โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย

บทความรายงานปฏิบัติงานประจำเดือนพฤศจิกายน

 

คณะทำงาน U2T ตำบลร่อนทอง ได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลในชุมชนทั้ง 18 หมู่บ้าน โดยได้ทำการเก็บข้อมูล Community Big Data  หรือ CBD ทั้งหมด 10 ด้าน ได้แก่ ผู้ที่ย้ายกลับบ้านเนื่องจากสถานการณ์โควิด,  แหล่งท่องเที่ยว, ที่พัก/โรงแรม, ร้านอาหารในท้องถิ่น, อาหารที่น่าสนใจประจำถิ่น, เกษตรกรในท้องถิ่น, พืชในท้องถิ่น, สัตว์ในท้องถิ่น, ภูมิปัญญาในท้องถิ่น, และแหล่งน้ำในท้องถิ่น เพื่อให้ได้ข้อมูลชุมชนขนาดใหญ่ และนำข้อมูลมาวิเคราะห์หาจุดเด่น และ Pain Point ของตำบลร่อนทอง

จากการลงพื้นที่เก็บข้อมูลทั้ง 10 ด้านข้างต้น ทีมวิเคราะห์ข้อมูลได้เลือกจุดเด่น 3 ด้าน ได้แก่ แหล่งท่องเที่ยว ภูมิปัญญาท้องถิ่น และอาหารที่น่าสนใจประจำถิ่น จากนั้นนำจุดเด่นทั้ง 3 ด้าน มา Cleaning Data และวิเคราะห์หา Pain Point ดังนี้ ด้านแหล่งเที่ยวของตำบลร่อนทองที่สำคัญ ได้แก่ สนามบินบุรีรัมย์ อาจจะต้องนำ Signature Product ในท้องถิ่น มาเป็นสินค้าของฝากหรือประกอบอาหารให้กับนักท่องเที่ยว เช่น น้ำพริกนรกปลาทู ผ้าไหม เป็นต้น ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น ได้แก่ ผ้าไหม การออกแบบลวดลายของผ้าไหม ยังไม่เป็นเอกลักษณ์ และไม่สามารถผลิตได้จำนวนมาก เนื่องจากเป็นสินค้าหัตถกรรม และเปลผ้า ยังเป็นสินค้าไม่เป็นที่รู้จักในตลาดออนไลน์ เนื่องจากยังไม่มีการประชาสัมพันธ์ เป็นต้น ด้านอาหารที่น่าสนใจประจำถิ่น ได้แก่ น้ำพริกนรกปลาทู ยังไม่มีการรองรับมาตรฐาน สถานที่ผลิตสินค้าอยู่ในเขตที่พักชุมชนทำให้เกิดข้อจำกัดในด้านการขยายกำลังการผลิต และไข่เค็มใบเตย การวางจำหน่ายสินค้ายังเป็นการขายแบบพื้นบ้านตลาดทั่วไป ยังไม่มีการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ตราสินค้า หรือฉลาก เพื่อดึงดูดความสนใจ เป็นต้น นอกจากนี้ ทีมวิเคราะห์ข้อมูล ยังได้นำข้อมูลที่ได้จากการเก็บข้อมูลมาเพิ่มลงใน Google Map เพื่อเป็นการแสดงจุดเด่นของตำบลร่อนทองอีกด้วย

จากการดำเนินงานเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล Community Big Data : CBD ทำให้เห็นว่าตำบลร่อนทองของเรามีจุดอ่อนและจุดแข็งอย่างไรบ้าง และสามารถนำจุดอ่อนเหล่านั้นมาพัฒนาตำบลร่อนทองต่อไป การดำเนินงานในครั้งนี้ มีความประทับใจในการทำงานเป็นทีม ทุกคนมีความสามัคคีกันดีมาก ส่งผลให้การทำงานสำเร็จไปได้ด้วยดี

 

 

วีดีโอประจำเดือน

 

รูปประกอบการทำกิจกรรม

 

อื่นๆ

เมนู