การพัฒนาความรู้ที่ได้รับจากการปฏิบัติงาน
การปฏิบัติงานของนักพัฒนารัฐบาลดิจิทัล สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอแคนดง จังหวัดบุรีรัมย์
ประจำเดือน กันยายน 2564
นางสาวอริษา อุปเท่ห์
ดิฉัน นางสาวอริษา อุปเท่ห์ ผู้ปฏิบัติงานตามโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบลสร้างรากแก้วให้ประเทศ) ในส่วนของ ตำบลร่อนทอง อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ ประจำหน่วยงาน สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอแคนดง ตำบลแคนดง อำเภอแคนดง จังหวัดบุรีรัมย์ ในตำแหน่ง นักพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (นพร.) การดำเนินงานใน เดือน กันยายน 2564 โดยการดำเนินงานในแต่ละวันของดิฉันมีดังนี้ค่ะ
วันที่ 14 กันยายน 2564 ดิฉันได้ติดตามพัฒนากรอำเภอแคนดง ลงพื้นที่ ณ องค์การบริหารส่วนตำบลดงพลอง ตามโครงการจัดทำและประสานแผนพัฒนาตำบล และมีหัวหน้าส่วน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ได้เข้าร่วมประชุมที่องค์การบริหารส่วนตำบลดงพลอง วันที่ 15 กันยายน 2564 ลงพื้นที่ ณ องค์การบริหารส่วนตำบลหัวฝาย ตามโครงการจัดทำและประสานแผนพัฒนาตำบล และมีหัวหน้าส่วน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ได้เข้าร่วมประชุมที่องค์การบริหารส่วนตำบลหัวฝาย วันที่ 16 กันยายน 2564 ลงพื้นที่ ณ องค์การบริหารส่วนตำบลแคนดง ตามโครงการจัดทำและประสานแผนพัฒนาตำบล และมีหัวหน้าส่วน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ได้เข้าร่วมประชุมที่องค์การบริหารส่วนตำบลแคนดง วันที่ 17 กันยายน 2564 ลงพื้นที่ ณ องค์การบริหารส่วนตำบลสระบัว ตามโครงการจัดทำและประสานแผนพัฒนาตำบล และมีหัวหน้าส่วน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ได้เข้าร่วมประชุมที่องค์การบริหารส่วนตำบลสระบัว ลงพื้นที่ หมู่ที่ 10 บ้านการะโก ตำบลแคนดง อำเภอแคนดง จังหวัดบุรีรัมย์ จัดเก็บข้อมูลความจำเป็นของหมู่บ้านพื้นฐาน (จปฐ) สอบถามข้อมูลพื้นฐาน ข้อมูลประชากรในครัวเรือน ความเป็นอยู่ครัวเรือนอยู่ดี มีสุขไหม รายรับ รายจ่าย และสอบถามเรื่องสถานการณ์ โควิด-19 ว่ามีใครหรือครัวเรือนไหนรับผลกระทบจากโควิด-19 ในรอบนี้บ้าง และดิฉันก็ได้ช่วยพัฒนากรอำเภอทำเอกสารเบิกจ่าย “โคก หนอง นา โมเดล” คีย์ข้อมูล จับพิกัดแปลง “โคก หนอง นา โมเดล” ลงในระบบ ทำการประชาสัมพันธ์ลงใน Facebook : สพอ.แคนดง อำเภอแคนดง , LINE : พัฒนาการอำเภอ ลงรับหนังสือราชการระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ ออกเลขหนังสือส่งของสำนักงานและระบบทะเบียนกลาง
จากการทำงานในหน่วยงานที่ผ่านมา ดิฉันได้รับองค์ความรู้จากหน่วยงาน และสัมผัสการลงพื้นที่ได้จริง และได้รับรู้เรื่องการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ “โคก หนอง นา โมเดล” ดิฉันสามารถนำความรู้ที่ได้จากหน่วยงาน ไปบอกต่อที่บ้านในการปฏิบัติงานเกษตรทฤษฎีใหม่ และได้รู้จักระบบต่างๆที่พัฒนากรอำเภอได้สอนการคีย์ระบบ จปฐ. และได้เรียนรู้การจับพิกัดนา ของแปลง “โคก หนอง นา โมเดล” เพื่อคีย์เข้าระบบส่วนกลาง