1. หน้าแรก
  2. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
  3. HS08 - ตำบลทะเมนชัย อำเภอลำปลายมาศ
  4. การเก็บรวบรวมข้อมูลตามแบบประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม (SROI) และกิจกรรมพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวอินทรีย์แปรรูป ตำบลทะเมนชัย อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ – HS08

การเก็บรวบรวมข้อมูลตามแบบประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม (SROI) และกิจกรรมพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวอินทรีย์แปรรูป ตำบลทะเมนชัย อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ – HS08

การสำรวจตามโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ

(มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ)

นายรุจิรงค์ เรืองคง

การเก็บข้อมูลการประเมินศักยภาพและผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม Social Return On Investment (SROI) เป็นกรอบแนวคิดในการประเมินผลลัพธ์และคุณค่าทางสังคม เพื่อประเมินมูลค่า ติดตามและปรับกลยุทธ์ โดยมีกลุ่มเป้าหมายในการสำรวจและเก็บรวบรวมข้อมูลจำนวนทั้งหมด 11 กลุ่มเป้าหมายได้แก่ 1.ตำบลเป้าหมาย 2.ลูกจ้างโครงการ 3.ครอบครัวลูกจ้างโครงการ 4.ชุมชนภายใน 5.ชุมชนภายนอก    6.อาจารย์ผู้ดูแลโครงการ 7.เจ้าหน้าที่โครงการ USI 8.ผู้แทนตำบล 9.หน่วยงานภาครัฐ 10.หน่วยงาน อปท 11.เอกชนในพื้นที่ ในการดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล SROI ในครั้งนี้ ทีมผู้ปฏิบัติติงานได้ทำการประชุมเพื่อวางแผนและแบ่งหน้าที่ในการลงพื้นที่เก็บข้อมูล โดยข้าพเจ้าและสมาชิกกลุ่มได้รับหน้าที่ในการเก็บรวบรวมข้อมูล 3 เป้าหมาย ได้แก่

  1. ครอบครัวลูกจ้างโครงการ ข้าพเจ้าและสมาชิกกลุ่มได้ทำการลงพื้นที่ ณ บ้านหนองม่วง ม.11 ต.ทะเมนชัย อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์ เพื่อทำการสำรวจและเก็บข้อมูลครอบครัวลูกจ้างโครงการ โดยได้ทำการสัมภาษณ์ครอบครัวของ นางสาวบุญวิภา เมฆา
  2. ผู้แทนตำบล ข้าพเจ้าและสมาชิกกลุ่มได้ทำการลงพื้นที่ ณ เทศบาลทะเมนชัย เพื่อทำการสำรวจและเก็บข้อมูลตามแบบประเมิน SROI โดยได้ทำการสัมภาษณ์ นายปัญญา มาจิตร ซึ่งดำรงตำแหน่งปลัดเทศบาลตำบลทะเมนชัยในปัจจุบัน
  3. หน่วยงาน อปท ข้าพเจ้าและสมาชิกกลุ่มได้ทำการลงพื้นที่ ณ ที่ทำการกำนัน ต.ทะเมนชัย อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์ เพื่อทำการสำรวจและเก็บของมูลข้อมูลตามแบบประเมิน SROI โดยได้ทำการสัมภาษณ์ นายกิตติพงศ์ ชะร่างรัมย์ ซึ่งดำรงตำแหน่งกำนันตำบลทะเมนชัยในปัจจุบัน

จากการลงพื้นที่ดังกล่าวสามารถสรุปผลการดำเนินงาน HS06 บทที่ 1 ได้ดังนี้ บ้านบุแปบ หมู่ 7 ตั้งอยู่ในตำบลทะเมนชัย อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 950 ไร่ โดยพื้นที่ส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นที่ราบสูง  เนื้อดินที่พบมีลักษณะเป็นดินร่วนปนทราย  ไม่อุ้มน้ำ  ไม่มีแหล่งน้ำจากธรรมชาติเพื่อใช้ในการเกษตร และมีข้อมูลสำคัญรายตำบล ได้แก่

  1. ปราชญ์ชาวบ้านและภูมิปัญญา มีจำนวน 7 คน มีภูมิปัญญาได้แก่ ด้านศาสนพิธี ด้านสมุนไพร ด้านการสานตะกร้าพลาสติก ด้านพิธีกรรมต่าง ๆ
  2. เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนบ้านบุแปบ หมู่ 7 มีเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนจำนวน 63 คน เป็นประเภทอาชีพ ทำนา
  3. ร้านค้าชุมชน มีจำนวน 3 ร้าน ได้แก่ ร้านขายก๋วยเตี๋ยว ร้านขายส้มตำ และร้านขายสินค้าทั่วไป
  4. วัด 1 แห่ง ได้แก่ วัดด่านทองประชาสามัคคี
  5. โรงเรียน 1 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนบ้านหนองตาด
  6. แหล่งน้ำ 2 แหล่ง ได้แก่ คลองลำห้วยทะเมนชัย (คลองอิสานเขียว) และคลองสระอนามัย
  7. อาชีพ ได้แก่ เกษตรกรรม รับจ้าง รับราชการ และกิจการส่วนตัว
  8. กลุ่มวิสาหกิจชุมชน ได้แก่ กลุ่มเพาะเห็ดจากฟางข้าวบ้านบุแปบ กลุ่มเพาะเห็ดออแกนิค และกลุ่มเลี้ยงไก่พื้นบ้าน
  9. ผลิตภัณฑ์ในชุมชน ได้แก่ ข้าวหมวก เห็ดสามรส และแหลมเห็ด
  10. เส้นทางคมนาคม ได้แก่ ถนนเทศบาล3 ซอยบุแปบ1 ซอยบุแปบ2 และซอยบุแปบ3
  11. ข้อมูลทุนทางวัฒนธรรม ด้านประเพณีได้แก่ การทำบุญตักบาตรเนื่องในวันขึ้นปีใหม่ งานสืบสานประเพณีสงกรานต์และงานนมัสการพระธาตุ งานประเพณีบุญเดือน ๖ งานประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษา และงานประเพณีลอยกระทง
  12. พืชสมุนไพรในชุมชน ได้แก่ กระชายขาว ฟ้าทะลายโจร ว่านชักมดลูก และขมิ้น

กิจกรรมพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวอินทรีย์แปรรูปประจำเดือนตุลาคม (ข้าวแต๋น) ข้าพเจ้าและสมาชิกผู้ปฏิบัติงานได้ทำการประชุมในรูปแบบออนไลน์ เพื่อแบ่งหน้าที่รับผิดชอบร่วมกันในแต่ละกลุ่มในการจัดกิจกรรมครั้งนี้ให้ผ่านไปได้ด้วยดี โดยกิจกรรมพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวแต๋นในครั้งนี้ได้จัดขึ้น ณ ศาลากลางหมู่บ้าน บ้านน้อยพัฒนา ตำบลทะเมนชัย อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นการพัฒนาสูตรในการทำข้าวแต๋นรสชาเขียว ซึ่งมีตัวแทนจาก 7 หมู่บ้าน เข้าร่วมรับการอบรมตามจำนวนดังนี้

  • บ้านน้อยพัฒนาจำนวน 3 คน
  • บ้านใหม่อัมพวันจำนวน 3 คน
  • บ้านหนองน้ำขุ่นจำนวน 3 คน
  • บ้านบุตตาริดจำนวน 3 คน
  • บ้านหนองตาดจำนวน 3 คน
  • บ้านหนองหญ้าปล้องจำนวน 3 คน
  • บ้านหนองตาดจำนวน 3 คน

โดยมีสูตรและขั้นตอนวิธีการทำข้าวแต๋น

  • ข้าวแต๋นชาเขียว

มีส่วนผสมดังนี้

  1. ข้าวเหนียว 1/2 กก.
  2. เกลือป่น 1 ชช.
  3. น้ำชาเขียว (ชาตรามือ) 1 ถ้วยตวง(สำหรับทำสีของข้าว)
  4. น้ำชาเขียว (ชาตรามือ) 3 ช้อนโต๊ะ(สำหรับเคี่ยวน้ำตาล)
  5. งาดำหรืองาขาว 2 ช้อนโต้ะ
  6. น้ำตาลมะพร้าว/น้ำตาลอ้อย(มิตรผล) 500 กรัม
  7. น้ำตาลทรายแดง 2-3 ช้อนโต๊ะ
  8. น้ำกะทิกล่อง 1 ช้อนโต้ะ

วิธีการทำ

  1. นำข้าวเหนียวล้างเอาสิ่งสกปรกหรือสิ่งแปลกปลอมออกให้หมด แล้วแช่ข้าวเหนียวไว้ 1 คืน (หม่าข้าว)
  2. นึ่งข้าวเหนียวแล้วพักไว้ให้คลายความร้อน (ถ้าข้าวแข็งเล็กน้อยจะทำให้ใส่แม่พิมพ์แล้วปั้นได้ง่าย)
  3. เมื่อข้าวคลายร้อนแล้ว ให้ใส่น้ำชาเขียวที่ผ่านการกรองจนเหลือแต่น้ำแล้ว 1 ถ้วยตวงหรือให้เช็กดูว่าข้าวที่ใส่ชาเขียวแล้วเหนียวได้ที่กำลังดี
  4. ใส่เกลือป่นและงาดำหรืองาขาวก็ได้
  5. ใช้มือคลุกเคล้าส่วนผสมทุกอย่างให้เข้ากันเบา ๆ พยายามให้ข้าวกระจายเป็นเม็ดและให้สังเกตสีของข้าวว่ามีสีชาเขียวทั่วทุกเม็ด ห้ามบี้หรือบีบข้าวเพราะจะทำให้เกาะกันเป็นไตได้
  6. เสร็จแล้ว พักไว้ 5 นาที
  7. นำข้าวที่พักไว้แล้ว ปั้นใส่แม่พิมพ์ พยายามอย่าให้ข้าวอัดกันแน่นเกินไปเพราะเวลานำมาทอดข้าวจะไม่ฟู
  8. นำไปตากแดดจัด 1 วัน (เมื่อผ่านไปครึ่งวันให้พลิกกลับด้านข้าว)

วิธีทอดข้าวแต๋น

ตั้งไฟรอน้ำมันเดือดจัด แล้วนำข้าวที่ตากแล้ว ลงทอด ตอนทอดพยายามอย่าใช้ไฟแรงจนเกินไป และให้หมั่นพลิกกลับด้านข้าวบ่อย ๆ จนเหลืองสวย แล้วนำพักบนตะแกรงให้สะเด็ดน้ำมัน

วิธีทำน้ำตาลราดข้าวแต๋น

นำน้ำกะทิ, น้ำชาเขียว, น้ำตาลมะพร้าว, น้ำตาลอ้อย, น้ำตาลทรายแดง (น้ำตาลทรายแดงจะช่วยให้น้ำตาลตกทรายง่ายขึ้น สามารถเช็กความหนืดของน้ำตาลเวลาเคี่ยวแล้วเพิ่มปริมาณได้) จากนั้นใส่เกลือ1หยิบมือลงไป แล้วเปิดไฟโดยใช้ไฟอ่อน เพื่อเคี่ยวส่วนผสมทุกอย่างให้เข้ากัน โดยทำการทั้งเคี่ยวและคนในเวลาเดียวกัน ระวังไม่ให้น้ำตาลไหม้ เคี่ยวจนน้ำตาลเริ่มตกทรายเกาะขอบหม้อ แล้วให้ปิดไฟ จากนั้นเคี่ยวต่อแบบไม่มีไฟ แล้วพักน้ำตาลให้คลายร้อนสักพัก ขั้นตอนสุดท้ายให้นำมาราดบนหน้าข้าวแต๋นที่ทอดเตรียมไว้แล้ว

2) ข้าวแต๋นมันม่วง

มีส่วนผสมและขั้นตอนวิธีการทำคล้ายกันกับชาเขียว โดยมีปริมาณในการใช้ส่วนผสมเหมือนกัน แต่ให้เปลี่ยนจากชาเขียวเป็นมันม่วง ซึ่งน้ำสีของมันม่วงได้จากการเอามันม่วงมาปั้นกรองเอาแต่น้ำ

เคล็ดลับคือ เวลาเคี่ยวน้ำตาลชาเขียวหรือมันม่วงให้สังเกตกลิ่นและสีของน้ำราด ถ้ายังได้กลิ่นของชาเขียวอ่อนเกินไปสามารถเติมน้ำชาเขียวเพิ่มได้ แต่ห้ามเติมตอนเคี่ยวร้อน ๆ เด็ดขาดเพราะอาจทำให้น้ำตาลเกิดการไหม้ได้ สามารถเติมได้ตอนที่น้ำตาลคลายร้อนแล้วเท่านั้น

ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการทดลองทำข้าวแต๋น

1) การตากข้าวแต๋นไม่แห้ง เนื่องจากช่วงนี้อยู่ในฤดูฝนทำให้การตากข้าวแต๋นไม่มีแสงแดดจาก      ดวงอาทิตย์ และไม่มีเครื่องอบ

2) ข้าวแต๋นไม่กรอบเก็บไว้ได้ไม่นาน ซึ่งบรรจุภัณฑ์ของข้าวแต๋นต้องเป็นบรรจุภัณฑ์ที่ปิดสนิทไม่มีอากาศเข้า

กิจกรมผลิตภัณฑ์ข้าวอินทรีย์แปรรูปประจำเดือนตุลาคม (ข้าวหมาก) ข้าพเจ้าและสมาชิกผู้ปฏิบัติงานได้ทำการประชุมในรูปแบบออนไลน์ เพื่อแบ่งหน้าที่รับผิดชอบร่วมกันในแต่ละกลุ่มในการจัดกิจกรรมครั้งนี้ให้ผ่านไปได้ด้วยดี โดยกิจกรรมพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวหมากในครั้งนี้ได้จัดขึ้น ณ ศูนย์ข้าวชุมชน บ้านบุลิ้นฟ้า ตำบลทะเมนชัย อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์

ส่วนประกอบและอัตราส่วนที่ใช้คือ ข้าวเหนียวหอมมะลิ  1 กก.   แป้งข้าวหมาก 2-3  ลูก

มีวิธีทำดังต่อไปนี้

  1. นำข้าวเหนียวที่นึ่งสุกแล้วมาล้างน้ำฝน ประมาณ 3 ครั้ง ใช้มือถูเบา ๆ จนข้าวหมดเมือกหรือให้น้ำใส แล้วใส่ตะแกรงผึ่งให้สะเด็ดน้ำ
  2. นำลูกแป้งข้าวหมากมาบดให้ละเอียด แล้วโรยแป้งข้าวหมากบนข้าวเหนียว จากนั้นใช้ไม้พายคลุกเคล้าข้าวเหนียวให้ทั่วกัน
  3. บรรจุข้าวเหนียวที่ได้ใส่ภาชนะ แล้วปิดฝาให้สนิทเก็บไว้ 2-3 วัน ก็จะสามารถรับประทานได้

เคล็ดลับวิธีทำ ข้าวหมากหวาน

– ข้าวเหนียวใหม่ คือข้าวเหนียวซึ่งเพิ่งเก็บเกี่ยวในหนึ่งปี เมื่อนำไปนึ่งข้าวจะนิ่มและแฉะกว่าข้าวเหนียวเก่า

– การเตรียมนึ่งข้าว ต้องให้น้ำไหลออกจากหวดจนสะเด็ดน้ำ ก่อนที่จะนำไปนึ่ง

– ห้ามล้างข้าวขณะที่ข้าวยังร้อนอยู่ เพราะจะทำให้ข้าวเหนียวแฉะ ควรรอให้ข้าวคลายความร้อนก่อนล้าง หากล้างข้าวเหนียวเละและแฉะ จะมีน้ำอยู่ในข้าวมาก ทำให้ข้าวหมากมีรสเปรี้ยวได้

– น้ำต้อยข้าวหมากออกมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับเมล็ดข้าวที่คลุกเคล้า เมล็ดข้าวที่คลุกเคล้าลูกแป้งข้าวหมากแล้ว ค่อนข้างมีเมล็ดติดกัน น้ำต้อยจะออกมามาก แต่ถ้าเมล็ดข้าวที่คลุกเคล้าลูกแป้งข้าวหมากค่อนข้างแห้งเมล็ดไม่ติดกันน้ำต้อยจะออกมาพอดี

– ลูกแป้งข้าวหมากต้องไม่เก่าเกินไป เพราะเชื้อจุลินทรีย์ที่อยู่ในลูกแป้งอาจตายหรือมีน้อยเกินไป ทำให้ข้าวหมากไม่หวาน

– เก็บข้าวหมากที่อยู่ระหว่างการหมักไว้ในพื้นที่ที่สะอาด

เพื่อความสะดวกในการดำเนินงานจึงได้มีการติดต่อประสานงานกับหัวหน้าสมาชิกกลุ่มชุมชุนบ้าน  บุแปบ เพื่อเป็นต้นแบบการพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวหมากของชุมชนบ้านบุแปบ แล้วถ่ายทอดองค์ความรู้และให้คำแนะนำต่าง ๆ ให้แก่สมาชิกกลุ่มเป้าหมายบ้านบุแปป ผ่านการอบรมและการจัดกิจกรรมในรูปแบบต่าง ๆ โดยมีจำนวนหัวหน้าสมาชิกทั้งหมด 5 คน ดังนี้

  1. นางสุภาพ ซอนรัมย์
  2. นางสมปอง นาดี
  3. นางบุพผา   แช่มรัมย์
  4. นางดาวเรือง สุดสายเนตร
  5. นางประณี ซึมรัมย์

จากการติดตามและให้คำแนะนำการแปรรูปและพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ข้าวหมากของบ้านบุแปบ ที่ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบพบว่า สมาชิมกลุ่มในชุมชนได้มีการทดลองการทำข้าวหมากอย่างต่อเนื่อง    ทำให้สามารถควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์ได้ตรงตามมาตรฐานที่ตั้งไว้คือ หอม หวาน และอร่อย นอกจากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ข้าวหมากในชุมชนแล้ว ยังมีการจำหน่ายผ่านช่องทางออนไลน์อีกด้วย ทำให้ผู้บริโภคเริ่มรู้จักสินค้ามากขึ้น เนื่องจากการจัดการเพจผลิตภัณฑ์แปรรูปข้าวอินทรีย์ตำบลทะเมนชัย

งานอื่น ๆ ที่ได้รับมอบหมาย ได้แก่

1) ติดต่อประสานงานเก็บข้อมูล SROI กับ กำนันตำบลทะเมนชัยและปลัดเทศบาลตำบลทะเมนชัย

2) ติดตามผลและประสานงานกับสมาชิกเป้าหมายของบ้านหนองบุแปบที่เข้ารวมกิจกรรม

3) ลงพื้นที่ร่วมกับทีมผู้ปฏิบัติงานจัดเตรียมสถานที่เพื่อใช้จัดอบรมการแปรรูปผลิตภัณฑ์ข้าวหมากและข้าวแต๋น

4) เข้าร่วมประชุมกับทีมผู้ปฏิบัติงานเพื่อวางแผนและเตรียมความพร้อมในการจัดกิจกรรมต่างๆ และวางแผยการเก็บข้อมูล SROI โดยการประชุมผ่านระบบออนไลน์ 4 ครั้ง และออนไชด์ 1 ครั้ง

5) บันทึกภาพและวิดิโอในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่จัดขึ้น

รูปภาพประกอบ

วิดิโอประกอบ

 

 

 

อื่นๆ

เมนู