรัมย์ เป็นหัวหน้ากลุ่ม กลุ่มนี้จัดตั้งขึ้นเมื่อปีพ.ศ.2562 มีจำนวนสมาชิกภายในกลุ่มทั้งหมด 30 คน โดยมีชาวบ้านหมู่ที่10 และหมู่ที่2 ร่วมด้วย ความเป็นมาของกลุ่มนี้คือ เนื่องจากคนในชุมชนเลี้ยงวัวเป็นจำนวนมาก ชาวบ้านเลยช่วยกันคิดสร้างกลุ่มวิหาสกิจชุมชนผู้เลี้ยงโค ขึ้นมาเพื่อที่จะสามารถของบประมาณต่างๆได้ และนำงบประมาณไปซื้อหัวอาหาร และพันธ์โคขุนมาเลี้ยงให้ได้น้ำหนักตามที่ต้องการแล้วจะนำส่งออกไปต่างประเทศที่มีการทำสัญญาร่วมกันกับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้เลี้ยงโค ซึ่งจำนวนโคขุน โคเนื้อ รวมกัน 44 ตัว วัวต้นน้ำอีก160ตัว  การเลี้ยงโคขุน และวัวต้นน้ำหัวหน้ากลุ่มเขาจะแบ่งให้แต่ละคนเลี้ยงคอกใครคอกมันเพราะง่ายต่อการดูแล อาหารหลักๆที่เลี้ยงโคขุน โคเนื้อ และวัวต้นน้ำ คือหญ้าเปอร์เซียและหัวอาหารต่างๆ และเวลามีอุปสรรค หัวหน้ากลุ่มจะนัดหมายให้แต่ละคนไปประชุมกันที่ศูนย์ประชุมของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้เลี้ยงโคเพื่อหาทางแก้ไขต่อไป

     

อื่นๆ

เมนู