นายปพนวิช  ประทุม

ผ้าซิ่นตีนแดง หรือที่เรียกกันว่า “หมี่รวด” จะเป็นผ้าพื้นที่ย้อมสีแดงในส่วนของหัวซิ่นและตีนซิ่น ตัวซิ่นจะเป็นสีดำลวดลายมัดหมี่ที่มีสีแดง สีเหลือง สีน้ำตาล มีสีเขียวปนบ้างเล็กน้อย ลวดลายที่ใช้ในการทอตัวซิ่นจะเป็นลายแข่วเลื่อย ลายนาค ลายขอแบบต่าง ๆ นิยมทอเป็นไหมลีบ (เส้นไหมจากเปลือกนอกของรังไหม) เพราะมีเส้นขนาดใหญ่ ทอเสร็จเร็ว เห็นลวดลายชัดเจน ลักษณะพิเศษของผ้าซิ่นหัวแดงตีนแดงจะมีการจกสีไหมเหมือนผ้าแพรวาเพิ่มเติมของส่วนตีนซิ่นสีแดง นิยมใช้ลายเก็บตีนดาว ผ้าซิ่นตีนแดง เป็นการค้นคิดของบรรพบุรุษของชาวอำเภอพุทไธสง นับเป็นมรดกตกทอดของชาวอำเภอพุทไธสงโดยแท้

จากการได้ไปสอบถามกลุ่มแม่บ้านทอผ้านั้น ซิ่นตีนแดงแตกต่างจากซิ่นอื่น ๆ โดยสิ้นเชิง คือ หัวซิ่นและตีนซิ่นเป็นสีแดง ตัวซิ่นเป็นสีดำ หมัดหมี่สีเหลือง แดง ขาว มีเขียวปนบ้าง เครือซิ่นด้านหัวและด้านตีนกว้างประมาณ 8 หลบ (1 หลบ เท่ากับ 40 เส้น) ลายที่ใช้เป็นลายเก่าดั้งเดิม คือ ลายนาค ลายแข่วเลื่อย ลายขอต่าง ๆ นิยมทำด้วยไหมลีบ (ไหมเปลือกนอก) เพราะเส้นใหญ่ขึ้นลายได้สวยชัดเจน ทอเสร็จเร็ว ที่สำคัญ “เก็บตีนดาว” เพื่อประดิษฐ์ตกแต่งและแสดงฝีมือของผู้ผลิต

อื่นๆ

เมนู