บ้านปะคำ หมู่ 2
ผู้เขียน: กฤติธี วารีชัยสง
บ้านปะคำ เป็นหมู่บ้านเล็กๆ ที่ตั้งอยู่ในตำบลเมืองโพธิ์ อำเภอห้วยราช จังหวัดบุรีรัมย์ ประประชากรไม่หนาแน่นมาก ลักษณะทางกายภาพโดยรอบล้อมไปด้วยทุ่งนา มีภาษาประจาท้องถิ่นคือภาษาเขมร บ้านปะคำเป็นหมู่บ้านที่ร่มรื่นและเงียบสงบ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในชุมชนส่วนใหญ่เป็นวัยผู้สูงอายุ และใช้ชีวิตอาศัยอยู่อย่างเรียบง่าย ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมและอาชีพทานาเป็นหลัก ในบางหลังคาเรือนก็ได้มีการปลูกผักสวนครัวไว้สาหรับบริโภคเอง และในบางหลังคาเรือนก็มีการเลี้ยงสัตว์ไว้เพื่อบริโภคและจาหน่าย เช่น เป็ด ไก่ วัว ควาย กบ
บ้านปะคำ อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอห้วยราชประมาณ 15 กิโลเมตร อยู่ห่างจาก อบต.เมืองโพธิ์ประมาณ 600 เมตร การเดินทางค่อนข้างสะดวก มีแหล่งน้ำ เป็นอ่างเก็บน้ำร่วมหมู่บ้านในระแวกใกล้เคียง ข้าพเจ้าเป็นเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการประเภทบัณฑิตจบใหม่ ได้รับมอบหมายให้ลงพื้นที่เพื่อปฏิบัติการสารวจข้อมูลตามโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) โดยใช้แบบสอบถามข้อมูลระดับบุคคล ครัวเรือนและชุมชน (แบบฟอร์ม 01) และแบบสอบถามเกี่ยวกับผลกระทบจากโรคโควิด-19 (แบบฟอร์ม 02) ซึ่งได้รับความช่วยเหลือจากผู้ใหญ่บ้านและผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านเรื่องการอำนวยความสะดวกในการดำเนินการเก็บข้อมูลในครั้งนี้ จากการเก็บข้อมูลพบว่า ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนาเป็นหลัก ทำนาปีละ 1 ครั้ง เริ่มจากช่วงเดือนพฤษภาคม ถึงเดือนธันวาคม การทานานี้เป็นการทานาเพื่อไว้บริโภคเองในครัวเรือนเป็นส่วนใหญ่ และได้มีการจำหน่ายบ้างเป็นบางส่วน หลังจากฤดูการทำนา ประชากรบางส่วนทาอาชีพรับจ้าง และเลี้ยงสัตว์ ได้แก่ เป็ด ไก่ วัว ควาย และกบ สำหรับปัญหาผลกระทบจากโรคโควิด-19 พบว่าค่อนข้างได้รับผลกระทบอยู่ในระดับหนึ่ง ส่วนด้านความรู้เกี่ยวกับโรคโควิด-19 ไม่ว่าจะเป็นความรู้เกี่ยวกับโรคเองและการป้องกันโรค ประชากรมีความรู้ในระดับหนึ่ง เพราะมีหน่วยงานในพื้นที่ เช่น อสม. ลงมาให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรค โดยมีการสวมหน้ากากอนามัยเวลาที่ออกไปในที่ที่มีผู้คนแออัด และใช้เจลหรือสเปรย์แอลกอฮอร์ล้างมือ
สำหรับการลงพื้นที่ไปเก็บข้อมูลในครั้งนี้ ข้าพเจ้ามีความประทับใจเป็นอย่างยิ่ง เพราะได้ร่วมมือจากชาวบ้านเป็นอย่างดี มีความเป็นกันเอง ทำให้การดำเนินการเก็บข้อมูลสำรวจเป็นไปได้ด้วยดี สิ่งที่ข้าพเจ้าอยากเสนอแนะคืออยากให้มีการส่งเสริมพัฒนาอาชีพให้กับชาวบ้านในชุมชนเพื่อให้มีอาชีพที่หลากหลาย และมีรายได้เพิ่มมากขึ้น