ข้าพเจ้า นางสาวทัตติยา ชุบรัมย์ ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

หลักสูตร โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ HS03

เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2564 เวลา 13.00 น. ได้เข้าร่วมการอบรมออกแบบตราผลิตภัณฑ์ ณ ศาลากลางหมู่บ้านหนองบัวราย ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2564 เวลา 10.00 น. ได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูล ณ หมู่บ้านโคกไม้แดง ตำบลบ้านสิงห์ อำเถอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2564 เวลา 13.00 น. ทำการถอดบทเรียนตั้งแต่เริ่มโครงการ

เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2564 เวลา 12.00 น. เข้าร่วมกิจกรรมจิตอาสาทำความสะอาด วัดโพธิ์คงคา ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

การพัฒนาการออกแบบบรรจุภัณฑ์และผลิตภัณฑ์ ขนมกล้วยฉาบของแม่อารมณ์ ขนมบ้าบิ่นของพี่มาลี และขนมทองม้วนของแม่ทองพูน  ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ให้ต่างไปจากเดิม เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ให้มีรูปแบบที่แสดงถึงเอกลักษณ์และเหมาสมกับผลิตภัณฑ์ ดังนั้นการพัฒนาโลโก้บรรจุภัณฑ์ จึงควรมีเอกลักษณ์โดดเด่นและมีความแตกต่าง เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถเกิดการจดจำผลิตภัณฑ์ได้ จึงสร้างภาพลักษณ์ใหม่ของผลิตภัณฑ์ให้ดูสวยงามน่าจดจำ

ในวันที่ 19 พฤศจิกายน 2564 เวลา 13.00 น. อาจารย์ประจำกลุ่มได้นัดหมายให้ผู้ปฏิบัติงานทุกท่าน เข้าร่วมการอบรมการออกแบบผลิตภัณฑ์ โดยมีวิทยากรที่มาให้ความรู้และช่วยออกแบบโลโก้ผลิตภัณฑ์ คือ อาจารย์ชินานาง สวัสดิ์รัมย์ และอาจารย์ธนพล รามฤทธิ์ อาจารย์สาขาศิลปะดิจิทัล คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ โดยมาช่วยออกแบบโลโก้ผลิตภัณฑ์ให้แก่ ขนมบ้านบิ่นของแม่มาลี ขนมกล้วยฉาบของแม่อารมณ์ และขนมทองม้วนของแม่ทองพูน โดยอาจารย์ให้ผู้ปฏิบัติงานทุกท่าน แบ้งกลุ่มออกเป็น 3 กลุ่ม เพื่อที่จะไปช่วยออกแบบโลโก้ให้แก่เจ้าของผลิตภัณฑ์และสอบถามเจ้าของผลิตภัณฑ์ว่าอยากได้โลโก้ผลิตภัณฑ์เป็นแบบไหน อยากให้โลโก้ผลิตภัณฑ์มีลักษณะอย่างไร ต้องการเพิ่มคำอธิบายเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ตรงไหนบ้าง โดยดิฉันได้รับมอบหมายให้ช่วยแม่ทองพูนในการออกแบบโลโก้ผลิตภัณฑ์ โดยแม่ทองพูนอยากได้โลโก้ที่มีลักษณะเป็นวงกลม พื้นหลังเป็นสีส้ม ที่ใช้เป็นวงกลมที่มีสีส้ม เพราะว่าสีส้ม มีความหมายถึง ความมีชีวิตชีวา ความสนุกสนาน ซึ่งอยากให้ลูกค้าได้มีความสุขและมีชีวิตชีวา และใช้รูปการ์ตูนทองม้วนมีรอยยิ้มที่มีความสุข เพื่อสามารถเข้าถึงลูกค้าได้ทุกเพศทุกวัย และบนโลโก้จะประกอบไปด้วยชื่อของผลิตภัณฑ์ คือ ทองม้วนแม่ทองพูน บอกที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ และบอกถึงจุดเด่นของขนมทองม้วนแม่ทองพูน คือ กรอบ สด ใหม่ และไม่ใส่วัตถุกันเสีย แล้เมื่อออกแบบเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็ได้นำตัวอย่างให้แม่ทองพูนดูก็เป็นที่หน้าพอใจ

ตราสัญลักษณ์และรูปลักษณ์ของบรรจุภัณฑ์ ถือว่าเป็นส่วนควบทางกายภาพที่สำคัญยิ่งต่อผลิตภัณฑ์สินค้าทุกชนิด เป็นคุณลักษณะที่จำเป็นต้องมีการออกแบบสร้างสรรค์ขึ้นเพื่อทำให้สินค้ามีความโดดเด่นและต่างไปจากคู่แข่ง เป็นทุกสิ่งทุกอย่างที่ผู้บริโภคจะได้รับเมื่อได้ซื้อสินค้าหรือบริการ

 

 

การลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลแบบสำรวจที่พักอาศัยและแบบสำรวจโรงเรียน เป็นการลงพื้นที่เกี่ยวกับการประเมินสถานการณ์ของโรคระบาดโควิด -19 `ของคนในหมู่บ้านโคกไม้แดง เด็กนักเรียน ครู และบุคลากรในโรงเรียน ของตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ การเก็บข้อมูลแบบสำรวจนี้เพื่อที่จะเอาไปประเมิน ว่าชาวบ้านในหมู่บ้านโคกไม้แดง ครู และบุคลากร ในตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ดูแลและป้องกันตนเอง จากสถานการณ์นี้ย่างไร ทำตามมาตรการที่ออกมาหรือไม่ มีการประเมินตนเองและบุคคลที่อาศัยอยู่ในครัวเรือนว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงหรือไม่ และสำหรับในโรงเรียน ในโรงเรียนมีการวัดไข้ก่อนเข้าโรงเรียนหรือไม่ มีเจลแอลกอฮอล์ให้นักเรียน ครูและบุคลากร เพียงพอหรือไม่ ครูดูแลนักเรียนอย่างไรบ้างในช่วงสถานการณ์แบบนี้

ในวันที่ 28 พฤศจิกายน 2564 เวลา 10.00 น. ดิฉันได้ออกไปสำรวจการเก็บข้อมูลสำหรับที่อยู่อาศัย และข้อมูลในแบบสำรวจประกอบไปด้วยคำถามที่คลอบคลุมเกี่ยวกับสถานการณ์โควิด -19 เพื่อที่เราจะได้ประเมินได้ว่า ชาวบ้านในหมู่บ้านโคกไม้แดง ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ดูแลสุขภาพของตนเองและคนในครอบครัวเป็นอย่างไร มีความเสี่ยงในการที่จะติดเชื้อหรือไม่ และข้อมูลในการประเมิน ประกอบไปด้วย 6 ข้อ ด้วยกัน ได้แก่

  1. มีการประเมินตนเองและบุคคลที่อาศัยอยู่ในครัวเรือนว่า

– เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อหรือหากติดเชื้อแล้วจะมีอาการรุนแรงหรือไม่ เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเรื้อรัง หรือไม่

– ในการทำงานหรือการใช้ชีวิตประจำวันมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ เช่น บุคลากรทางการแพทย์ ผู้ปฏิบัติงานในสถานบันเทิง/สถานบริการต่าง ๆ เป็นต้น หรือไม่

– ตนเองหรือบุคคลในครัวเรือนมีการเดินทางกลับจากพื้นที่เสี่ยงหรือพื้นที่ระบาด หรือไม่

  1. มีการสังเกตอาการของตนเองและบุคคลที่อาศัยอยู่ร่วมกัน หากพบว่ามีไข้ ร่วมกับไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส หายใจเร็ว หายใจเหนื่อย หรือหายใจลำบากอย่างใดอย่างหนึ่ง และอาจมีอาการ ท้องเสียร่วมด้วย ให้รีบไปพบแพทย์ทันที หรือไม่
  2. มีการดูแลสุขอนามัยด้วยการล้างมือบ่อย ๆ ด้วยน้ำและสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์โดยเฉพาะก่อนเตรียม ปรุงอาหาร ก่อนรับประทานอาหาร หลังเข้าห้องน้ำ หลังหยิบจับสิ่งสกปรก หลังเยี่ยมผู้ป่วยในสถานพยาบาล หลังสัมผัสหรือเล่นกับสัตว์เลี้ยง และหลังกลับจากนอกบ้าน หรือไม่
  3. มีการรับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ และใช้ช้อนส่วนตัว หรือไม่
  4. ไม่ใช้สิ่งของเครื่องใช้ส่วนตัวร่วมกัน เช่น ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว ช้อน แก้วน้ำ หลอดดูดน้ำ หรือไม่
  5. เมื่อกลับจากการทำภารกิจหรือกิจกรรมนอกบ้าน ให้ล้างมือ ชำระร่างกาย เปลี่ยนเครื่องแต่งกายทันที หรือไม่

จากการลงพื้นที่สำรวจเก็บข้อมูลพบว่า ชาวบ้านในตำบลบ้านสิงห์ มีการดูแลและป้องกันตนเองจากสถานการณ์โควิด-19 ได้ดีมาก เนื่องจากโรคมีมานานและยังไม่หายไปจากประเทศ ชาวบ้านจึงมีการดูแลและป้องกันตนเองมาตั้งแต่โรคเริ่มระบาด จนถึงปัจจุบันนี้ ซึ่งถือว่าชาวบ้านในตำบลบ้านสิงห์มีการรับมือกับสถานการณ์โควิดได้เป็นอย่างดี

เวลา 13.00 น. ดิฉันได้ออกไปสำรวจการเก็บข้อมูลสำหรับโรงเรียน ซึ่งโรงเรียนในตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ มีทั้งหมด 3 โรงเรียนด้วยกัน ได้แก่ โรงเรียนบ้านหนองกง โรงเรียนสิงหวิทยาคม และโรงเรียนบ้านสิงห์

( ราษฎร์อนุสรณ์ ) ซึ่งดิฉันได้รับผิดชอบในการสำรวจเก็บข้อมูลของโรงเรียนบ้านสิงห์ ( ราษฎร์อนุสรณ์ ) และในข้อมูลที่เราต้องไปสำรวจมีหลายหัวข้อในการประเมิน ดังนี้

มิติที่ 1 ความปลอดภัย จากการลดการ แพร่เชื้อโรค

  1. มีมาตรการคัดกรองวัดไข้ ให้กับนักเรียน ครู และผู้เข้ามาติดต่อ ทุกคนก่อนเข้าสถานศึกษา หรือไม่
  2. มีมาตรการสังเกตอาการเสียงโควิด 19 เช่น ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ เหนื่อยหอบ หายใจลำบาก จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รู้รส พร้อมบันทึกผล สำหรับนักเรียน ครู และผู้เข้ามาติดต่อ ทุกคน ก่อนเข้าสถานศึกษาหรือไม่
  3. มีนโยบายกำหนดให้นักเรียน ครู และผู้เข้ามาในสถานศึกษาทุกคนต้องสวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัย หรือไม่
  4. มีการจัดเตรียมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัย สำรองไว้ให้กับนักเรียนร้องขอ หรือผู้ที่ไม่มีหน้ากากเข้ามาในสถานศึกษา หรือไม่ 5. มีจุดล้างมือด้วยสบู่ อย่างเพียงพอ หรือไม่
  5. มีการจัดวางเจลแอลกอฮอล์สำหรับใช้ทำความสะอาดมือบริเวณทางเข้าอาคารเรียน หน้าประตูห้องเรียน ทางเข้าโรงอาหาร อย่างเพียงพอหรือไม่
  6. มีการจัดโต๊ะเรียน เก้าอี้นักเรียน ที่นั่งในโรงอาหาร ที่นั่งพัก โดยจัดเว้นระยะห่างระหว่างกัน อย่างน้อย 1-2 เมตร (ยึดหลัก social distancing) หรือไม่
  7. มีการทำสัญลักษณ์แสดงจุดตำแหน่งชัดเจนในการจัดเว้นระยะห่างระหว่างกันหรือไม่
  8. กรณีห้องเรียนไม่สามารถจัดเว้นระยะห่างตามที่กำหนดได้ มีการสลับวันเรียนของแต่ละชั้นเรียนหรือการแบ่งจำนวนนักเรียน หรือไม่
  9. มีการทำความสะอาดห้องเรียน ห้องต่างๆ และอุปกรณ์ที่ใช้ในการเรียน การสอน ก่อนและหลังใช้งานทุกครั้ง เช่น ห้องคอมพิวเตอร์ ห้องดนตรี อุปกรณ์กีฬา หรือไม่
  10. มีการทำความสะอาดบริเวณจุดสัมผัสเสี่ยงร่วมกัน ทุกวัน เช่นโต๊ะ เก้าอี้ ราว บันได ลิฟต์ กลอนประตู มือจับประตู – หน้าต่าง หรือไม่
  11. มีถังขยะแบบมีฝาปิดในห้องเรียนหรือไม่
  12. มีการปรับปรุงซ่อมแซมประตู หน้าต่าง และพัดลมของห้องเรียน ให้มีสภาพการใช้งานได้ดี สำหรับใช้ปิด- เปิด ให้อากาศถ่ายเทสะดวก หรือไม่
  13. มีการแบ่งกลุ่มย่อยนักเรียนในห้องเรียนในการทำกิจกรรม หรือไม่
  14. มีการปรับลดเวลาในการทำกิจกรรมประชาสัมพันธ์ ภายหลังการเข้าแถวเคารพธงชาติหน้าเสาธง หรือไม่
  15. มีการจัดเหลื่อมเวลาทำกิจกรรมนักเรียน เหลื่อมเวลากินอาหารกลางวัน หรือไม่
  16. มีมาตรการให้เว้นระยะห่างการเข้าแถวทำกิจกรรมหรือไม่
  17. มีการกำหนดให้ใช้ของใช้ส่วนตัว ไม่ใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น เช่น แก้วน้ำ ช้อน ส้อม แปรงสีฟัน ยาสีฟัน ผ้าเช็ดหน้าหรือไม่กรรม หรือไม่
  18. มีห้องพยาบาลหรือพื้นที่สำหรับแยกผู้มีอาการเสี่ยงทางระบบทางเดินหายใจหรือไม่
  19. มีนักเรียนแกนนำด้านสุขภาพ จิตอาสา เป็นอาสาสมัคร ในการช่วยดูแล สุขภาพเพื่อนนักเรียนด้วยกันหรือดูแลรุ่นน้องหรือไม่

มิติที่ 2 การเรียนรู้

  1. มีการติดป้ายประชาสัมพันธ์แนะนำการปฏิบัติเพื่อ สุขอนามัยที่ดี เช่น วิธีล้างมือที่ถูกต้อง การสวมหน้ากากอนามัย การเว้นระยะห่างระหว่างบุคคล เป็นต้น หรืออื่นๆ ที่เกี่ยวกับโรคโควิด หรือไม่
  2. การการตรียมความพร้อมการจัดการเรียนการสอนโดยการคำนึงถึงการเรียนรู้ตามวัยและสอดคล้องกับการพัฒนาการด้านสังคม อารมณ์ และสติปัญญาหรือไม่
  3. มีมาตรการกำหนดระยะเวลาในการใช้สื่อออนไลน์ในสถานศึกษาในเด็กเล็ก (ประถม) ไม่เกิน 1 ชั่วโมงต่อวัน และ ในเด็กโต (มัธยม) ไม่เกิน 2 ชั่วโมงต่อวัน หรือไม่
  4. มีการใช้สื่อรอบรู้ด้านสุขภาพผ่านช่องทาง Social media เช่น Website Facebook Line QR Code และ E-mail หรือไม่

มิติที่ 3 การครอบคลุมถึงเด็กด้อยโอกาส

  1. มีการเตรียมหน้ากากผ้า สำรองสำหรับเด็กเล็ก หรือไม่
  2. มีการปรับรูปแบบการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับบริบทการเข้าถึงการเรียนรู้ในสถานการณ์การระบาดของโรค โควิด 19 หรือไม่
  3. มีมาตรการส่งเสริมให้นักเรียนได้รับบริการสุขภาพขั้นพื้นฐานอย่างทั่วถึง หรือไม่
  4. มีมาตรการทำความสะอาดและจัดสภาพแวดล้อมของที่พักและเรือนนอนให้ถูกสุขลักษณะ พร้อมมีตารางเวรทุกวัน หรือไม่
  5. มีมาตรการทำความสะอาดและจัดสภาพแวดล้อมให้สอดคล้องกับข้อบัญญัติการปฏิบัติด้านศาสนกิจ พร้อมมีตารางเวรทุกวัน หรือไม่ (กรณีมีสถานที่ปฏิบัติศาสนกิจ)
  6. มีมาตรการดูแลนักเรียนที่มีความบกพร่องด้านการพัฒนาการ การเรียนรู้ หรือด้านพฤติกรรมอารมณ์ รวมถึงภาวะสมาธิสั้น และเด็กออทิสติก ที่สามารถ เรียนร่วมกับเด็กปกติ หรือไม่

มิติที่ 4 สวัสดิภาพและการคุ้มครอง

  1. มีการจัดเตรียมแผนรองรับการจัดการการเรียนการสอนสำหรับนักเรียนป่วย กักตัว หรือกรณี ปิดโรงเรียน หรือไม่
  2. มีการจัดเตรียมแนวปฏิบัติการสื่อสารเพื่อลดการรังเกียจและการตรีตราทางสังคม (Social stigma) หรือไม่
  3. มีการจัดเตรียมแนวปฏิบัติด้านการจัดการความเครียดของครูและบุคลากรของสถานศึกษา หรือไม่
  4. มีการตรวจสอบประวัติเสี่ยงของนักเรียนและบุคลากร รวมทั้งตรวจสอบเรื่องการกักตัวให้ครบ 14 วัน ก่อนมาทำการเรียนการสอนปกติ และทุกวันเปิดเรียน หรือไม่
  5. มีการกำหนดแนวทางปฏิบัติตามระเบียบสำหรับนักเรียน ครู และ บุคลากรที่สงสัยติดเชื้อหรือป่วยด้วยโรคโควิด 19 โดยไม่ถือเป็นวันลาหรือวันหยุดเรียน หรือไม่

มิติที่ 5 นโยบาย

  1. มีการสื่อสารประชาสัมพันธ์ความรู้การป้องกันโรคโควิด 19 แก่นักเรียน ครู บุคลากร และผู้ปกครอง โดยการประชุมชี้แจงหรือผ่านช่องทางต่างๆ อย่างน้อย 1 ครั้ง ก่อนหรือวันแรกของการเปิดเรียน หรือไม่
  2. มีนโยบายและแนวทางการป้องกันการแพร่ระบาดโรคโควิด 19 ของสถานศึกษา อย่างเป็นลายลักษณ์อักษรหรือมีหลักฐานชัดเจน หรือไม่
  3. มีการประชุมคณะกรรมการสถานศึกษาหรือไม่
  4. มีการแต่งตั้งคณะทำงานป้องกันการเผยแพร่ระบาดโรคโควิด 19 และกำหนดบทบาทหน้าที่อย่างชัดเจน หรือไม่
  5. มีมาตรการการจัดการความสะอาดบนรถรับ -ส่งนักเรียน เว้นระยะห่างระหว่างบุคคล จัดที่นั่งบนรถหรือมีสัญลักษณ์จุดตำแหน่งชัดเจน หรือไม่ (กรณีมีรถรับ ส่งนักเรียน)

มิติที่ 6 การบริหารการเงิน

  1. มีแผนการใช้งบประมาณในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ตามความจำเป็นและเหมาะสม หรือไม่
  2. มีการจัดหาซื้อวัสดุอุปกรณ์ป้องกันโรคโควิด 19 สำหรับนักเรียนและบุคลากรในสถานศึกษา เช่น หน้ากากผ้าหรือหน้ากาก อนามัย เจลแอลกอฮอล์ สบู่ หรือไม่
  3. มีการประสานแสวงหาแหล่งทุนสนับสนุนจากหน่วยงาน องค์กร หรือเอกชน เช่น ท้องถิ่น บริษัทห้างร้าน NGO เป็นต้น เพื่อดำเนินกิจกรรม การป้องกันการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 หรือไม่
  4. มีการจัดหาบุคลากรเพิ่มเติมในการดูแลนักเรียนและการจัดการสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษา หรือไม่

ในการประเมินสำหรับโรงเรียนประกอบไปด้วยหลายด้านหลายมิติด้วยกัน ซึ่งโรงเรียนเป็นสถานศึกษา ผู้คนมาจากหลากหลายพื้นที่ในตำบลด้วยกัน ซึ่งรวมไปถึงนักเรียน คุณครูและบุคลากรภายในโรงเรียน และรวมไปถึงงบประมาณและนโยบายต่างๆในโรงเรียน เราจึงต้องมีแบบประเมินที่สอดคล้องและคลอบคลุมสำหรับแบบสำรวจของโรงเรียนในหลาย ๆ ด้าน และในการออกไปสำรวจการเก็บข้อมูลสำหรับโรงเรียน เนื่องจากสถานการณ์โควิด -19 ซึ่งช่วงนี้ทางโรงเรียนได้มีการเรียนการสอนแบบออนไลน์ ซึ่งทางเราก็ได้สอบถามข้อมูลจากคุณครูที่อยู่เวร เนื่องจากเป็นโรงเรียนขนาดเล็ก คุณครูจึงสามารถพาเราไปสำรวจพื้นที่ภายในโรงเรียน ว่าได้มีเครื่องหมายเว้นระยะห่าง ที่ไหนบ้าง และวางเจลแอลกอฮอล์ล้างมือไว้ในจุดใดบ้าง มีป้ายโฆษณาและป้ายรณรงค์ติดอยู่ที่ส่วนใด เนื่องจากเป็นโรงเรียนขนาดเล็ก ห้องพยาบาล ก็รวมอยู่ในห้องพักครู  ซึ่งสำหรับการสำรวจโรงเรียนเป็นไปด้วยดี คุณครูให้ความร่วมมือในการตอบแบบประเมินเป็นอย่างดี

ในการออกไปสำรวจเก็บข้อมูลสำหรับที่พักอาศัยและโรงเรียน เพื่อที่จะนำข้อมูลที่ได้สำรวจไปประเมินถึงสถานการณ์โควิด -19 ว่าในตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ มีสถานการณ์เป็นอย่างไร ชาวบ้านสามารถดูแลและป้องกันตนเองได้หรือไม่ จากการสำรวจเก็บข้อมูลในตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ถือได้ว่าชาวบ้านมีการป้องกันตัวเองจากความเสี่ยงที่จะติดเชื้อได้ดี และทางโรงเรียนก็ได้ทำตามมาตรการที่รัฐบาลแนะนำมาอย่างเคร่งครัด ถือได้ว่าในตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ อยู่ในสถานการณ์ที่เสี่ยง แต่ชาวบ้านก็ยังดูแลและป้องกันตนเองได้เป็นอย่างดี

 

 

อาจารย์ประจำกลุ่มได้นัดหมายให้ผู้ปฏิบัติงานทุกท่านประชุมออนไลน์ ผ่านทาง Google meet เพื่อมอบหมายงานให้ผู้ปฏิบัติงาน ทำการถอดบทเรียนตั้งแต่เริ่มโครงการ โดยแบ่งกลุ่มผู้ปฏิบัติงานออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 9-10 คน โดยแบ่งทีมบัณฑิต ออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 5-6 คน และแบ่งทีมประชาชนออกเป็นกลุ่มละ 3 คน

ในวันที่ 4 ธันวาคม 2564 เมื่ออาจารย์ประจำกลุ่มมอบหมายงานให้ผู้ปฏิบัติงานเรียบร้อยแล้ว ดิฉันและเพื่อน ๆ ภายในกลุ่ม ก็ได้แบ่งงานกันภายในกลุ่มว่าแต่ละคนจะได้หาข้อมูลในหัวข้ออะไรบ้าง ซึ่งมีข้อมูลแบบฟอร์มในการถอดบทเรียน ดังนี้

  • ข้อมูลพื้นที่ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
  • TPMAP ความต้องการพื้นฐาน 5 มิติ
  • การพัฒนาพื้นที่
  • กลไกการดำเนินงาน
  • ผลลัพธ์
  • ผลลัพธ์เชิงเศรษฐกิจ
  • ผลลัพธ์เชิงสังคม
  • ข้อเสนอแนะ

ซึ่งส่วนตัวดิฉันได้รับผิดชอบหัวข้อเรื่อง ผลลัพธ์ทางสังคม ซึ่งมีข้อมูลดังนี้

ผลลัพธ์เชิงสังคม

  1. ทำให้ประชาชนได้รู้จักปรับปรุงสภาพความเป็นอยู่ของตนเองให้ดีขึ้น
  2. ช่วยให้ประชาชนรู้จักป้องกันโรคภัยไข้เจ็บ รักษาอนามัยครอบครัวให้ดีขึ้น
  3. 3. ผลสำเร็จของการพัฒนาชุมชน จะช่วยลดความเหลื่อมล้ำแตกต่างในเรื่องชนชั้นในสังคมให้น้อยลง มีความเสมอภาคเป็นธรรมแก่สังคม

4.ช่วยปรับปรุงชีวิต ความสัมพันธ์ในครอบครัวและสังคมให้ดีขึ้น

5.ทำให้ประชาชนรู้จักหน้าที่ของตนและมีความรับผิดชอบต่อสังคมมากขึ้น

6.ประชาชนมีวิชาชีพ และความรู้ในการทำผลิตภัณฑ์ในชุมชนมากขึ้น

จากนั้น ก็นำข้อมูลของแต่ละหัวข้อที่เพื่อนๆ ภายในกลุ่มช่วยกันค้นคว้าหาข้อมูล มารวบรวมใส่ข้อมูลภายในแบบฟอร์มการถอดบทเรียนให้เรียบร้อย และนำส่งอาจารย์ประจำกลุ่มตามเวลาที่กำหนด

 

 

อาจารย์ประจำกลุ่มได้นัดหมายให้ผู้ปฏิบัติงานทุกท่าน ได้เข้าร่วมกิจกรรมจิตอาสาทำความสะอาด

ณ วัดโพธิ์คงคา ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ร่วมกับทีมงานองค์การบริหารส่วนตำบล ตำบลบ้านสิงห์

ในวันที่ 6 ธันวาคม 2564 เวลา 12.00 น. อาจารย์ประจำกลุ่มและผู้ปฏิบัติงานทุกท่าน ได้มาเข้าร่วมกิจกรรมจิตอาสาทำความสะอาด ณ วัดโพธิ์คงคา ร่วมกับทีมองค์การบริหารส่วนตำบล ตำบลบ้านสิงห์ เมื่อไปถึงวัดโพธิ์คงคา อาจารย์และผู้ปฏิบัติงานทุกท่านก็ได้แยกย้ายกันไปทำความสะอาดตามบริเวณจุดต่างๆ ซึ่งได้แก่ บริเวณห้องน้ำ บริเวณเมรุ และบริเวณรอบๆวัด ซึ่งได้มีการขัดห้องน้ำ เก็บขยะ และเก็บกวาดเศษใบไม้ในบริเวณวัด ให้สะอาดเรียบร้อย และเมื่ออาจารย์ประจำกลุ่มและผู้ปฏิบัติงานทุกท่านทำความสะอาดภายในบริเวณวัดสะอาดเรียบร้อยดีแล้ว อาจารย์ก็ได้มีการมอบของขวัญให้แก่ท่านนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ตำบลบ้านสิงห์ และในกิจกรรมจิตอาสาทางทีมงานองค์การบริหารส่วนตำบล ตำบลบ้านสิงห์ ก็ได้มีการแจก ขนมจีน ของหวานและน้ำ ให้แก่ผู้ที่มาเข้าร่วมกิจกรรมจิตอาสาอีกด้วย

 

 

อื่นๆ

เมนู