สวัสดีครับ ผมนายสิทธิศักดิ์ เอี่ยมศิริ ลูกจ้างโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ตำแหน่ง กพร. ตำบลตะโกตาพิ อำเภอประโคนชัย ผมได้รับมอบหมายให้ทำงานภายใต้คำสั่งของสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดบุรีรัมย์ ที่สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอประโคนชัย

โครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.)
ความเป็นมา
ความยากจนของประชาชนชาวชนบทเป็นปัญหาสำคัญที่ทุกรัฐบาลมุ่งแก้ไขให้หมดไป โดยคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2536 เห็นชอบให้กระทรวงมหาดไทยดำเนินงานโครงการ กข.คจ. ระยะที่ 1 ระหว่าง ปี 2536 – 2539 และขยายถึงปี 2540 จำนวน 11,608 หมู่บ้าน และมีมติอีกครั้ง เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2540 เห็นชอบให้กระทรวงมหาดไทยดำเนินงานโครงการ กข.คจ. ระยะที่ 2 ระหว่าง ปี 2541 – 2544 เพื่อขยายพื้นที่ให้ครอบคลุมทุกหมู่บ้านทั่วประเทศที่ยังมีคนจนตามข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) จำนวน 28,038 หมู่บ้าน
สำหรับบทความนี้
1. กำหนดหมู่บ้านเป้าหมาย โดยใช้ข้อมูล กชช.2 ค ปี 2533 และข้อมูล จปฐ. ปี 2539
2. กำหนดครัวเรือนเป้าหมาย โดยใช้ข้อมูล จปฐ. โดยคณะกรรมการกองทุน กข.คจ.ประจำหมู่บ้าน
คัดเลือกและจัดลำดับครัวเรือนของหมู่บ้านเป้าหมาย จัดทำบัญชีทะเบียนครัวเรือนยากจนเป้าหมาย
3. จัดตั้ง “คณะกรรมการกองทุน กข.คจ. ประจำหมู่บ้าน” ที่มาจากผู้นำ และตัวแทนองค์กรประชาชนในหมู่บ้าน จำนวน 7 – 9 คน โดยกระบวนการประชาคม เพื่อทำหน้าที่บริหารจัดการเงินทุนของหมู่บ้าน
4. จัดฝึกอบรมเตรียมความพร้อมผู้เกี่ยวข้อง ได้แก่ องค์กรประชาชนผู้รับผิดชอบบริหารจัดการและครัวเรือนเป้าหมายในระดับหมู่บ้าน ระยะเวลา 3 วัน
5. สนับสนุนเงินทุนหมู่บ้านละ 280,000 บาท โดยการโอนเข้าบัญชีเงินฝากของคณะกรรมการกองทุน กข.คจ. ประจำหมู่บ้าน
6. ครัวเรือนเป้าหมายเสนอโครงการขอยืมเงินตามประเภทอาชีพที่กำหนดในโครงการต่อคณะกรรมการ
กองทุน กข.คจ.ประจำหมู่บ้าน
7. คณะกรรมการกองทุนฯ อนุมัติเงินยืม โดยผ่านการตรวจสอบความเป็นไปได้ของโครงการ และความเห็นชอบจาก คปต.(ปัจจุบันมีเฉพาะพัฒนากร) แล้วจึงทำสัญญายืมเงินตามแบบแนบท้ายระเบียบและ รายงานผลให้อำเภอทราบ แล้วโอนเงินเข้าบัญชีให้ครัวเรือนเบิกไปลงทุนประกอบอาชีพ
8. ใช้คืนเงินยืมตามกำหนดในสัญญา (ระยะเวลาไม่เกิน 5 ปี)
9. เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนทุกระดับเป็นผู้ส่งเสริม สนับสนุน และติดตามช่วยเหลือ
…………………………………………………………………………………………………………………….