อำเภอสตึกแต่ก่อนมีสภาพเป็นป่าดงดิบอุดมไปด้วยน้ำ มีประชากรส่วนหนึ่งมาตั้งกรากพูดภาษาเขมรและเรียกป่าดงดิบนี้ว่า “หมู่บ้านน้ำ” แต่เดิมอำเภอสตึกเป็นเพียงตำบลหนึ่งของจังหวัดบุรีรัมย์ เมื่อมีราษฎรอพยพมาจากที่อื่นมาตั้งรกรากมากขึ้น ทางราชการจึงยกฐานะประกาศ ตั้งเป็นกิ่งอำเภอ เมื่อ พ.ศ. 2490 เดิมสภาพที่ว่าการอำเภอเป็นเรือนไม้สองชั้น ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2519 ตัวอาคารถูกเพลิงไหม้และได้รับการก่อสร้างขึ้นใหม่เป็นอาคารตึกสองชั้นจนถึงปัจจุบัน
                         
                       แบ่งการปกครองออกเป็น 12 ตำบล (179 หมู่บ้าน) มีดังนี้ 1.ต.กระสัง 2.ต.ชุมแสง 3.ต.ดอนมนต์ 4.ต.ท่าม่วง 5.ต.ทุ่งวัง 6.ต.นิคม 7.ต.เมืองแก 8.ต.ร่อนทอง 9.ต.สตึก 10.ต.สนามชัย 11.ต.สะแก 12.ต.หนองใญ่ประชากรส่วนใหญ่ใช้ภาษาถิ่นเป็นไทย,ลาว,เขมร อำเภอสตึกมีเนื้อที่ประมาณ 803 ตารางกิโลเมตร 501,875 ไร่คำขวัญของอำเภอสตึก “พระพุทธรูปสูงใหญ่ หาดทรายชวนฝัน แข่งขันเรือยาว เจ้าพ่อศักสิทธิ์ พาณิชย์ สนามบิน” -ทิศเหนือของอำเภอสตึกติดกับ อ.ชมพลบุรี จ.สุรินทร์ -ทิศใต้ติดกับอ.กระสัง,อ.ห้วยราช,อ.บ้านด่าน -ทิศตะวันออกติดกับเขต อ.ท่าตูม อ.จอมพระ จ.สุรินทร์ -ทิศตะวันตกติดกับ อ.แคนดง
                     ประชากรในอำเภอสตึกร้อยละ 80 ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ได้แก่ ทำนา ทำสวน ทำไร พืชเศรษฐกิจที่สำคัญของอำเภอสตึก ได้แก่ ข้าว อ้อย มันสำปะหลัง ปอ งา และยางพารา ด้านการประมงน้ำจืด ชาวบ้านที่พักพิงริมน้ำมูลจะทำการประมงทั้งการจับปลาในแหล่งน้ำและการเลี้ยงปลาในกระชังจากนั้นก็นำผลผลิตที่ได้ส่งขายตามตลาดที่ต้องการ อาชีพที่เสริมรายได้ให้กับชุมชนอีกทางหนึ่งก็คือ สินค้าหัตถกรรม ในเขตเทศบาลตำบลสตึกเป็นชุมชนที่หนาแน่นจึงมีร้านค้าจำหน่ายสินค้าต่างๆมีตลาดสดขนาดใหญ่ โดยมีราษฎรจากอำเภอใกล้เคียงมาเลือกซื้อสินค้า ผลิตผลทางการเกษตรและการประมงตลอดทั้งวันทั้งคืน พอตกบ่ายใกล้เวลาเย็นพ่อค้าแม่ขายต่างทยอยนำสินค้าของตนเอง ทั้งอาหารการกิน สินค้าเบ็ดเตล็ดมาวางขายที่ตลาดบริเวณคิวรถอำเภอสตึก
                         

           

อื่นๆ

เมนู