ฉันนางสาว ชนัฐดา หลวงมัจฉา ประเภท ประชาชน ทำงานภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ระยะเวลาโครงการ 11 เดือน เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ อบรมโครงการพัฒนาศักยภาพเกษตรกร 4.0 เกี่ยวกับการทอผ้าไหม และอบรมโครงการเพิ่มศักยภาพการผลิตไก่พื้นเมืองอินทรีย์เชิงพาณิชย์ เรื่องมาตรฐานฟาร์มสัตว์ปีกปลอดโรค
กิจกรรมของเดือน สิงหาคม
-คณะอาจารย์ประจำตำบลได้นัดประชุมออนไลน์ อบรมโครงการพัฒนาศักยภาพเกษตรกร 4.0 เกี่ยวกับการทอผ้าไหมและออกแบบลายผ้าไหมม
-สรุปรายงานผลไตรมาสที่ 1-2 และนำเสนอต่อคณะกรรมการ
-จัดเตรียมสถานที่และจัดหาอุปกรณ์ในการอบรม ณ.โรงเรียนวัดสระทอง
-ลงพื้นที่จัดอบรมเชิงปฏิบัติการออกแบบโครงสีสำหรับผ้าทอมือ
-อบรมไก่พื้นเมือง โดยมีผู้เชี่ยวชาญ สพ.เบญญา เบญจศรีรักษ์
-ลงพื้นที่ติดตามผ้าไหมที่บ้านโนตะคร้อ

ขั่นตอนการกรอไหม

ขั่นตอนย้อมผ้า

ขั่นตอนมัดหมี่

ขั่นตอนการทอ
เรื่องมาตรฐานฟาร์มสัตว์ปีกและฟาร์มปลอดโรค
ไก่พื้นเมือง เช่น ไก่พันธุ์ประดู่หางด า ไก่พันธุ์เหลืองหางขาว ไก่พันธุ์แดง และไก่พันธุ์ชีเป็นแหล่งอาหาร
และสร้างความมั่นคงทางอาหารให้แก่คนไทยมาโดยตลอด และเป็นทางเลือกในการสร้างอาชีพให้แก่
เกษตรกรรายย่อย ซึ่งยังคงเป็นที่ต้องการของตลาดและมีราคาแพง ในการสร้างความเชื่อมั่นต่อผู้บริโภค
รวมถึงเป็นการเพิ่มคุณค่าและขยายตลาดที่สูงกว่า โดยการพัฒนาและสร้างระบบมาตรฐานการผลิต
เพื่อให้ได้มาตรฐานโดยเริ่มจากระดับฟาร์ม คณะกรรมการมาตรฐานสินค้าเกษตร จึงเห็นสมควรก าหนด
มาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีส าหรับฟาร์มไก่พื้นเมืองแบบเลี้ยงปล่อย
พื้นที่ในการเลี้ยงไก่พื้นเมืองและโครงสร้าง
– โรงเรือนหรือเล้าที่มีเนื้อที่เพียงพอต่อจำนวนไก่ ต้องไม่แออัด และสามารถควบคุมสัตว์ที่อาจจะเป็นพาหะนำโรคได้ เช่น หนูนก
-รั้วกั้นหรือการจัดการที่สามารถป้องกันคนและยานพาหนะเข้าพื้นที่เลี้ยง โดยรั้วอาจเป็นรั้วที่สร้างขึ้นหรือธรรมชาติ เช่น คูน้ำ ต้นไม้ เป็นต้น
-ป้ายเตือน ห้ามเข้าก่อนได้รับอนุญาต ที่ประตูทางเข้าพื้นที่เลี้ยงไก่
-มี พื้นที่กักไก่พื้นเมือง/ไก่ชนที่นำเข้ามาเลี้ยงไหม่ ก่อนนำเข้าฝูง
-จัดให้มีพื้นที่สำหรับแยกสัตว์ป่วยออกจากฝูง
-ควรมีถังขยะที่มีฝังปิดมิดชิด
-มีสถาที่เหมาะสมในการฝังหรือเผาทำลายซากสัตว์ เพื่อการควบคุมและป้องกันโรค

โรงเรือนที่มีพื้นที่เพียงพอต่อไก่

ซุ้มแยกไก่ป่วย
ป้ายเตือน ห้ามเข้าก่อนได้รับอนุญาต
การฝึงทักษะผ่านแล้วทั้ง 4 ด้าน ได้แก่1) ด้านดิจิทัล Digital Literacy
2) ด้านภาษาอังกฤษ Language Literacy
3) ด้านการเงิน Financial Literacy
4) ด้านสังคม Social Literacy
แผนปฏิบัติงานต่อไป
ทีม AG01(2) มีแผนการดำเนินงานในเดือน กันยายน 2564 โดยลงพื้นที่เก็บข้อมูลเพิ่มเติมและจัดกิจกรรมตามโครงการพัฒนาศักยภาพเกษตรกร 4.0 และยกระดับสินค้า OTOP ควบคู่ไปกับการวิเคราะห์ข้อมูล และสรุปผลของข้อมูลเพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนดำเนินงานต่อไป