บทความประจำเดือนเมษายน
ผ้าไหมนาโพธิ์
โครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้กับประเทศ
AG03(2) ตำบลดอนกอก อำเภอนาโพธิ์ จังหวดบุรีรัมย์ โดยนายฐิติกร จันทร์ประโคน ผู้ปฏิบัติงานประเภท บัณฑิตจบใหม่
ผ้าไหม ถือเป็นมรดกอันล้ำค่าของเมืองไทย มีความงดงามของเส้นไหมที่เป็นเอกลักษณ์ ลวดลายที่บ่งบอกถึงความเป็นไทย ทำให้เป็นผ้าไทย ที่ได้รับความนิยม และโด่งดังไปทั่วโลก
การทอผ้าไหมของประเทศไทย ในอดีตเป็นการทำกันในครัวเรือนเพื่อใช้เอง หรือทำขึ้นเพื่อใช้ในงานพิธี เช่น งานบุญ งานแต่งงาน หรืองานสังคมต่างๆ คนไทยมีการนำเอาศิลปะมาประยุกต์ใช้กับวัสดุที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาสร้างสรรค์ให้เกิดประโยชน์ และมากยิ่งกว่าการใช้งาน คือความสวยงามและความมีเสน่ห์แบบไทย เป็นการแสดงถึงความประณีตของคนไทยที่มีมาแต่ในอดีตและความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบซึ่งยังสืบต่อมาถึงปัจจุบัน และยังคงสร้างสรรค์ผลงานจากผ้าไหมในรูปแบบต่างๆมากยิ่งขึ้น
โดยในปัจจุบันได้มีการทอผ้าไหมอยู่ทั่วทุกอำเภอในบุรีรัมย์แต่แหล่งทอผ้าใหม่ที่ยิ่งใหญที่และสำคัญที่สุดคืออำเภอนาโพธิ์โดยเฉพาะที่หมู่บ้านโคกกุงซึ่งมีศูนย์พัฒนาผ้าไหมและกลุ่มแม่บ้านเลี้ยงไหมนอกจากนี้ยังมีที่บ้านมะเฟือง อำเภอพุทไธสง ซึ่งทอผ้าไหมด้วยกี่ธรรมดาหรือกี่ชาวบ้าน
ผ้าไหมนาโพธิ์ถือเป็นสิ่งที่เป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งประจำจังหวัดบุรีรัมย์ เนื่องจากมีจุดเด่นคือการทอมือ เนื้อแน่น เส้นใหญ่ ไม่มันวาว เส้นไหมละเอียด แม้เนื้อผ้าจะแน่น แต่เบาโปร่งสบาย และลวดลายที่สวยงามเป็นโดดเด่นทั้งลายพื้นเมืองและลายประยุกต์ ด้วยเหตุนี้เอง ผ้าไหมนาโพธิ์จึงเป็นที่รู้จักโดยทั่วไป
และเพื่อสอดคล้องกับสถานการณ์บ้านเมืองในปัจจุบันที่ได้รับผลกระทบจากโรคติดต่อ COVID-19 ทางคณะผู้ปฏิบัติงานจึงได้หารือกับอาจารย์และผู้นำชุมชนถึงการพัฒนาและออกแบบสินค้าประจำชุมชนให้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่สอดคล้องกับเหตุการณ์ในปัจจุบัน เพื่อให้ชุมชนมีสินค้าที่หลากหลายสร้างแรงดึงดูดให้นักท่องเที่ยวเข้ามาเยี่ยมชม และสร้างรายได้ให้แก้ผู้คนในชุมชนโดยทั่วกัน