โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1ตำบล 1 มหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ)

ข้าพเจ้านางสาวปนัดดา ผาสุขใจ

ประเภท กพร.

หลักสูตร ED05 คณะครุศาสตร์

ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ดำเนินงาน ต.เจริญสุข อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.บุรีรัมย์

เรื่อง การฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19ในตำบลเจริญสุข

ไวรัสโคโรนา(Coronavirus) เป็นไวรัสที่ถูกพบครั้งแรกในปี 1960 แต่ยังไม่ทราบแหล่งที่มาอย่างชัดเจนว่ามาจากที่ใด แต่เป็นไวรัสที่สามารถติดเชื้อได้ทั้งในมนุษย์และสัตว์ ปัจจุบันมีการค้นพบไวรัสสายพันธุ์นี้แล้วทั้งหมด 6 สายพันธุ์ ส่วนสายพันธุ์ที่กำลังแพร่ระบาดหนักทั่วโลกตอนนี้เป็นสายพันธุ์ที่ยังไม่เคยพบมาก่อน คือ สายพันธุ์ที่ 7 จึงถูกเรียกว่าเป็น “ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่” และในภายหลังถูกตั้งชื่ออย่างเป็นทางการว่า “โควิด-19” (COVID-19) ซึ่งในปัจจุบันได้มีวัคซีนที่จะสามารถลดการติดเชื้อโควิด-19 ดังนี้

  • Pfizer-BioNtech ฉีดในผู้ที่มีอายุ16 ปีขึ้นไป
  • Moderna ฉีดในผู้ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป
  • Astazeneca ฉีดในผู้ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป
  • Johnson & Johnson ฉีดในผู้ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป
  • Sinovac ฉีดในผู้ที่มีอายุ 18 – 60 ปี
  • Sinopharm ฉีดในผู้ที่มีอายุ 18 – 60 ปี

วัคซีนที่ทางรัฐบาลได้นำมาให้ประชาชนฉีดฟรีนั้นได้แก่ Sinovac, Astazeneca และยังมีการรอการนำเข้ายี่ห้ออื่นๆอีกด้วย

การเตรียมตัวก่อนฉีดวัคซีน

ผู้ที่ยังไม่ควรฉีดวัคซีน ได้แก่

  • อายุน้อยกว่า 18 ปี
  • กำลังตั้งครรภ์ กรมอนามัยแนะนำให้ฉีดหลังอายุครรภ์ 12 สัปดาห์เป็นต้นไป
  • เจ็บป่วยเฉียบพลัน เช่น ไข้ ถ่ายเหลว หรือเพิ่งออกจากการรักษาตัวในโรงพยาบาลไม่เกิน 2 สัปดาห์ หรือโรคเรื้อรังอาการไม่คงที่ ควรเลื่อนนัด
  • ฉีดวัคซีนห่างจากวัคซีนอื่น เช่น วัคซีนไข้หวัดใหญ่ 2 – 4 สัปดาห์ แต่วัคซีนที่มีความจำเป็น เช่น เมื่อถูกสุนัขกัดให้ฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้าได้เลย

ผู้มีประวัติแพ้ยาหรือแพ้วัคซีน แจ้งเจ้าหน้าที่ก่อนฉีดวัคซีน

  • ผู้มีอาการแพ้รุนแรงจากการฉีดวัคซีนครั้งก่อน หรือแพ้ส่วนประกอบของวัคซีน เป็นข้อห้ามในการฉีดวัคซีน
  • ผู้ที่มีประวัติแพ้อาหารสามารถฉีดวัคซีนได้
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
  • หลีกเลี่ยงการดื่มชาหรือกาแฟก่อนวันที่มาฉีด
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอ

ผลข้างเคียงหลังการฉีดวัคซีน

Sinovac ส่วนใหญ่มีอาการ ปวดแขนข้างที่ฉีด ปวดเมื่อยตามตัว มีไข้ อ่อนเพลีย ง่วงนอน หิว และอาจมีอาการ แขน หรือขาชา ผิดปกติทางสายตา เห็นภาพแหว่งครึ่งซีกตาซ้าย หรือตาขวา ปวดศีรษะท้ายทอยอย่างรุนแรง เจ็บหน้าอกความดันสูงผิดปกติ ผื่นขึ้น ปากเบี้ยว ซึ่งเป็นอาการที่เข้ากับความผิดปกติของหลอดเลือดสมอง จากการทำให้เส้นเลือดเกิดภาวะหดเกร็งขึ้น หรือสพาสซั่ม

Astazeneca มีไข้ต่ำ ๆ ครั่นเนื้อครั่นตัว ปวดเจ็บบริเวณที่ฉีด ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย อาการเหล่านี้ไม่อันตราย ร่างกายจะฟื้นฟูจะดีขึ้นเองภายใน 1 – 2 วัน ส่วนอาการ ผลข้างเคียง หลังฉีดวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า ขั้นรุนแรงที่ต้องมาพบแพทย์คือ หายใจไม่สะดวก ใจสั่น แน่นหน้าอก ปากบวม หน้าบวม หน้าแดง ตัวแดง ผื่นขึ้นหรือคันทั่วร่างกาย มีไข้สูงหนาวสั่น หน้ามืด ตาพร่า คลื่นไส้อาเจียนรุนแรง

           ผลสำรวจการฉีดวัคซีนในตำบลเจริญสุข

  • ผู้สูงอายุ 60 ขึ้นไป มีผู้ประสงคฉีดวัคซีนจำนวน 250 คน ฉีดเข็มแรกไปแล้วจำนวน 1 คน เข็มที่ 2 จำนวน 0 คน
  • ผู้มีโรคประจำตัว มีผู้ประสงคฉีดวัคซีนจำนวน 109 คน ฉีดเข็มแรกไปแล้วจำนวน 2 คน เข็มที่ 2 จำนวน 0 คน
  • ประชาชนทั่วไป มีผู้ประสงค์ฉีดวัคซีนจำนวน 552 คน ฉีดเข็มแรกไปแล้วจำนวน 32 คน เข็มที่ 2 จำนวน 2 คน

ผู้ประสงค์ฉีดวัคซีนรวมทั้งสิ้นจำนวน 911 คน

ฉีดเข็มแรกไปแล้วจำนวน 35 คน

ฉีดเข็มที่ 2 จำนวน 2 คน

อ้างอิง

ชานาธิป ไชยเหล็ก.  (2564) การฉีดวัคซีน. สื่บค้นเมื่อ 10 มิถุนายน 2564. https://thestandard.co/preparing-covid-19-vaccination/.

Tags:

อื่นๆ

เมนู