รายงานประจำเดือนกันยายน พ.ศ. 2564

นิสิต คำหล้า ประเภทประชาชน HS06

ตำบลแสลงพัน อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์

ข้าพเจ้านาย นิสิต คำหล้า ประเภทประชาชน HS06 ตำบลแสลงพัน อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์ ได้ทำการสำรวจข้อมูลพื้นฐานและวิเคราะห์หมู่บ้านบุก้านตงพัฒนาและวางแผนพัฒนาชุมชน โดยได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงานในช่วงเวลา กลางเดือนสิงหาคมถึงกลางเดือนกันยายน พบว่าสภาพของประชาชนในพื้นที่ยังอยู่ในภาวะการเฝ้าระวังเรื่องโรคโควิดแพร่ระบาด ระลอกที่ 4 เช่นเดิม  ประกอบกับช่วงนี้สภาวะเศรษฐกิจตกต่ำอย่างมาก เนื่องจากชาวบ้านอยู่ในสภาวะกค้าขายที่ฝืดเคืองรุนแรง เพราะะเนื่องจากว่าการหมุนของระบบเงินในท้องถิ่นขาดแคลน ที่มีผลมาจากโรคระบาด จึงทำให้ระบบเศรษฐกิจเข้าสู่สภาวะชะงักงัน ประกอบกับช่วงนี้เป็นช่วงการเพาะปลูกของเกษตรกร ทำให้ชาวบ้านต้องดูแลแปลงปลูกข้าว พืชผัก และหญ้าอาหารสัตว์ เมื่อเข้าสู่ฤดูฝน ในสภาพเศรษฐกิจตกต่ำรุนแรง ซึ่งกระบวนการเพาะปลูกกต่างๆททำได้จำกัด เช่น  การควบคุมวัชพืช การใช้ปุ๋ย เป็นต้น อย่างไรก็ตามในด้านการพัฒนาชุมชนของโครงการยังคงดำเนินการต่อไปภายใต้สภาพดังปัญหาดังกล่าว ซึ่งมีกระบวนการดำเนินงานในรอบเดือนคือ การอบรมเชิงปฏิบัติการการส่งเสริมอาชีพจากการเพาะ การแปรรูป และการตลาดเห็ดนางฟ้า และครอบคลุมไปถึงแนวทางการทำเพจแนะนำสินค้าและผลิตภัณฑ์ของกลุ่มและพัฒนาตลาดออนไลน์ โดยข้าพเจ้าทำหน้าที่เป็นผู้ร่วมศึกษาและรับการฝึกอบรมร่วมกับสมาชิกในกลุ่ม โดยมีรายละเอียดของกิจกรรมต่างๆในรอบเดือนมีดังนี้

1) แนวทางการจัดทำรายงานการดำเนินงานของโครงการในรอบแรก

สำหรับในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนกรกฏาคม พ.ศ. 2564 นั้นจะมีการสรุปข้อมูลเพื่อจัดทำรูปเล่มและนำส่งรายงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีข้อมูลการเก็บโดยภาพรวมของการเก็บข้อมูลดังนี้

1.1) สภาพทั่วไปของพื้นที่ บ้านบุก้านตงพัฒนา หมู่ที่ 16

1.2) ประวัติทั่วไปของ ชุมชนบ้านบุก้านตงพัฒนา

1.3) แผนที่ชุมชน บ้านบุก้านตงพัฒนา

1.4) ข้อมูลสำคัญรายหมู่บ้าน บ้านบุก้านตงพัฒนา

1.5) ข้อมูลสมาชิกในชุมชน บ้านบุก้านตงพัฒนา

1.6) ข้อมูลอื่นๆที่สำคัญในชุมชน

2) การพัฒนาการตลาดและการท่องเที่ยวบนฐานของผลิตภัณฑ์ชุมชน

สำหรับชุมชนบุก้านตงและบุก้านตงพัฒนาซึ่งเป็นพื้นที่ ที่ข้าพเจ้ารับผิดชอบหลักได้ลงก้อนเห็ดจำนวน 800 ก้อน กลุ่มชุมชนดังกล่าวได้ดำเนินการลงเห็ดไปเดือนที่แล้วเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2564 ช่วงนี้กลุ่มสมาชิกกำลังศึกษาและดำเนินการทำการผลิตเห็ดนางฟ้าในช่วงเริ่มต้น เรียนรู้แนวทางการตลาด การสร้างเครือข่ายกลุ่มผู้สนใจผลิตเห็ดนางฟ้า ตลอดจนการศึกษาการทำบัญชีการผลิตอย่างง่าย การประชาสัมพันธ์การบริโภคและการผลิตเห็ดนางฟ้าในเครือข่ายสังคมออนไลน์ เช่น เฟสบุ๊ค เพื่อเป็นผลิตภัณฑ์หนึ่งในชุมชนและสับสนุนการท่องเที่ยวในชุมชน เพื่อที่จะประเมินถึงจุดอ่อนจุดแข็งในการต่อยอดการผลิตเห็ดนางฟ้าในชุมชนต่อไป

3) กิจกรรมติดตามให้คำแนะนำสมาชิกในการให้คำแนะนำการพัฒนาและปรับปรุงผลิตภัณฑ์

ติดตามและให้คำแนะนำกลุ่มสมาชิกที่เข้าร่วมจำนวน 10 คน จากตัวแทนสมาชิกครัวเรือนของบ้านบุก้านตงพัฒนาหมู่ที่ 16  และหมู่ที่ 12 ที่เข้ารับการอบรมเชิงปฏิบัติการการส่งเสริมอาชีพจากการเพาะเห็ด โดยมีข้าพเจ้าร่วมทำหน้าที่เป็นผู้ร่วมศึกษาและรับการฝึกอบรมร่วมกับสมาชิกในกลุ่ม 10 คนดังนี้

  1. นางเภา เสือซ่อนโพรงบ้านเลขที่ 291 หมู่ที่ 16
  2. นางเสาร์ จันโสดาบ้านเลขที่ 290 หมู่ที่ 16
  3. นางสาวพัชรีพรภาคะบ้านเลขที่ 232     หมู่ที่ 16
  4. นางอัมพร โพนรัตน์บ้านเลขที่ 230  หมู่ที่ 16
  5. นางสาวพรจันทร์ บุญทองบ้านเลขที่ 16 หมู่ที่ 16
  6. นางไผ่ แสงสำโรง บ้านเลขที่ 133   หมู่ที่ 12
  7. นางวิไลรัตน์ เนียนสันเทียะ บ้านเลขที่ 6      หมู่ที่ 12
  8. นางอนงค์ ห้วยทอง บ้านเลขที่  9     หมู่ที่ 12
  9. นางประยูรภาคะบ้านเลขที่   29   หมู่ที่ 12
  10. นางสวรรค์เนียนสันเทียะ     บ้านเลขที่   14   หมู่ที่ 12

โดยมีการแนะนำดังนี้คือ 1) ติดตามและให้คำแนะนำการเก็บเห็ดนางฟ้าและเทคนิคการทำให้ผลผลิตเห็ดสม่ำเสมอ 2) ให้คำแนะนำในการดูแลรักษาและเก็บผลผลิต 3) ปัญหาและข้อควรระวังในการผลิตเห็ดนางฟ้าให้ได้ผลผลิตที่ได้ ผลการอบรมพบว่าชาวบ้านให้ความสนใจดี และนำไปปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหาพบว่าชาวบ้านให้การปฏิบัติด้วยดี

  1. การแปรรูปผลผลิตเห็ดนางฟ้าด้วยการทำผลิตภัณฑ์แหนมเห็ดนางฟ้าและน้ำพริกเห็ดนางฟ้า

ติดตามและให้คำแนะนำกลุ่มสมาชิกที่เข้าร่วมจำนวน 10 คน จากตัวแทนสมาชิกครัวเรือนของบ้านบุก้านตงพัฒนาหมู่ที่ 16  และหมู่ที่ 12 ที่เข้ารับการอบรมเชิงปฏิบัติการการส่งเสริมอาชีพทำผลิตภัณฑ์แหนมเห็ดนางฟ้าและน้ำพริกเห็ดนางฟ้า โดยมีข้าพเจ้าร่วมทำหน้าที่เป็นผู้ร่วมศึกษาและรับการฝึกอบรมร่วมกับสมาชิกในกลุ่ม 10 คนดังนี้

วัตถุดิบและขั้นตอนการทำแหนมเห็ด

1) เห็ดนางฟ้า 1 กิโลกรัม    2) ข้าวมันปูหุงสุก 6-8 ทัพพี

3) ผงปรุงรสครึ่งถึง1 ช้อนโต๊ะ 4) กระเทียมไทยบุบ 25-30 กลีบ

5) เกลือแกง 1 ช้อนโต๊ะ  6) พริกขี้หนู 15-20 เม็ด

ขั้นตอนการทำมีดังนี้

1) การนึ่งเห็ดนางฟ้า นำเห็ดนางฟ้ามาล้างทำความสะอาด แล้วทิ้งไว้ให้สะเด็ดน้ำ นำเห็ดนางฟ้าไปนึ่งให้สุกโดยใช้เวลาประมาณ 10 – 15 นาที จากนั้นนำมาฉีกเป็นเส้น ๆ แล้วพักไว้ เตรียมนำไปหมักกับเครื่องหมัก

2) การปรุงรส นำเห็ดนางฟ้าที่เตรียมไว้ ใส่ลงในชามผสม จากนั้นใส่ข้าวมันปูหุงสุก ตามด้วยกระเทียมไทยบุบ เกลือแกง พริกขี้หนูและผงปรุงรสลงไป แล้วคลุกเคล้าให้เข้ากันดี ใช้ถุงขนาด 3×5 ซม.

3) การหมักและการบริโภค นำถุงที่บรรจุมาตัดปลายถุงออกให้เป็นทรงสามเหลี่ยม จากนั้นใส่แหนมเห็ดลงไปแล้วใช้ยางรัดให้แน่น แล้วนำไปหมักทิ้งไว้ในอุณหภูมิห้องเป็นเวลา 3-5 วัน เพื่อให้แหนมมีรสเปรี้ยวแหนม เห็ดที่ครบเวลาหมักแล้ว มาแกะออกจากห่อและนำมาบริโภคเป็นอาหารหรือนำไปขายก็ได้

วัตถุดิบและขั้นตอนการทำน้ำพริกเห็ดนางฟ้า

1) เห็ดนางฟ้า 500 กรัม                          2) พริกขี้หนู 8-12 เม็ด และพริกแดง 14-16 เม็ด

3) ซีอิ้วขาว 5 ช้อนโต๊ะ                           4) มะนาว 5 ลูก

5) น้ำตาลปี๊ปหรือน้ำตาลทราย 2-3 ช้อนชา  6) เกลือป่นเล็กน้อยและโปรตีนเกษตรสำหรับโรยหน้า

ขั้นตอนการทำน้ำพริกเห็ดนางฟ้ามีดังนี้

1) ล้าง เห็ดนางฟ้า ให้สะอาด พักไว้ให้แห้ง จากนั้นฉีกเห็ดนางฟ้าเป็นชิ้นเล็กพอดีคำ

2) นำเห็ดนางฟ้าฉีกลงไปคั่วพร้อมกันกับพริกให้สุกมีกลิ่นหอม ตักใส่จานพักไว้

3) นำเห็ดและพริกคั่วไปตำให้พอละเอียด แล้วนำลงใส่ชามผสมเตรียมปรุง

4) ปรุงรสด้วย ซีอิ๊วขาว มะนาว น้ำตาล เกลือป่น ระหว่างนี้ให้เติมน้ำร้อนลงไปเล็กน้อยเพื่อไม่ให้น้ำพริกแห้ง้งจนเกินไป

5) ชิมรสชาติตามชอบค่อยตักใส่ถ้วยหรืออาจจะโรยหน้าด้วย โปรตีนเกษตร

  1. การให้คำแนะนำเกี่ยวกับด้านการตลาด กับกลุ่มผลิตภัณฑ์จากเห็ด

ช่วงนี้กลุ่มสมาชิกกำลังศึกษาและดำเนินการทำการผลิตเห็ดนางฟ้าในช่วงเริ่มต้น การเรียนรู้แนวทางการตลาด การสร้างเครือข่ายกลุ่มผู้สนใจผลิตเห็ดนางฟ้าเป็นสิ่งสำคัญ ตลอดจนการศึกษาการทำบัญชีการผลิตอย่างง่าย มีการประชาสัมพันธ์การบริโภคและการผลิตเห็ดนางฟ้าในเครือข่ายสังคมออนไลน์ เช่น เฟสบุ๊คหรือการส่งต่อข้อมูลในกลุ่มไลน์ เพื่อนำเสนอถึงการเป็นผลิตภัณฑ์หนึ่งในชุมชนและสนับสนุนการท่องเที่ยวในชุมชน จากนั้นจะทำการประเมินถึงจุดอ่อนจุดแข็งในการต่อยอดการผลิตเห็ดนางฟ้าในชุมชนต่อไป

  1. ทำเพจแนะนำสินค้าและผลิตภัณฑ์ของกลุ่มและพัฒนาตลาดออนไลน์

อยู่ในช่วงการเรียนรู้แนวทางการตลาด การสร้างเครือข่ายกลุ่มผู้สนใจบริโภคเห็ดนางฟ้า ตลอดจนการศึกษาการทำบัญชีการผลิตอย่างง่าย การประชาสัมพันธ์การบริโภคและการผลิตเห็ดนางฟ้าในเครือข่ายสังคมออนไลน์ เช่น เฟสบุ๊คหรือกลุ่มไลน์ นอกจากนี้ยังทำการประชาสัมพันธ์บนเพจ “กลุ่มแสลงพันเข้มแข็ง”  เพื่อชูธงในการเป็นผลิตภัณฑ์หนึ่งในชุมชน ช่วยสนับสนุนการบริโภคอาหารปลอดสารพิษ และสนับสนุนการท่องเที่ยวในชุมชนต่อไป

 

 

 

 

อื่นๆ

เมนู